ดำน้ำฟินสวิมมิ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดำน้ำฟินสวิมมิ่ง
ดำน้ำฟินสวิมมิ่งด้วยตีนกบเดี่ยว
สมาพันธ์สูงสุดสมาพันธ์กีฬาใต้น้ำโลก
ลักษณะเฉพาะ
การปะทะไม่
แข่งรวมชายหญิงใช่ แต่โดยปกติแยก
หมวดหมู่ในน้ำ ในร่ม กลางแจ้ง
อุปกรณ์หน้ากากดำน้ำ, สน็อกเกิล, ตีนกบ, ชุดดำน้ำแบบเปิด
สถานที่สระว่ายน้ำ, ว่ายน้ำในพื้นที่เปิด
จัดแข่งขัน
ประเทศ ภูมิภาคนานาชาติ
โอลิมปิกไม่
เวิลด์เกมส์ตั้งแต่ 1981

ดำน้ำฟินสวิมมิ่ง[a] (อังกฤษ: finswimming) เป็นกีฬาใต้น้ำ ที่ใช้เทคนิคการว่ายน้ำโดยใช้ตีนกบ 4 เทคนิค ประกอบด้วย บนผิวน้ำโดยใช้สน็อกเกิลด้วยตีนกบเดี่ยว (monofins) หรือตีนกบคู่ (bifins) หรือใต้น้ำด้วยตีนกบเดี่ยวโดยการกลั้นหายใจ หรือใช้อุปกรณ์ดําน้ำลึกแบบเปิด มีการจัดการแข่งขันที่มีระยะคล้ายกับการแข่งขันว่ายน้ำ ทั้งการว่ายน้ำสระ และการว่ายน้ำในที่เปิด การแข่งขันในระดับโลกและระดับทวีปจัดโดยสมาพันธ์กีฬาใต้น้ำโลก (CMAS) กีฬานี้จัดการแข่งขันชิงแชมป์โลกครั้งแรกขึ้นในปี 1976 นอกจากนี้ยังได้รับการนําเสนอในเวิลด์เกมส์ในฐานะกีฬาเทรนด์สปอร์ตตั้งแต่ปี 1981 และยังเป็นกีฬาสาธิตในการแข่งขันยูโรเปียนเกมส์ 2015 ในเดือนมิถุนายน 2015

เทคนิค[แก้]

ตีนกบเดี่ยวและตีนกบคู่

การว่ายฟินสวิมมิ่งบนพื้นผิวน้ำ[แก้]

การว่ายฟินสวิมมิ่งบนพื้นผิวน้ำ[1] (surface finswimming; SF) คือการว่ายบนผิวน้ำโดยใช้หน้ากาก สน็อกเกิล และตีนกบเดี่ยว การแข่งขันแบบพื้นผิวน้ำจัดแข่งในระยะทาง 50, 100, 200, 400, 800, 1500, ผลัดผสม 4 × 50 (ชาย 2 คน, หญิง 2 คน), ผลัด 4 × 100 และผลัด 4 × 200 เมตร ในสระว่ายน้ำและในระยะทางไกลต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมน้ำเปิด นักว่ายน้ำจะต้องอยู่บนผิวน้ำตลอดเวลาการแข่งขัน ยกเว้นเมื่อเริ่มหรือกลับตัวที่ปลายสระว่ายน้ำ โดยอนุญาตให้ลงน้ำในระยะ 15 เมตรได้[2]

การว่ายฟินสวิมมิ่งแบบกลั้นหายใจ[แก้]

การว่ายฟินสวิมมิ่งแบบกลั้นหายใจ[1] (apnoea finswimming; AP) คือการว่ายน้ำใต้น้ำในสระว่ายน้ำโดยใช้หน้ากาก ตีนกบเดี่ยว และการกลั้นหายใจ การแข่งขันแบบกลั้นหายใจจะจัดแข่งในระยะทาง 50 เมตร ใบหน้าของนักว่ายน้ำจะต้องจุ่มน้ำตลอดการแข่งขัน มิฉะนั้นอาจเสี่ยงต่อการตัดสิทธิ์ การแข่งแบบกลั้นหายใจไม่ได้จัดแข่งในสภาพแวดล้อมน้ำเปิดด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย[2]

การว่ายแบบใต้น้ำพร้อมเครื่องช่วยหายใจ[แก้]

การว่ายแบบใต้น้ำพร้อมเครื่องช่วยหายใจ[1] (immersion finswimming; IM) คือการว่ายน้ำใต้น้ำโดยใช้หน้ากาก ตีนกบเดี่ยว และเครื่องช่วยหายใจใต้น้ำสำหรับสระว่ายน้ำ แม้ว่าจะไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีการพกพาเครื่องช่วยหายใจ แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนหรือถอดในระหว่างการแข่งขันได้ การแข่งแบบเครื่องช่วยหายใจจัดขึ้นในระยะทาง 100 และ 400 เมตร ใบหน้าของนักว่ายน้ำจะต้องจุ่มน้ำตลอดการแข่งขัน ไม่เช่นนั้นจะเสี่ยงต่อการตัดสิทธิ์ การแข่งแบบเครื่องช่วยหายใจไม่ได้จัดแข่งในสภาพแวดล้อมน้ำเปิดด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย[2] ในอดีตมีการในน้ำเปิดเป็นระยะทาง 1,000 เมตร[3]

ตีนกบคู่[แก้]

ตีนกบคู่[1] (bi-fins; BF) การว่ายบนผิวน้ำพร้อมกับหน้ากาก ท่อหายใจ และตีนกบคู่ โดยใช้ท่าฟรีสไตล์ การแข่งแบบตีนกบคู่ จัดขึ้นในระยะทาง 50, 100, 200, 400 และผลัดผสม 4 × 100 (ชาย 2 คน หญิง 2 คน) ในสระว่ายน้ำและในระยะทางไกลต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมน้ำเปิด เช่น 4 กิโลเมตร และ 6 กิโลเมตร มีรายงานว่าการแข่งแบบตีนกบคู่เปิดตัวในปี 2006 เพื่อให้โอกาสในการแข่งขันโดยนักว่ายน้ำที่ไม่สามารถซื้อชุดตีนกบเดี่ยวได้ นักว่ายน้ำจะต้องอยู่บนผิวน้ำตลอดเวลาการแข่งขัน ยกเว้นเมื่อเริ่มหรือกลับตัวที่ปลายสระว่ายน้ำ โดยอนุญาตให้ลงน้ำในระยะ 15 เมตรได้[2][4]

เชิงอรรถ[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ใช้การสะกดตามสมาคมกีฬาดำน้ำแห่งประเทศไทย[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "กฎกติกาการแข่งขัน กีฬาดำน้ำฟินสวิมมิ่ง เวอร์ชั่น 2020/01" (PDF).
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 FINSWIMMING - CMAS RULES VERSION 2012/03 In force as from January 1, 2013 (BoD179 - 22/11/2012). Rome: Confédération Mondiale des Activités Subaquatiques. 2012. pp. 2–3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-21. สืบค้นเมื่อ 2023-10-23.
  3. "A book about History of UW orienteering". CMAS. p. 4. สืบค้นเมื่อ 19 January 2014.
  4. "Finswimming". Official site dedicated to Luigi Ferraro. สืบค้นเมื่อ 3 December 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]