สมเกียรติ ฉันทวานิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเกียรติ ฉันทวานิช
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
13 กันยายน พ.ศ. 2535 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
ก่อนหน้าพลตรี ฤกษ์ดี ชาติอุทิศ
ถัดไปกันตธีร์ ศุภมงคล
ดำรงตำแหน่ง
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548
ก่อนหน้ากันตธีร์ ศุภมงคล
ถัดไปพงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ก่อนหน้าพงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ
ถัดไปอภิรักษ์ โกษะโยธิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 มีนาคม พ.ศ. 2477 (90 ปี)
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2498–ปัจจุบัน)

สมเกียรติ ฉันทวานิช (เกิด 18 มีนาคม 2477) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 4 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

บทบาททางการเมือง[แก้]

สมเกียรติชนะเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) จากเขตยานนาวาในการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528[1] ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งแต่ลงเขตบางคอแหลม เขาไม่ได้รับเลือก[2]

สมเกียรติเข้าสู่การเมืองระดับประเทศด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยนายสมเกียรติลงเขต 6 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[3] ต่อมาในการเลือกตั้งเดือนกันยายนในปีเดียวกัน เขาชนะการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 สมเกียรติลงสมัครรับเลือกตั้งเช่นเดิม แต่ไม่ได้รับเลือก โดยในขณะนั้นจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราฎร 2-3 คน ต่อ 1 เขตการเลือกตั้ง ซึ่งเขต 6 ที่นายสมเกียรติลงสมัครนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 คน เขาเป็นผู้สมัครเพียงคนเดียวของพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่ได้รับเลือก (อีก 2 คนที่ได้รับเลือกคือ นายเจริญ คันธวงศ์ และนายพิชัย รัตตกุล)[4]

ในยุคที่พรรคประชาธิปัตย์มีคู่แข่งทางการเมืองคือพรรคไทยรักไทย สมเกียรติเป็น 1 ใน 8 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544[5] และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แต่ต่อมาในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เขาถูกศาลวินิจฉัยให้ออกจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติพร้อมกับนักการเมืองอีก 5 คน[6] และมีการจัดการเลือกตั้งซ่อมขึ้นในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553 แต่เขาไม่ได้ลงสมัครเนื่องจากอายุมากแล้ว[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-09-26. สืบค้นเมื่อ 2023-09-26.
  2. "ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-09-26. สืบค้นเมื่อ 2023-09-26.
  3. "ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2535" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-09-26. สืบค้นเมื่อ 2023-09-26.
  4. "ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-09-26. สืบค้นเมื่อ 2023-09-26.
  5. "ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-07-24. สืบค้นเมื่อ 2023-09-26.
  6. "ย้อนคำวินิจฉัย 'หุ้นสื่อ' ปี 53 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ตีความตามตัวอักษร". คมชัดลึกออนไลน์. 2023-05-30.
  7. "เลือกตั้งซ่อม ส.ส. ล่วงหน้า 5 เขตเงียบเหงา". Thai PBS.