อนันต์ สุขสันต์
อนันต์ สุขสันต์ | |
---|---|
หัวหน้าพรรคพิทักษ์ไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มกราคม พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท |
จ่าสิบเอก อนันต์ สุขสันต์ (เกิด 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478) อดีตหัวหน้าพรรคพิทักษ์ไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาท 5 สมัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
ประวัติ
[แก้]อนันต์ สุขสันต์ เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 เป็นบุตรของนายปั่น กับ นางสมบูรณ์ สุขสันต์[1] คู่สมรส คือ นางมะลิ สุขสันต์ และมีบุตร-ธิดาด้วยกันทั้งหมด 4 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นอกเหนือจากการเป็นนักการเมืองแล้ว ยังประกอบธุรกิจส่วนตัวเป็นเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อ-ขายจัดสรรที่ดิน และทำธุรกิจหมู่บ้านจัดสรรหลายรุ่น
งานการเมือง
[แก้]จ่าสิบเอก อนันต์ ในอดีตเคยรับราชการทหาร ต่อมาเข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2512 ไม่สังกัดพรรคการเมือง และได้รับเลือกเรื่อยมา รวม 5 ครั้ง [2] ในสังกัดพรรคพิทักษ์ไทย พรรคกิจสังคม พรรคชาติไทย ตามลำดับ
จ่าสิบเอก อนันต์ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 57 สังกัดพรรคไทยรักไทย เมื่อ พ.ศ. 2544 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมานายประชา มาลีนนท์ ลาออก จ่าสิบเอกอนันต์ จึงได้รับเลื่อนขึ้นมาเป็นแทน
จ่าสิบเอก อนันต์ เคยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
จ่าสิบเอก อนันต์ เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคธรรมสังคม[3] ในปี พ.ศ. 2517
จ่าสิบเอก อนันต์ เคยถูกกล่าวหาในคดีร่วมกันฆ่าศรายุทธ ชะนะกุล อดีต ส.ส.ชัยนาท แต่เขาพ้นจากความผิดในคดีดังกล่าว[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]จ่าสิบเอก อนันต์ สุขสันต์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดชัยนาท ไม่สังกัดพรรคการเมือง
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดชัยนาท สังกัดพรรคพิทักษ์ไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2524 (เลือกตั้งซ่อม) จังหวัดชัยนาท สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดชัยนาท สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดชัยนาท สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย (เลื่อนแทน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
- ↑ 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๙๔ ง หน้า ๒๓๘๑, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๑๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2478
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองชัยนาท
- ทหารบกชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาท
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคธรรมสังคม
- พรรคพิทักษ์ไทย
- พรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2522)
- พรรคกิจสังคม
- พรรคชาติไทย
- พรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย