สมาพันธ์กีฬาใต้น้ำโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques
World Underwater Federation
Confederación Mundial De Actividades Subacuáticas
สมาพันธ์กีฬาใต้น้ำโลก
ชื่อย่อCMAS
ก่อนหน้าCIPS, คณะกรรมการกีฬาใต้น้ำ (Comité des Sports Sous-Marins)
ก่อตั้ง11 มกราคม 1959; 65 ปีก่อน (1959-01-11) ที่ ประเทศโมนาโก
ประเภทสหพันธ์กีฬาระหว่างประเทศ, องค์กรสอนดำน้ำ, องค์กรเอกชนระหว่างประเทศ
วัตถุประสงค์ส่งเสริมกีฬาใต้น้ำ วิทยาศาสตร์ใต้น้ำ และให้การฝึกศึกษาแก่นักดำน้ำ
สํานักงานใหญ่โรม, ประเทศอิตาลี
ที่ตั้ง
  • Viale Tiziano, 74 00196 Roma Italy
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
ทั่วโลก
สมาชิก
สมาพันธ์ระดับชาติของชาติสมาชิก
ภาษาทางการ
ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาอังกฤษ และ ภาษาสเปน
บุคลากรหลัก
ฌัก-อีฟว์ กูสโต
องค์กรแม่
ที่ประชุมใหญ่
สังกัด
พนักงาน
5
เว็บไซต์www.cmas.org

สมาพันธ์กีฬาใต้น้ำโลก หรือ สมาพันธ์ดำน้ำโลก (อังกฤษ: World Underwater Confederation; อักษรย่อ: CMAS) ในไทยนิยมเรียก ซีแมส เป็นองค์การระหว่างประเทศไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อส่งเสริมกีฬาใต้น้ำ (อาทิ การดำน้ำลึก) วิทยาศาสตร์ใต้น้ำ และให้การฝึกศึกษาแก่นักดำน้ำ ก่อตั้งที่ราชรัฐโมนาโก เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2502 ถือเป็นองค์กรสอนดำน้ำที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยการสอนจะกระทำโดยสมาคมกีฬาดำน้ำของแต่ละชาติซึ่งสังกัดสมาพันธ์ฯ สมาพันธ์ฯ มิได้ทำการสอนโดยตรง

สมาพันธ์กีฬาใต้น้ำโลกจัดตั้งตามมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2501 มีตัวแทนจากประเทศเบลเยียม บราซิล ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ อิตาลี โมนาโก โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐ และอดีตยูโกสลาเวีย เห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องจัดตั้งสมาพันธ์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลกีฬาใต้น้ำต่าง ๆ ต่อมาจึงได้มีการประชุมอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 9-11 มกราคม พ.ศ. 2502 ให้จัดตั้งสมาพันธ์กีฬาใต้น้ำโลก และตกลงให้ใช้อักษรย่อของสมาพันธ์เป็นภาษาฝรั่งเศส (เซมัส) ตามภาษาทางการระหว่างประเทศที่นิยมใช้กันมากในสมัยนั้น[1][2]

ฌัก-อีฟว์ กูสโต นักสำรวจใต้น้ำและผู้บุกเบิกการดำน้ำชาวฝรั่งเศสได้รับเลือกเป็นประธานสมาพันธ์คนแรก ส่วนลุยจี แฟร์ราโร นักสำรวจใต้น้ำชาวอิตาลีได้รับเลือกเป็นรองประธาน[3]

สมาพันธ์ฯ เป็นองค์กรสืบเนื่องจากคณะกรรมการกีฬาใต้น้ำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมาพันธ์การตกปลาเพื่อกีฬาระหว่างประเทศ (จัดตั้งเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495) [1][3]

สมาพันธ์ฯ ประกอบด้วยคณะกรรมการสามคณะ ได้แก่ คณะกรรมการกีฬา คณะกรรมการเทคนิค และคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารงานสมาพันธ์ฯ คณะกรรมการเหล่านี้จะประชุมรวมกันทุกปี และมีคณะอนุกรรมการตามความจำเป็น[4][5][6]

สมาคมกีฬาดำน้ำแห่งประเทศไทย เป็นสมาชิกของสมาพันธ์กีฬาใต้น้ำโลก มีหน้าที่ส่งเสริมกีฬาใต้น้ำ และสามารถออกใบอนุญาตดำน้ำได้โดยใช้มาตรฐานการฝึกของสมาพันธ์ฯ

คณะกรรมการกีฬา[แก้]

สมาพันธ์กีฬาใต้น้ำโลกส่งเสริมให้มีการจัดการแข่งขันกีฬา อาทิ[7][8][9]

  • การแข่งขันดำน้ำฟินสวิมมิ่งชิงแชมป์โลก
  • การแข่งขันฮอกกี้ใต้น้ำชิงแชมป์โลก
  • การแข่งขันเดินสำรวจใต้น้ำ (underwater orienteering) ชิงแชมป์โลก
  • การแข่งขันถ่ายภาพใต้น้ำชิงแชมป์โลก
  • การแข่งขันรักบี้ใต้น้ำชิงแชมป์โลก

คณะกรรมการเทคนิค และหลักสูตรการศึกษา[แก้]

ระบบการฝึกศึกษาดำน้ำของสมาพันธ์กีฬาใต้น้ำโลก

คณะกรรมการเทคนิคมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาและให้ความปลอดภัยในการดำน้ำแก่สมาชิกของสมาพันธ์ฯ โดยพัฒนามาตรฐานการฝึกสอน[10] สมาชิกคณะกรรมการจะเลือกจากที่ประชุมใหญ่ให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ คือ ประธาน เลขานุการ ผู้อำนวยการฝ่ายมาตรฐาน ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค ผู้อำนวยการฝ่ายความปลอดภัยในการดำน้ำ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการพิเศษ และสมาชิกทั่วไป คณะกรรมการฯ จะดูแลระบบการฝึกศึกษานักดำน้ำ และระบบการรับรอง/อนุญาตนักดำน้ำ[10][11] สมาพันธ์กีฬาใต้น้ำโลกเกิดขึ้นจากองค์การอาสาสมัครที่เข้ามาทำงานด้วยใจ บรรดาการฝึกศึกษาจะเน้นทฤษฎีในห้องเรียนอย่างเข้มข้นจนแตกฉานจึงจะพานักดำน้ำลงสู่น้ำได้ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมความปลอดภัย[12] ซึ่งต่างจากหลักสูตรของสมาคมวิชาชีพครูสอนดำน้ำ หรือสกูบาสกูส์อินเตอร์เนชันแนล ที่เน้นนำผู้เรียนลงสู่น้ำให้เร็วที่สุด เพื่อให้ได้พักผ่อน

สมาพันธ์กีฬาใต้น้ำโลก จัดพิมพ์มาตรฐานการฝึกนักดำน้ำระหว่างประเทศ โดยแยกออกเป็นสามฉบับ คือ การดำน้ำเพื่อการพักผ่อน การดำน้ำเพื่อทำงาน และการเป็นครูสอนดำน้ำ[13] นอกจากนี้ สมาพันธ์ฯ ยังจัดทำระบบการรับรองและอนุญาตนักดำน้ำ กล่าวคือ นักดำน้ำที่ไม่ได้รับการฝึกฝนจะไม่สามารถดำน้ำโดยลำพังได้โดยไม่มีการควบคุม สมาพันธ์ฯ กำหนดให้บัตรอนุญาตดำน้ำมีสองด้าน ด้านหนึ่งแสดงระดับการศึกษา อีกด้านแสดงรายละเอียดขององค์การที่ฝึกสอนและของตัวนักดำน้ำ[11][14] สมาพันธ์กีฬาใต้น้ำโลกไม่ให้การศึกษาโดยตรง แต่สมาคมกีฬาใต้น้ำที่เป็นสมาชิกสามารถให้การศึกษาได้[15][16][17] นอกจากนี้ ศูนย์กีฬาดำน้ำต่าง ๆ ที่ได้รับรองจากสมาพันธ์ก็สามารถให้การฝึกศึกษาได้เช่นกัน[18]

หลักสูตรเพื่อสันทนาการ[แก้]

บัตรอนุญาตดำน้ำชนิดสี่ดาวของสมาพันธ์ฯ

สมาพันธ์กีฬาใต้น้ำโลกได้จัดทำมาตรฐานการฝึกและการอนุญาตดังต่อไปนี้[13]

