สนามกีฬา 974

พิกัด: 25°17′24″N 51°33′54″E / 25.290°N 51.565°E / 25.290; 51.565
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Stadium 974
استاد ٩٧٤  (อาหรับ)
แผนที่
ชื่อเดิมสนามกีฬารอสอะบูอะบูด (استاد رأس أبو عبود)
ที่ตั้ง
พิกัด25°17′24″N 51°33′54″E / 25.290°N 51.565°E / 25.290; 51.565
ขนส่งมวลชน สถานีรอสอะบูอะบูด (راس أبو عبود)
ความจุ44,089[1] ที่นั่ง
สถิติผู้ชม44,089 (โปแลนด์ พบ อาร์เจนตินา, 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565)
พื้นผิวหญ้า
การก่อสร้าง
เปิดใช้สนาม30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ปิด5 ธันวาคม พ.ศ. 2565
สถาปนิกบริษัท เฟนวิคอิริบาร์เรนอาร์คิเทคส์

สนามกีฬา 974 (อาหรับ: استاد ٩٧٤, อักษรโรมัน: ʾIstād 974, เดิมชื่อสนามกีฬารอสอะบูอะบูด (อาหรับ: استاد رأس أبو عبود)) เป็นสนามฟุตบอลที่มีกำหนดการรื้อถอน[2] ในเขตรอสอะบูอะบูด นครโดฮา ประเทศกาตาร์ ห่างจากกรุงโดฮาไปทางตะวันออกประมาณ 10 กิโลเมตร[3] เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เป็นสนามกีฬาชั่วคราวที่ทำจากตู้คอนเทนเนอร์ที่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่จำนวน 974 ตู้ โดยใช้ในการจัดการแข่งขันฟุตบอลอาหรับคัพ 2021 และฟุตบอลโลก 2022 หลังจากจบรายการจึงเริ่มทำการรื้อถอน เป็นสนามกีฬาชั่วคราวแห่งแรกในประวัติศาสตร์ของการแข่งขันฟุตบอลโลก

การออกแบบและก่อสร้าง[แก้]

สนามกีฬาได้รับการออกแบบโดยบริษัท เฟนวิคอิริบาร์เรนอาร์คิเทคส์ (Fenwick Iribarren Architects)[4][5] สร้างขึ้นในพื้นที่ริมน้ำขนาด 450,000 ตารางเมตร มีการออกแบบเป็นหน่วยแยก (modular design) ประกอบด้วยตู้ขนส่งสินค้าที่นำกลับมาใช้ใหม่จำนวน 974 ตู้ โดยเป็นการแสดงความเคารพต่อประวัติศาสตร์ของพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรม และหมายเลขรหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศสำหรับกาตาร์ (+974)[6] ตู้คอนเทนเนอร์บางตู้บรรจุสิ่งอำนวยความสะดวกในสนามกีฬา เช่น ห้องน้ำ และบริเวณขายอาหารว่าง[6] โครงสร้างทั้งหมดจะถูกรื้อออกและได้ถูกออกแบบให้สามารถประกอบใหม่ที่อื่น สนามแห่งนี้เป็นสถานที่ชั่วคราวแห่งแรกสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก[7][8]

สนามกีฬาแห่งนี้เป็นหนึ่งในแปดแห่ง ที่ทำการสร้างขึ้นหรือปรับปรุงใหม่สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022[9] กระบวนการจัดหาสำหรับการปรับปรุงสนามกีฬาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2560 ผู้มีส่วนในการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งนี้ได้แก่ บริษัทรับเหมา เอชบีเค (HBK Contracting Company),[10] สำนักออกแบบและให้คำปรึกษา ดีซีบี-คิวเอ (DCB-QA), บริษัทจัดการโครงการและการก่อสร้าง ไทม์กาตาร์ (Time Qatar), บริษัทออกแบบ เฟนวิคอิริบาร์เรนอาร์คิเทคส์ (Fenwick Iribarren Architects, FI-A), บริษัทที่ปรึกษาวิศวกรรมโครงสร้าง ชไลชแบร์เกอร์มันน์ (Schlaich Bergermann Partner) และบริษัทที่ปรึกษาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ฮิลสันมอแรน (Hilson Moran)[11][12] สถาปนิกของบริษัทเฟนวิคอิริบาร์เรนกล่าวว่า "แนวคิดคือการหลีกเลี่ยงการสร้าง "สิ่งที่มีค่าและมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการบำรุงรักษาแต่ไม่ค่อยมีประโยชน์" เนื่องจากสนามกีฬาจะไม่มีการใช้งานหลังจบทัวร์นาเมนต์ ดังที่เคยเกิดขึ้นหลังจากการแข่งขันฟุตบอลโลกในครั้งก่อน"[13]

สนามกีฬาแห่งนี้ได้รับการจัดอันดับสี่ดาวจากระบบประเมินความยั่งยืน Global Sustainability Assessment System (GSAS)[14]

ประวัติ[แก้]

สนามแห่งนี้ประกาศเปิดตัวในชื่อสนามกีฬารอสอะบูอะบูด เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 และต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็นสนามกีฬา 974[6]

การแข่งขันฟุตบอลในสนามแห่งนี้นัดแรกจัดขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นวันเปิดการแข่งขันอาหรับคัพ 2021 ระหว่างทีมชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซีเรีย[15] โดยสนามกีฬา 974 เป็นสนามที่ใช้ในการจัดแข่งขันอาหรับคัพจำนวน 6 นัด[16]

