ดาวหางเฮียกูตาเกะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดาวหางเฮียะกุตะเกะ)
ดาวหางเฮียกูตาเกะตอนอยู่ใกล้โลกที่สุดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ.1996

ซี/1996 บี2หรือ ดาวหางเฮียกูตาเกะ (อังกฤษ: Comet Hyakutake; ญี่ปุ่น: 百武彗星โรมาจิHyakutake-suisei; ชื่ออย่างเป็นทางการว่า C/1996 B2) เป็นดาวหาง ค้นพบเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2539[1] ซึ่งผ่านใกล้โลกในเดือนมีนาคมปีนั้น ได้รับการขนานนามว่าเป็น ดาวหางใหญ่ปี 2539 ซึ่งเป็นหนึ่งในดาวหางที่เข้าใกล้โลกที่สุดในรอบ 200 ปีที่ผ่านมา เฮียกูตาเกะสว่างมากในท้องฟ้าราตรี และสามารถมองเห็นได้อย่างกว้างขวางทั่วโลก

การสังเกตดาวหางทางวิทยาศาสตร์นำไปสู่การค้นพบจำนวนมาก ที่น่าประหลาดใจที่สุดสำหรับนักวิทยาศาสตร์ดาวหาง คือ การค้นพบการปล่อยรังสีเอกซ์จากดาวหางเป็นครั้งแรก ซึ่งเชื่อกันว่าเกิดจากอนุภาคลมสุริยะที่แตกตัวเป็นไอออนทำปฏิกิริยากับอะตอมที่เป็นกลางในโคมาของดาวหาง ยานอวกาศยูลิสซิสข้ามหางของดาวหางที่ระยะทางกว่า 500 ล้านกิโลเมตรจากนิวเคลียสอย่างไม่คาดฝัน แสดงให้เห็นว่าเฮียกูตาเกะเป็นดาวหางที่มีหางยาวที่สุด

เฮียกูตาเกะเป็นดาวหางคาบยาว ก่อนการผ่านเข้าใกล้ระบบสุริยะที่สุดครั้งล่าสุด คาบวงโคจรอยู่ที่ราว 17,000 ปี[2] แต่การรบกวนทางแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์ยักษ์เพิ่มคาบวงโคจรเป็น 70,000 ปี[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Comet was discovered on 1996 January 30.8 UT (local time: January 31), see IAU Circular No. 6299
  2. 2.0 2.1 Horizons output (2011-01-30). "Barycentric Osculating Orbital Elements for Comet Hyakutake (C/1996 B2)". สืบค้นเมื่อ 2011-01-30. (Horizons)