  • การดำน้ำขั้นแนะนำ หรือ Introductory SCUBA Experience เป็นการให้ผู้สนใจ ผู้มีเวลาน้อย หรือไม่มั่นใจ ได้รับการฝึกศึกษาและทดลองดำน้ำที่ความลึกไม่เกิน 10 เมตร ภายใต้การดูแลของครู ใช้อากาศปกติหายใจ[19]
  • การดำน้ำระดับหนึ่งดาว หรือ One Star Diver เป็นการฝึกนักดำน้ำให้รู้จักใช้อุปกรณ์สกูบาในพื้นที่ปิด และสามารถออกไปดำน้ำร่วมกับนักดำน้ำที่มีประสบการณ์ได้[20]
  • การดำน้ำระดับสองดาว หรือ Two Star Diver เป็นการฝึกนักดำน้ำให้สามารถดำน้ำร่วมกับเพื่อนดำน้ำที่มีระดับการอนุญาตเดียวกันหรือสูงกว่า โดยอาจดำรวมกับนักดำน้ำระดับหนึ่งดาวในที่ตื้นมีกำบังได้[20]
  • การดำน้ำระดับสามดาว หรือ Three Star Diver เป็นการฝึกดำน้ำให้มีประสบการณ์ครบถ้วน สามารถช่วยเหลือกำกับดูแลนักดำน้ำได้ และช่วยเหลือครูฝึกได้ทั้งในสระและในแหล่งน้ำธรรมชาติ[20]
  • การดำน้ำระดับสี่ดาว หรือ Four Star Diver หมายถึง นักดำน้ำที่มีความรู้ความสามารถสูงกว่าระดับสามดาว สามารถช่วยเหลือการฝึกนักดำน้ำระดับหนึ่งดาว และนำพานักดำน้ำอื่นให้ประสบผลตามวัตถุประสงค์ของการดำน้ำคราวนั้นได้[20]

การดำน้ำตื้น

  • การดำน้ำตื้นระดับหนึ่งดาว หรือ One Star Snorkel Diver เป้นการฝึกนักดำน้ำให้สามารถใช้หน้ากาก ท่อหายใจ และตีนกบในสระหรือบริเวณน้ำตื้นได้อย่างปลอดภัย[21]
  • การดำน้ำตื้นระดับสองดาว หรือ Two Star Snorkel Diver เป็นการฝึกนักดำน้ำให้สามารถดำน้ำตื้นได้ปลอดภัยมากขึ้นกว่าระดับหนึ่งดาว[21]
  • การดำน้ำตื้นระดับสามดาว หรือ Three Star Snorkel Diver เป็นการฝึกนักดำน้ำให้สามารถดำน้ำตื้นได้ปลอดภัย ช่วยเหลือผู้อื่นได้ และพาผู้อื่นไปดำน้ำตื้นได้[21]

หลักสูตรเพื่ออาชีพ[แก้]

ต่อไปนี้เป็นหลักสูตรของสมาพันธ์ฯ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้สอนดำน้ำได้[13]

  • ผู้สอนดำน้ำตื้นระดับหนึ่งดาว หรือ One Star Snorkel Diver Instructor หมายถึง นักดำน้ำตื้นระดับสองดาวซึ่งมีความรู้และทักษะ ตลอดถึงความสนใจในการสอนดำน้ำตื้น สามารถสอนดำน้ำตื้นภาคปฏิบัติในระดับหนึ่งดาวในสระ และสามารถเป็นผู้ช่วยครูในแหล่งน้ำธรรมชาติได้ ไม่สามารถเป็นครูหรือผู้นำการดำน้ำตื้นได้เอง[21]
  • ผู้สอนดำน้ำตื้นระดับสองดาว หรือTwo Star Snorkel Diver Instructor หมายถึง ผู้สอนดำน้ำตื้นระดับหนึ่งที่มีความพร้อมตลอดถึงทักษะที่จะสอนดำน้ำตื้นได้ทั้งในสระและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยสามารถฝึกผู้สอนดำน้ำตื้นระดับหนึ่งดาวได้ด้วย[21]
  • ผู้สอนดำน้ำลึกระดับหนึ่งดาว หรือ One Star Instructor หมายถึง นักดำน้ำระดับสามหรือสี่ดาวที่แสดงให้เห็นถึงความรู้และเทคนิคในการสอนให้ผู้อื่นดำน้ำได้อย่างปลอดภัย สามารถฝึกสอนนักดำน้ำระดับหนึ่งดาวได้[20]
  • ผู้สอนดำน้ำลึกระดับสองดาว หรือTwo Star Instructor หมายถึง ผู้สอนดำน้ำลึกระดับหนึ่งดาวที่มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ สามารถสอนนักดำน้ำเป็นกลุ่มในห้องเรียน สระ และแหล่งน้ำธรรมชาติ สามารถฝึกสอนมัคคุเทศก์ดำน้ำ ผู้ชวยผู้สอน และช่วยเหลือการฝึกผู้สอนดำน้ำลึกระดับหนึ่งดาว สามารถสอนและรับรอง/อนุญาตนักดำน้ำได้ทุกคน รวมถึง ผู้สอนดำน้ำตื้น[20]
  • ผู้สอนดำน้ำลึกระดับสามดาว หรือThree Star Instructor หมายถึง ผู้สอนดำน้ำระดับสองดาวที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์สูง สามารถฝึกนักดำน้ำได้ทุกระดับ และสามารถควบคุมการฝึกสอนและรับรองครูสอนดำน้ำ สามารถจัดการฝึกพิเศษต่าง ๆ และกำกับดูแลศูนย์กีฬาดำน้ำได้[20]

