สถานีย่อย:ระบบสุริยะ/ภาพยอดเยี่ยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีย่อย:ระบบสุริยะ/ภาพยอดเยี่ยม/1

ดาวพฤหัสบดีที่ถูกถ่ายโดยยานวอยเอจเจอร์ 1
ดาวพฤหัสบดีที่ถูกถ่ายโดยยานวอยเอจเจอร์ 1
ที่มา: วอยเอจเจอร์ 1

ภาพรายละเอียดของชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี ซึ่งถ่ายโดยวอยเอจเจอร์ 1 แสดงถึงจุดแดงใหญ่ มีลักษณะเป็นพายุรูปไข่เมื่อมองจากอวกาศ และพายุรูปไข่นี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางใกล้เคียงกับโลก


สถานีย่อย:ระบบสุริยะ/ภาพยอดเยี่ยม/2

ดวงจันทร์
ดวงจันทร์
ที่มา: ไมเคิล เค. แฟร์แบงส์

ดวงจันทร์ เป็นดาวบริวารธรรมชาติเพียงดวงเดียวของโลก ในช่วงยุคโบราณ เชื่อกันว่าดวงจันทร์จะตายไปทุกคืนแล้วจะถูกส่งไปยังยมโลก และก่อนหน้าปี พ.ศ. 2463 ยังเชื่อกันว่าดวงจันทร์มีชั้นบรรยากาศที่สามารถหายใจได้ ในปี พ.ศ. 2512 นีล อาร์มสตรอง และบัซ อัลดริน ได้กลายเป็นมนุษย์คนแรกที่ไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์สำเร็จ


สถานีย่อย:ระบบสุริยะ/ภาพยอดเยี่ยม/3

ดาวอังคาร
ดาวอังคาร
ที่มา: นาซา

ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 4 จากดวงอาทิตย์และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะอันดับที่ 2 รองจาก ดาวพุธ ดาวอังคารตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงรามของโรมัน มันยังถูกเรียกอยู่บ่อยครั้งว่า "ดาวเคราะห์สีแดง" เนื่องจากบนพื้นผิวของดาวอังคารประกอบไปด้วยไอรอนออกไซด์ ซึ่งทำให้พื้นผิวของดาวอังคารดูมีสีแดง


สถานีย่อย:ระบบสุริยะ/ภาพยอดเยี่ยม/4

Sunspot TRACE image
Sunspot TRACE image
ที่มา: นาซา/เทรซ

ภาพของเทรซ แสดงถึงจุดมืดบนพื้นผิว หรือ โฟโตสเฟียร์ของดวงอาทิตย์ ภาพนี้ถ่ายเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2545 โดยใช้อุลตราไวโอเลต จุดมืดนี้เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งบนชั้นโฟโตสเฟียร์ของดวงอาทิตย์ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ และมีสนามแม่เหล็กที่มีปั่นป่วนสูงมาก ซึ่งได้ทำให้เกิดการขัดขวางกระบวนการพาความร้อนบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ เกิดเป็นพื้นที่ที่มีความเข้มของแสงต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ


สถานีย่อย:ระบบสุริยะ/ภาพยอดเยี่ยม/5

ดาวหางเฮล-บอปป์ 29-03-1997
ดาวหางเฮล-บอปป์ 29-03-1997
ที่มา: ฟิลิปป์ ซัลซ์เกเบอร์

ดาวหางเฮล-บอปป์ ขณะกำลังผ่านท้องฟ้าที่เมืองอิสเตรีย ประเทศโครเอเชีย ในภาพนี้มีดาราจักรแอนโดรเมดาปรากฎรวมอยู่ทางด้านล่างขวาของภาพด้วย ซึ่งสามารถเห็นได้ลางๆ ดาวหางดวงนี้ถูกบันทึกไว้ว่าสามารถเห็นได้ยาวนานถึง 18 เดือน ซึ่งยาวนานกว่าดาวหางใหญ่แห่งปี พ.ศ. 2354 ถึงสองเท่า เมื่อดาวหางดวงนี้มาถึงตำแหน่งที่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะกลายเป็นเทหวัตถุที่สว่างเป็นอันดับสองบนท้องฟ้า รองจากซิริอุส


สถานีย่อย:ระบบสุริยะ/ภาพยอดเยี่ยม/6

ดาวบริวารไอโอ
ดาวบริวารไอโอ
ที่มา: นาซา

ภาพดาวบริวารไอโอ ถูกถ่ายโดย ยานอวกาศกาลิเลโอ ของนาซา ภาพนี้แสดงถึงการปะทุของภูเขาไฟสองลูก อันหนึ่งปะทุขึ้นไปสูง 140 กิโลเมตร และอีกอันหนึ่งสูง 75 กิโลเมตร ไอโอเป็นดาวบริวารชั้นในสุดของดาวบริวารกาลิเลโอของดาวพฤหัสบดี


สถานีย่อย:ระบบสุริยะ/ภาพยอดเยี่ยม/7

การโคจรบังดวงอาทิตย์ของดาวเสาร์
การโคจรบังดวงอาทิตย์ของดาวเสาร์
ที่มา: ยานอวกาศแคสซินี

ภาพดาวเสาร์กำลังโคจรบังดวงอาทิตย์ ถูกถ่ายจากยานอวกาศแคสซีนี วงแหวนที่เห็นได้จากภาพนี้ (เรียงตามระยะทาง เริ่มจากอันที่ไกลที่สุด) ได้แก่: วงแหวนอี วงแหวนพาลีน วงแหวนจี วงแหวนแจนัส/เอพิเมเทอัส วงแหวนเอฟ วงแหวนหลัก (เอ บี ซี) และวงแหวนดี ในภาพนี้ยังมีโลก ซึ่งเป็นจุดเล็กๆสีอ่อนอยู่ด้วย