สถานีย่อย:เภสัชกรรม/บทความแนะนำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิธีใช้[แก้]

1. สามารถเพิ่มบทความที่ได้รับการเสนอชื่อและคัดเลือกแล้วในเป็นหัวข้อย่อยในหน้านี้ โดยใช้แบบฟอร์มดังนี้

:[[สถานีย่อย:เภสัชกรรม/บทความแนะนำ/(ตามด้วยตัวเลขลำดับที่บทความ)]]
{{สถานีย่อย:เภสัชกรรม/บทความแนะนำ/(ตามด้วยตัวเลขลำดับที่บทความ)}}
{{clear}}
----

2. แก้ไขค่าพารามิเตอร์ "max=" ตามจำนวนบทความในหน้านี้ ที่หน้าสถานีย่อย:เภสัชกรรม

บทความแนะนำ[แก้]

สถานีย่อย:เภสัชกรรม/บทความแนะนำ/1
สูตรโครงสร้างทางเคมีของพาราเซตามอล
สูตรโครงสร้างทางเคมีของพาราเซตามอล

พาราเซตามอล (อังกฤษ: Paracetamol) หรือ ชื่อทั่วไปที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาคือ อะซีตามิโนเฟน หรือ แอสเซตามิโนเฟน (อังกฤษ: acetaminophen) เป็นยาบรรเทาอาการปวด (analgesics) ที่ไม่มีฤทธิ์ระงับอาการอักเสบเหมือนอย่างแอสไพรินและไอบูโปรเฟน (ibuprofen) และไม่ใช่ยาแก้อักเสบประเภทสเตอรอยด์ (steroid) และมันก็ไม่ได้เป็นสมาชิกในกลุ่ม เอ็นเซด (non-steroidal anti-inflammatory drugs - NSAIDs)

ในปริมาณการใช้ปกติ พาราเซตามอลจะไม่มีผลทำให้เกิดการระคายเคืองผนังกระเพาะ หรือมีผลต่อการแข็งตัวของเลือด หรือเป็นอันตรายต่อไต อ่านต่อ...


สถานีย่อย:เภสัชกรรม/บทความแนะนำ/2

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระนามเดิม พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๘ - ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๔) พระราชโอรสองค์ที่ ๕๒ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ ประสูติในพระบรมมหาราชวังเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๘ ทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์กโดยทรงพระประสงค์ที่จะศึกษาวิชาแพทย์ แต่ในระยะแรกทรงศึกษาวิชากฎหมาย ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาจึงทรงเปลี่ยนไปเรียนวิชาการศึกษา และยังทรงเข้าเรียนวิชาที่เกี่ยวกับการแพทย์บางอย่างเป็นส่วนพระองค์กับศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้นด้วย หลังจากสำเร็จการศึกษาเดินทางกลับประเทศไทย และต่อมาได้สมรสกับ หม่อมเอลิซาเบท รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม ชาร์นแบร์เกอร์) (Elisabeth Scharnberger) สตรีชาวเยอรมัน ณ ที่ทำการอำเภอเวสตมินสเตอร กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2445 ทรงเป็นต้นราชสกุล รังสิต ทรงมีโอรส 2 พระองค์และธิดา 1 พระองค์ โดยพระองค์ได้ทรงจัดตั้งวิชาแพทย์ปรุงยาขึ้นในโรงเรียนราชแพทยาลัย ตามที่กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถได้ทรงปรารภเกี่ยวกับการขาดแคลนแพทย์ปรุงยาในกองทัพ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเภสัชกรรม ในปี พ.ศ. 2476 กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร ทรงได้รับการเชิดชูเฉลิมพระเกียรติ์เป็น พระบิดาของวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมแห่งประเทศไทย

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์ที่วังถนนวิทยุ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2494 ด้วยพระโรคหืดและโรคพระหทัยวาย เป็นราชโอรสองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระชนม์ยืนที่สุด ด้วยพระชนมายุ 66 ปี 4 เดือน อ่านต่อ...


สถานีย่อย:เภสัชกรรม/บทความแนะนำ/3

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย โดยถือกำเนิดจาก "แผนกแพทย์ผสมยา โรงเรียนราชแพทยาลัย" หรือ "โรงเรียนปรุงยา" ตามดำริของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นวันสถาปนาวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทยอีกด้วย

เมื่อประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว โรงเรียนปรุงยามีฐานะเป็นแผนกแพทย์ผสมยา ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล) และได้รับการพัฒนาหลักสูตรขึ้น จัดตั้งเป็นแผนกเภสัชกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2477 ต่อมาในปี พ.ศ. 2486 มีการโอนย้ายสังกัดไปยังมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยมหิดล) เมื่อมหาวิทยาลัยมหิดลจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ขึ้นใหม่ จึงได้โอนย้ายคณะเภสัชศาสตร์แห่งนี้กลับมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้อาคารเภสัชศาสตร์ (ปัจจุบันคือคณะศิลปกรรมศาสตร์) เป็นที่ทำการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2525 ได้ย้ายอาคารมาทำการเรียนการสอน ณ ที่ตั้งปัจจุบัน บริเวณสยามสแควร์ ติดกับคณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์อ่านต่อ...


สถานีย่อย:เภสัชกรรม/บทความแนะนำ/4

แบคทีเรียดื้อยา (อังกฤษ: Antibiotic resistance) เป็นคำที่ใช้สื่อถึงแบคทีเรียที่มีความสามารถในการปรับตัวให้ทนต่อฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนั้นๆในอดีต ส่งผลให้การรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยานี้ทำได้ยากกว่าปกติ จึงจำเป็นต้องมีการใช้ยาปฏิชีวนะในขนาดที่สูงขึ้นมากกว่าเดิมในการรักษา หรือต้องปรับเปลี่ยนแบบแผนการรักษาโดยใช้ยาทางเลือกรอง ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงกว่าปกติ และมีความเสี่ยงที่อาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์หรือการเกิดพิษได้มากกว่าการรักษาด้วยสูตรการรักษามาตรฐาน

การเพิ่มขึ้นของการดื้อยาของแบคทีเรียนี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อดื้อยาอย่างรุนแรงประมาณปีละ 700,000 – 1,000,000 คนต่อปี เฉพาะในสหรัฐอเมริกา ในแต่ละปีจะมีผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาอย่างน้อย 2,000,000 คน และในจำนวนนี้มีผู้ที่ประสบความล้มเหลวในการรักษาและนำไปสู่การเสียชีวิตมากถึง 23,000 คนต่อปี ด้วยความรุนแรงแรงของปัญหาการดื้อยาของแบคทีเรียนี้ ทำให้มีการเรียกร้องให้ประชาคมโลกกำหนดมาตรการการดำเนินการร่วมกันเพื่อจัดการกับภัยคุกคามดังกล่าว จนได้เป็นข้อเสนอสำหรับสนธิสัญญาระหว่างประเทศเรื่องการดื้อต่อยาของจุลชีพ แต่การดำเนินงานดังกล่าวนั้นไม่อาจกระทำได้ในทุกประเทศทั่วโลก เนื่องจากบางประเทศที่มีฐานะยากจนและมีระบบการสาธารณสุขที่อ่อนแอนั้นไม่อาจดำเนินการตามเจตนารมณ์ดังกล่าวได้เต็มที่ ทำให้กลุ่มประเทศดังกล่าวมีอุบัติการณ์การเกิดการดื้อยาของจุลชีพที่ค่อนข้างสูง อ่านต่อ...