คณะกรรมการวิทยาศาสตร์[แก้]

สมาพันธ์กีฬาใต้น้ำโลกประกอบด้วยคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ ซึ่งทำหน้าที่ศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิทยาศาสตร์ทางกีฬาใต้น้ำ ตลอดจนถึงวิทยาศาสตร์แขนงอื่น ๆ ที่เกี่ยว้ของ อาทิ ความหลากหลายทางชีวภาพ สปีชีส์บุกรุก ฯลฯ[6]

คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ได้กำหนดให้มีแนวปฏิบัติว่าด้วยการดำน้ำเชิงวิทยาศาสตร์แก่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ[22] นอกจากนี้ ยังได้กำหนดว่านักดำน้ำเพื่อการวิจัยต้องมีความรู้ต่าง ๆ ดังนี้

  • CMAS Scientific Diver (CSD) ต้องเป็นนักดำน้ำระดับสองดาว และได้รับการอบรมเพิ่มเติม
  • CMAS Advanced Scientific Diver (CASD) ต้องเป็นนักดำน้ำระดับสามดาว และได้รับการอบรมเพิ่มเติม
  • CMAS Scientific Diving Instructor ต้องเป็นครูสอนดำน้ำระดับสองดาว และได้รับการอบรมเพิ่มเติม
  • CMAS Confirmed Scientific Diving Instructor (pre-requisite: ต้องเป็นครูสอนดำน้ำระดับสามดาว และได้รับการอบรมเพิ่มเติม[23]

สมาคมกีฬาที่เป็นสมาชิก[แก้]

สมาพันธ์กีฬาใต้น้ำโลก ประกอบด้วยองค์กรสมาชิกอย่างน้อย 130 ประเทศ จากทั้งหมด 5 ทวีป คือ[1][24] องค์กรเหล่านี้บ้างใช้คำ "สมาคม" นำหน้า บ้างใช้ "สหพันธ์" สุดแต่ข้อบังคับข้อกำหนดขององค์กรจะกำหนดไว้

ทวีปแอฟริกา[แก้]

  •  แอลจีเรีย สหพันธ์กีฬาใต้น้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำแห่งแอลจีเรีย
  •  กาบูเวร์ดี สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศเคปเวิร์ด
  •  อียิปต์ สหพันธ์กีฬาใต้น้ำและการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำแห่งประเทศอียิปต์
  •  เคนยา สหพันธ์การช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำแห่งประเทศเคนยา
  •  มาดากัสการ์ สหพันธ์กีฬาดำนำแห่งประเทศมาดากัสดาร์
  •  โมร็อกโก สหพันธ์กีฬาดำน้ำและกีฬาใต้น้ำหลวงแห่งประเทศโมร็อกโก
  •  มอริเชียส สหพันธ์กีฬาดำน้ำลึกแห่งประเทสมอริเชียส
  •  นามิเบีย สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศนามิเบีย
  •  จิบูตี สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศจีบูตี
  •  เซเชลส์ สหพันธ์นักดำน้ำลึกแห่งประเทศเซย์เชลล์
  •  เซเชลส์ สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศเซย์เชลล์
  •  แอฟริกาใต้ สมาคมผู้สอนซีแมสแอฟริกาใต้Cmas Instructors South Africa
  •  แอฟริกาใต้ สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศแอฟริกาใต้
  •  ตูนิเซีย สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศตูนีเซีย
  •  ตูนิเซีย สหพันธ์กีฬาตกปลาแห่งประเทศตูนีเซีย