สนามแห่งนี้ใช้จัดการแข่งขัน 7 นัดในฟุตบอลโลก 2022 รวมถึงการแข่งขันระหว่างทีมชาติบราซิลและเกาหลีใต้ ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย[17]

การใช้งานในอนาคต[แก้]

เดิมทีคาดว่าสนามกีฬาที่ประกอบขึ้นใหม่จะถูกสร้างที่ไหนสักแห่งในทวีปแอฟริกา แต่มีการเสนอว่าอาจเป็นที่ประเทศอุรุกวัย โดยหากการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพร่วมของ อุรุกวัย-อาร์เจนตินา-ชิลี-ปารากวัย ประสบความสำเร็จอาจมีการใช้เป็นสนามสำหรับจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2030[18]

ผลการแข่งขัน[แก้]

เวลาท้องถิ่น (เวลามาตรฐานอาระเบีย AST (UTC+3))

อาหรับคัพ 2021[แก้]

จัดการแข่งขันจำนวนหกนัด[19]

วันที่ เวลา ทีม #1 ผลการแข่งขัน ทีม #2 รอบการแข่งขัน จำนวนผู้ชม
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 22:00 Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2–1 ธงชาติซีเรีย ซีเรีย กลุ่มบี 4,129
3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 19:00 ธงชาติมอริเตเนีย มอริเตเนีย 0–1 Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 3,316
4 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ธงชาติซูดาน ซูดาน 0–5 ธงชาติอียิปต์ อียิปต์ กลุ่มดี 14,464
7 ธันวาคม พ.ศ. 2564 18:00 ธงชาติจอร์แดน จอร์แดน 5–1 ธงชาติรัฐปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์ กลุ่มซี 9,750
15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ธงชาติตูนิเซีย ตูนิเซีย 1–0 ธงชาติอียิปต์ อียิปต์ รอบรองชนะเลิศ 36,427
18 ธันวาคม พ.ศ. 2564 13:00 ธงชาติอียิปต์ อียิปต์ 0–0 (เวลาพิเศษ)

(ดวลลูกโทษ 4–5)
ธงชาติประเทศกาตาร์ กาตาร์ รอบชิงอันดับสาม 30,978

ฟุตบอลโลก 2022[แก้]

สนามกีฬา 974 ใช้ในการแข่งขันจำนวนเจ็ดนัด[20]

วันที่ เวลา ทีม #1 ผลการแข่งขัน ทีม #2 รอบการแข่งขัน จำนวนผู้ชม
22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 19:00 ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโก 0–0 ธงชาติโปแลนด์ โปแลนด์ กลุ่มซี 39,369
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 3–2 ธงชาติกานา กานา กลุ่มเอช 42,661
26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 2–1 ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก กลุ่มดี 42,869
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ธงชาติบราซิล บราซิล 1–0 ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ กลุ่มจี 43,649
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 22:00 ธงชาติโปแลนด์ โปแลนด์ 0–2 ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา กลุ่มซี 44,089
2 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ธงชาติเซอร์เบีย เซอร์เบีย 2–3 ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ กลุ่มจี 41,378
5 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ธงชาติบราซิล บราซิล 4–1 ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ รอบ 16 ทีมสุดท้าย 43,847

อ้างอิง[แก้]

  1. "Stadium 974". FIFA. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2022.
  2. "Qatar to dismantle temporary stadium". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2022.
  3. "Stadium 974". Qatar 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2022. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2022.
  4. "A Modular, Demountable Stadium Built From Shipping Containers Will Be Erected for Qatar 2022 World Cup". ArchDaily. 28 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2021.
  5. "Stadium 974". StadiumDB. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2022.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Demountable stadium built with shipping containers reaches completion in Qatar". Dezeen. 24 พฤศจิกายน 2021. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2022.
  7. "Stadium 974 in Doha Container becomes icon". More Sports Network. 9 กุมภาพันธ์ 2022. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2022.
  8. "Ras Abu Aboud Stadium Makes Steady Progress". Al-Bawaba. 26 สิงหาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2021.
  9. "Why will Ras Abu Aboud Stadium be dismantled after 2022 FIFA World Cup?". I Love Qatar. 12 พฤศจิกายน 2020. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2021.
  10. "Qatari firm wins contract for Ras Abu Aboud World Cup Stadium". The Peninsula Qatar. 29 พฤษภาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2021.
  11. "Ras Abu Aboud Stadium, Doha, Qatar". Design Build Network. 20 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2022.
  12. "Qatar unveils designs for Ras Abu Aboud while Khalifa Stadium gets 4-stars". In Habitat. 28 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2021.
  13. Naishadham, Suman (4 ธันวาคม 2022). "The World Cup stadium built to disappear: Stadium 974". CTV News. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2022.
  14. "Qatar unveils designs for Ras Abu Aboud while Khalifa Stadium gets 4-stars". Inside World Football. 14 ตุลาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2021.
  15. "UAE vs. Syria". Soccerway. 30 พฤศจิกายน 2021. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2022.
  16. "2021 FIFA Arab Cup: Participating teams, fixtures and all you need to know". Goal.com. 18 ธันวาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2022.
  17. Long, Dan (5 ธันวาคม 2022). "World Cup 2022 - Brazil 4-1 South Korea: Neymar makes scoring return as Brazil breeze into quarter-finals". Sky Sports. United Kingdom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ธันวาคม 2022.
  18. Noble, Josh (5 ธันวาคม 2022). "World Cup briefing: Final whistle blows for Qatar's shortlived stadiums". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2022.
  19. "Matches". FIFA Arab cup 2021. FIFA. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2023.
  20. "Scores & Fixtures". FIFA World Cup 2022. FIFA. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]