ศรินทิพย์ ศิริวรรณ
ศรินทิพย์ ศิริวรรณ | |
ชื่อเกิด | ไพลิน คอลลิน[1] |
เกิด | 1 มกราคม พ.ศ. 2469 (93 ปี) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม |
คู่สมรส | ชาลี อินทรวิจิตร |
ปีที่แสดง | 2497-2530 |
ผลงานเด่น | เรียม จาก โรงแรมนรก (2500) หม่อมแม่ จาก บ้านทรายทอง (2523) |
รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี | |
---|---|
นักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม พ.ศ. 2502 - ขบวนเสรีจีน |
ศรินทิพย์ ศิริวรรณ นักแสดงหญิงอาวุโส ผู้เคยรับบทนำในภาพยนตร์ โรงแรมนรก ของ รัตน์ เปสตันยี คู่กับชนะ ศรีอุบล และสุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ เคยได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง 3 ครั้ง เป็นรางวัลนักแสดงประกอบหญิง 2 ครั้ง จากเรื่อง ขบวนเสรีจีน (2502) และ ลูกอีสาน (2525)[2] และรางวัลตลกหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท (2529)[2] ระยะหลังหันมาแสดงละครโทรทัศน์ เนื่องจากเป็นดาราหน้าตาย ไม่ค่อยยิ้ม จึงมักได้รับบทแม่ บทที่เป็นที่จดจำคือ บทหม่อมแม่ ของคุณชายกลาง ในเรื่องบ้านทรายทอง ฉบับจารุณี สุขสวัสดิ์-พอเจตน์ แก่นเพชร
ศรินทิพย์ มีชื่อจริงว่า ไพลิน คอลลิน เกิดที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เมื่อ พ.ศ. 2469[3][4] บิดาเป็นชาวเนเธอร์แลนด์ จบการศึกษาจากโรงเรียนผดุงดรุณี แล้วไปสมัครเป็นนักร้องของวงดนตรีกรมสรรพสามิต และได้พบรักกับชาลี อินทรวิจิตร นักแต่งเพลง และแต่งงานกัน
ชาลี อินทรวิจิตร ได้นำเธอไปฝากฝังกับ อรรถ อรรถไกวัลวที ผู้จัดการคณะละครเทพศิลป์ ซึ่งชักนำเข้าสู่วงการ และตั้งชื่อให้ว่า "ศรินทิพย์ ศิริวรรณ"[4] ได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง โรงแรมนรก เป็นเรื่องแรกในปี พ.ศ. 2497
เรื่องราวชีวิตที่ยากลำบากของศรินทิพย์ ช่วง พ.ศ. 2486-2487 ก่อนจะได้พบกับชาลี อินทรวิจิตร เคยถูกสร้างเป็นละครวิทยุจนโด่งดัง ชื่อเรื่อง ม่านน้ำตา และนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ กำกับโดย เนรมิต นำแสดงโดย เพชรา เชาวราษฎร์ รับบทเป็นศรินทิพย์ วิไลวรรณ วัฒนพานิช รับบทเป็นแม่ และอนุชา รัตนมาลย์ รับบทสามีเก่าของศรินทิพย์ เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์คาเธ่ย์ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505[4] ปรากฏว่า อำนวย กลัสนิมิ และ ศรินทิพย์ ถูกสามีเก่าของเธอฟ้องหมิ่นประมาทจนเป็นเรื่องราวโด่งดัง คดีนี้จบลงโดยศาลไกล่เกลี่ย ผู้กำกับยินยอมประกาศขอขมานายจำเนียร รัศมี ทางหน้าหนังสือพิมพ์[4] จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ชาลี อินทรวิจิตร ได้แต่งเพลงชื่อ ไม่อยากให้โลกนี้มีความรัก ขับร้องโดย สวลี ผกาพันธุ์[4]
ศรินทิพย์ ศิริวรรณ หายตัวไประหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง อีจู้กู้ปู่ป้า ของ กำธร ทัพคัลไลย เมื่อ วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบันยังไม่พบตัว ภายหลังเหตุการณ์นั้น ชาลี อินทรวิจิตร ได้แต่งเพลงเพื่อระลึกถึง โดยใช้ทำนองเพลง Aubrey ของเดวิด เกตส์แห่งวง Bread ใช้ชื่อเพลงว่า เมื่อเธอจากฉันไป ขับร้องโดย พรพิมล ธรรมสาร ต่อมานำมาขับร้องใหม่โดย อรวี สัจจานนท์