ทวีปอเมริกา[แก้]

  •  สหรัฐ สมาพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งสหรัฐ
  •  สหรัฐ สมาพันธ์ดำน้ำตัวเปล่าแห่งสหรัฐ
  •  สหรัฐ สมาคมใต้น้ำแห่งอเมริกา
  •  อาร์เจนตินา สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศอาร์เจนตินา
  •  อาร์เจนตินา สมาคมกีฬาฮอกกี้ใต้น้ำแห่งประเทศอาร์เจนตินา
  •  บราซิล สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศบราซิล
  •  แคนาดา สมาคมกีฬาใต้น้ำแห่งประเทศแคนาดา
  •  แคนาดา สมาคมผู้สอนซีแมสแห่งประเทศแคนาดา
  •  แคนาดา แคเนเดียไดฟ์วิงโปรแกรม
  •  ชิลี สหพันธ์กีฬาใต้น้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำแห่งประเทศชิลี
  •  โคลอมเบีย สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศโคลอมเบีย
  •  คิวบา สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศคิวบา
  •  เอกวาดอร์ สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศเอกวาดอร์
  •  เม็กซิโก สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศเม็กซิโก
  •  เม็กซิโก International Diving Instructors Mexico
  •  เปรู สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศเปรู
  •  อุรุกวัย สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศอุรุกวัย
  •  เวเนซุเอลา สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศเวเนซุเอลา

ทวีปเอเชีย[แก้]

  •  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สโมสรกีฬาทางน้ำฟุญัยเราะฮ์อินเตอร์เนชันแนล
  •  จีน สมาคมดำน้ำแห่งประเทศจีน
  •  ฮ่องกง สมาคมดำน้ำแห่งฮ่องกง
  •  อินเดีย สมาคมกีฬาใต้น้ำแห่งประเทศอินเดีย
  •  อินโดนีเซีย Iสมาคมกีฬาดำน้ำแห่งประเทศอินโดนีเซีย
  •  อิหร่าน สหพันธ์การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
  •  จอร์แดน สหพันธ์กีฬาทางน้ำหลวงแห่งประเทศจอร์แดน
  •  อิสราเอล สหพันธ์กีฬาดำน้ำแห่งประเทศอิสราเอล
  •  ญี่ปุ่น สมาคมผู้สอนดำน้ำซีแมสแห่งประเทศญี่ปุ่น
  •  ญี่ปุ่น สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศญี่ปุ่น
  •  ญี่ปุ่น สหพันธ์การศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น
  •  ญี่ปุ่น เจซีเอส
  •  ญี่ปุ่น แผนกการศึกษาดำน้ำมารีนแทคโน
  •  ญี่ปุ่น สมาพันธ์กีฬาดำน้ำคันไซ
  •  คาซัคสถาน สมาพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถาน
  •  คูเวต วิทยาลัยกีฬาดำน้ำและว่ายน้ำแห่งประเทศคูเวต
  •  คูเวต คณะกรรมการดำน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแห่งประเทศคูเวต
  •  คีร์กีซสถาน สหพันธ์กีฬาดำน้ำแห่งประเทศคีร์กิซสถาน
  •  เลบานอน เลบานอนวอเตอร์เฟสติวัล
  •  มาเลเซีย สโมสรดำน้ำมลายา
  •  มาเลเซีย สหพันธ์กีฬาดำน้ำชายฝั่งมาเลเซีย
  •  มัลดีฟส์ สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศมัลดีฟส์
  •  หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา บริษัทตัวเอนจิเนียริง
  •  ปาเลสไตน์ สหพันธ์การว่ายน้ำและกีฬาทางน้ำแห่งปาเลสไตน์
  •  ฟิลิปปินส์ สหพันธ์กีฬาใต้น้ำซีแมสแห่งฟิลิปปินส์
  •  ฟิลิปปินส์ สมาคมกีฬาดำน้ำแห่งประเทศฟิลิปปินส์
  •  ซาอุดีอาระเบีย สหพันธ์กีฬาทางทะเลแห่งประเทศซาอุดีอาระเบีย
  •  สิงคโปร์ สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศสิงคโปร์
  •  เกาหลีใต้ สภาการดำน้ำแห่งเอเชีย
  •  เกาหลีใต้ สมาคมกีฬาดำน้ำแห่งประเทศเกาหลี
  •  ซีเรีย สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศซีเรีย
  •  จีนไทเป สหพันธ์กีฬาใต้น้ำแห่งประเทศจีนไทเป
  •  จีนไทเป สมาคมการดำน้ำเชิงเทคนิคและวิทยาศาสตร์แห่งไต้หวัน
  •  ไทย สมาคมกีฬาดำน้ำแห่งประเทศไทย
  •  เวียดนาม สมาคมกีฬาดำน้ำแห่งประเทศเวียดนาม

