สัก สุตสคาน
นายพล สัก สุตสคาน | |
---|---|
ประธานคณะกรรมการสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 12 เมษายน ค.ศ. 1975 – 17 เมษายน ค.ศ. 1975 | |
ก่อนหน้า | เซากัม คอย (รักษาการ) ในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐเขมร |
ถัดไป | พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ในฐานะประธานาธิบดีรัฐสภาของรัฐ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1928 จังหวัดพระตะบอง, กัมพูชา, อินโดจีนของฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | 29 เมษายน ค.ศ. 1994 ดีทรอยต์, รัฐมิชิแกน, สหรัฐ | (66 ปี)
พรรค | พรรคเสรีประชาธิปไตย |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() ![]() ![]() |
สังกัด | แนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร |
ประจำการ | ค.ศ. 1957-1994 |
ยศ | ![]() |
นายพลสัก สุตสคาน (Sak Sutsakhan) เป็นนักการเมืองและทหารชาวกัมพูชา ที่มีบทบาทอย่างยาวนานภายในประเทศ เขาเป็นประมุขรัฐคนสุดท้ายของสาธารณรัฐเขมรก่อนจะถูกล้มล้างโดยเขมรแดงใน พ.ศ. 2518 เขาเป็นฝ่ายนิยมสหรัฐที่มักเรียกกันว่าเขมรขาว[1]
ชีวิตช่วงแรก[แก้]
สุตสคานเกิดที่พระตะบองเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470[2] เขาเป็นญาติกับนวน เจียที่ต่อมากลายเป็นผู้นำเขมรแดง เขาได้รับการศึกษาในโรงเรียนนายทหารของฝรั่งเศสในปารีสและกลับมาเป็นทหารในกองทัพกัมพูชา เขาได้รับการสนับสนุนให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในระบอบสังคมของพระนโรดม สีหนุจนได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่อายุน้อยที่สุดในกัมพูชาคือ 29 ปี เมื่อ พ.ศ. 2500
สมัยสาธารณรัฐเขมร[แก้]
หลังการรัฐประหารใน พ.ศ. 2513 โดยลน นล สุตสคานยังคงเป็นทหารในกองทัพรัฐบาลและได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหลายครั้ง รวมทั้งได้รับการยอมรับจากผู้สังเกตการณ์จากสหรัฐในฐานะบุคคลผู้มีความสามารถและไม่เกี่ยวข้องกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง[3]
หลังจากที่ชาวสหรัฐและประธานาธิบดีเซากัม คอยออกจากพนมเปญเมื่อ 12 เมษายน สมาชิกของคณะกรรมการสูงสุด 7 คน นำโดยสุตสคานได้เป็นผู้มีอำนาจปกครองสาธารณรัฐเขมรที่ใกล้ล่มสลาย สุตสคานดำรงตำแหน่งประมุขรัฐและประธานสภาแห่งรัฐซึ่งพยายามเจรจาสงบศึกกับเขมรแดงที่ล้อมพนมเปญอยู่ สุตสคานยังคงอยู่ในพนมเปญจนกระทั่งกองทัพคอมมิวนิสต์เข้าเมืองได้ในวันที่ 17 เมษายนด้วยเฮลิคอปเตอร์เที่ยวสุดท้าย[4] สุตสคานแต่งงานและมีบุตร 4 คน
การลี้ภัยและแนวร่วมปลดปล่อยฯ[แก้]
สุตสคานลี้ภัยมายังสหรัฐอเมริกาและได้สัญชาติสหรัฐ หลังจากที่เขมรแดงถูกกองทัพที่เวียดนามหนุนหลังโค่นล้มไปเมื่อ พ.ศ. 2522 ซอน ซานและเดียน เดลได้จัดตั้งแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมรซึ่งเป็นขบวนการต่อต้านคอมมิวนิสต์และนิยมสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดเพื่อต่อต้านสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา มีฐานที่มั่นตามแนวชายแดนไทย สุตสคานเดินทางมาร่วมด้วยใน พ.ศ. 2524 และได้เป็นผู้บัญชาการกองกำลังติดอาวุธของแนวร่วม
เมื่อมีการจัดตั้งแนวร่วมเขมรสามฝ่าย สุตสคานได้เข้าร่วมประชุมกับซอน เซนจากเขมรแดงและพระนโรดม รณฤทธิ์จากฟุนซินเปกเพื่อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือทางทหารใน พ.ศ. 2528 และในปีเดียวกันนี้ สุตสคานกับซอน ซานเริ่มมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับการดำเนินไปของสงคราม โดยเฉพาะประเด็นความร่วมมือกับกองทัพเจ้าสีหนุซึ่งสุตสคานต้องการร่วมมือด้วย นอกจากความสำเร็จทางด้านภาคตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชาแล้ว ในบริเวณอื่น กองทัพของแนวร่วมปลดปล่อยแพ้กองกำลังของเวียดนามระหว่าง พ.ศ. 2527 – 2528 จนถูกจำกัดการเคลื่อนไหว
หลังข้อตกลงสันติภาพปารีส พ.ศ. 2534 สุตสคานแยกตัวออกจากกลุ่มของซอนซานและจัดตั้งพรรคประชาธิปไตยเสรีนิยม เขาเสียชีวิตที่ดีทรอยต์เมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2537
ผลงาน[แก้]
ใน พ.ศ. 2523 สุตสคานได้เขียนหนังสือเรื่อง The Khmer Republic at War and the Final Collapse ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองกัมพูชา (ดูได้ที่ The Khmer Republic at War and the Final Collapse)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Michael Haas, Cambodia, Pol Pot, and the United States: the Faustian pact
- ↑ บางแหล่งบอกว่าเกิดวันที่ 2 สิงหาคม
- ↑ Shawcross, p.232
- ↑ Sutsakhan, Lt. Gen. S. The Khmer Republic at War and the Final Collapse Washington DC: U.S. Army Center of Military History, 1987, p. 168. See also Part 1 เก็บถาวร 2019-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนPart 2 เก็บถาวร 2007-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนPart 3 เก็บถาวร 2007-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Corfield, J. Khmers Stand Up! a history of the Cambodian government 1970-1975, 1994
- Shawcross, W. Sideshow: Kissinger, Nixon and the Destruction of Cambodia, 1979