งานภาพยนตร์[แก้]
- 2500: โรงแรมนรก
- 2502: ขบวนเสรีจีน
- 2503: แสงสูรย์
- 2504: แพรดำ
- 2507: น้ำตาลไม่หวาน
- 2508: นางสาวโพระดก
- 2509: ดาวพระศุกร์
- 2510: ปิ่นรัก
- 2520: แผลเก่า, เมียหลวง
- 2521: เกวียนหัก
- 2522: ดาวเรือง , ลูกทาส , อยู่กับก๋ง
- 2523: บ้านทรายทอง
- 2524: รักข้ามคลอง , ผึ้งแตกรัง
- 2525: ดาวเคียงเดือน , ลูกอีสาน , ไอ้หนึ่ง , คุณรักผมไหม
- 2526: รัตนาวดี , แม่ดอกกระถิน , เลขาคนใหม่ , จ้าวภูผา, สามอนงค์ ,สาวนาสั่งแฟน , รักกันวันละนิด
- 2527: น.ส.ลูกหว้า , สาวนาสั่งแฟน , คุณนาย ป.4 , ขาวผ่องเจ้าสังเวียน , เลดี้ฝรั่งดอง , สาวนาสั่งแฟน , เฮฮาเมียนาวี
- 2528: ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด , ที่รัก เธออยู่ไหน , เขยบ้านนอก , ยอดรักยอดพยศ , วัยรักเพี้ยนรัก
- 2529: สะใภ้ , แม่ดอกรักเร่ , ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท , เมียแต่ง
- 2530: คู่สร้างคู่สม , ผู้ชายป้ายเหลือง , สะใภ้เถื่อน , พรหมจารีสีดำ , ร่านดอกงิ้ว , ปีกมาร , วงศาคณาญาติ
- 2531: อีจู้กู้ปู่ป่า
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
งานละคร[แก้]
- 2504: สี่แผ่นดิน ช่อง 4 บางขุนพรหม
- 2509: เลือดอยุธยา ช่อง 4 บางขุนพรหม
- 2510: ปลาบู่ทอง ช่อง 7
- 2521: ลูกทาส ช่อง 3
- 2522: ร่มฉัตร ช่อง 9
- 2522: กุลปราโมทย์ ช่อง 3
- 2523: บางระจัน ช่อง 3
- 2523: เรือมนุษย์ ช่อง 5
- 2523: รักนั้นนิรันดร ช่อง 7
- 2523: หัวใจปรารถนา ช่อง 9
- 2524: เงามฤตยู ช่อง 9
- 2525: ข้าวนอกนา ช่อง 7
- 2525: พ่อครัวหัวป่าก์ ช่อง 3
- 2525: สุสานคนเป็น ช่อง 7
- 2525: ผู้ชายในอดีต ช่อง 9
- 2526: รักนั้นนิรันดร ช่อง 7
- 2527: เศรษฐีลูกทุ่ง ช่อง 9
- 2527: มงกุฎฟาง ช่อง 3
- 2527: บ้านสอยดาว ช่อง 7
- 2528: กาแกมหงส์ ช่อง 7
- 2528: มัสยา ช่อง 7
- 2529: กาหลงฝูง ช่อง 9
- 2530: ฟ้าต่ำ ช่อง 3
- 2530: บ้านทรายทอง ช่อง 7
- 2530: พจมาน สว่างวงศ์ ช่อง 7
- 2530: ผู้ใหญ่ลีกับนางมา ช่อง 3
- 2530: ในม่านเมฆ ช่อง 9
- 2530: ดาวเรือง ช่อง 3
- 2531: สามีตีตรา ช่อง 3
- 2531: สายรุ้งสลาย ช่อง 3
ฯลฯ
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อthaifilm
- ↑ 2.0 2.1 หนึ่งเดียว. พิพิธภัณฑ์หนังไทย ฉบับ "ประวัติการณ์ที่สุดหนังไทย". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ป็อปคอร์น, พ.ศ. 2549. หน้า 328. ISBN 974-94228-8-0
- ↑ แหล่งอ้างอิงระบุปีเกิด และสถานที่เกิดไม่ตรงกัน
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 โรม บุนนาค. แวดวงบันเทิงเมื่อวันวาน สุดยอดเรื่องเด็ดในวงการบันเทิงไทยตั้งแต่ยุคเริ่มหนังไทย. กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2551. 232 หน้า. ISBN 978-974-06-6637-0
|