ทวีปยุโรป[แก้]

ทวีปโอเชียเนีย[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "The history of CMAS". Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-27. สืบค้นเมื่อ 20 April 2010.
  2. "Federations". Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-20. สืบค้นเมื่อ 31 March 2018.
  3. 3.0 3.1 "Luigi Ferraro; C.M.A.S." Luigi Ferraro's official site. 2012. สืบค้นเมื่อ 4 September 2012.
  4. "The Technical Committee". Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-27. สืบค้นเมื่อ 30 November 2010.
  5. "The Sport Committee". Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-27. สืบค้นเมื่อ 30 November 2010.
  6. 6.0 6.1 "Scientific Committee". Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-17. สืบค้นเมื่อ 30 November 2010.
  7. "About Aquathlon". Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-18. สืบค้นเมื่อ 1 September 2012.
  8. "About Orienteering". Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-17. สืบค้นเมื่อ 1 September 2012.
  9. "About Sport Diving". Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-21. สืบค้นเมื่อ 1 September 2012.
  10. 10.0 10.1 "About the Technical Committee". Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-13. สืบค้นเมื่อ 28 January 2013.
  11. 11.0 11.1 "Learn To Dive". Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-17. สืบค้นเมื่อ 28 January 2013.
  12. C.M.A.S. Diver *, **, ***, ****Training Program Diver. Version 2007/01. Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. 7 February 2008.
  13. 13.0 13.1 13.2 "CMAS International Diver Training Standards and Procedures Manual". Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-13. สืบค้นเมื่อ 28 January 2013.
  14. "Chapter 1 Universal Standards and Procedures", CMAS International Diver Training Standards and Procedures Manual, Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques, pp. 2–3, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-18, สืบค้นเมื่อ 28 January 2013
  15. "Federations affiliated to the CMAS Technical Committee". Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-13. สืบค้นเมื่อ 27 October 2012.
  16. "Welcome to CMAS Instructors South Africa". CMAS Instructors South Africa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21. สืบค้นเมื่อ 28 October 2012.
  17. "ORGANIZATIONAL STANDARDS". Scuba Educators International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2012. สืบค้นเมื่อ 28 October 2012.
  18. "CMAS Diving Centers". Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-13. สืบค้นเมื่อ 27 October 2012.
  19. "CMAS Introductory SCUBA Experience Training Programme". CMAS International Diver Training Standards and Procedures Manual. Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-18. สืบค้นเมื่อ 29 January 2013.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 20.5 20.6 dernp. "Definitions of Diver and Instructor" (PDF). Standards & Requirements Diver and Instructor (Version 2002/00 ). Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. p. 3. สืบค้นเมื่อ 18 May 2017.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 "Definition of Snorkel diver and Snorkel diver Instructor grades". Snorkel Diver Standards. Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-18. สืบค้นเมื่อ 29 January 2013.
  22. Flemming, N. C.; Max, M. D., บ.ก. (1988), Code of Practice for Scientific Diving: Principles for the Safe Practice of Scientific Diving in Different Environments. UNESCO Technical Papers in Marine Science 53 (PDF), Scientific Committee of Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques, Paris (France): United Nations Educational, Scientific, and Cultural Organization, Div. of Marine Sciences, ISSN 0503-4299, OCLC 18056894, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-03-22, สืบค้นเมื่อ 8 February 2013
  23. Scientific Committee of CMAS (2000), Norro, Dr Alain (บ.ก.), CMAS Standard for Scientific Diver (PDF), Scientific Committee of Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 ธันวาคม 2007, สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2013
  24. "Federations". Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-20. สืบค้นเมื่อ 31 March 2018.