ข้ามไปเนื้อหา

ศานนท์ หวังสร้างบุญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศานนท์ หวังสร้างบุญ
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 มิถุนายน พ.ศ. 2565
(3 ปี 21 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
จักกพันธุ์ ผิวงาม
วิศณุ ทรัพย์สมพล
ทวิดา กมลเวชช
ผู้ว่าการชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ก่อนหน้าโสภณ พิสุทธิวงษ์
ศักดิ์ชัย บุญมา
สกลธี ภัททิยกุล
เกรียงยศ สุดลาภา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 ตุลาคม พ.ศ. 2532 (35 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองอิสระ
อาชีพนักเคลื่อนไหวเพื่อสังคม, นักการเมือง

ศานนท์ หวังสร้างบุญ (เกิด 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532) เป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อสังคม นักธุรกิจ และข้าราชการการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดูแลด้านการศึกษา สังคม และงานพาณิชย์ เป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์

ประวัติ

[แก้]

ศานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ในครอบครัวที่ประกอบธุรกิจร้านวัสดุก่อสร้าง[1][2][3] เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 4 คน ด้านชีวิตครอบครัวสมรสแล้ว มีบุตร 1 คน[1]

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3] โดยในปีการศึกษา 2553 ศานนท์ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.)[4]

การทำงาน

[แก้]
บ้านเรือนในชุมชนป้อมมหากาฬขณะกำลังถูกทุบทำลาย ศานนท์เคยทำงานขับเคลื่อนเพื่อปกป้องชุมชนนี้

ช่วงเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ศานนท์เคยเปิดร้านเกมเพลย์สเตชันในตึกที่อาของเขาปล่อยเช่า แต่กิจการไม่ประสบความสำเร็จ[1] จากนั้นเมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรี เขาได้เข้าทำงานที่พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ประเทศไทย โดยเคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ[1] ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ศานนท์ได้ร่วมงานกับ "ปลาจะเพียร" กลุ่มอิสระที่ช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งใหญ่[1]

ศานนท์เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Satarana (สาธารณะ) เครือข่ายภาคประชาสังคมที่ทำงานเรื่องการพัฒนาเมือง[2] และเป็นหนึ่งในทีมกลุ่มเมล์เดย์ (Mayday) ผู้ออกแบบปรับปรุงป้ายหยุดรถเมล์รูปแบบใหม่[5] ทั้งยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Trawell นอกจากนี้เขายังเคยเป็นเจ้าของกิจการ Once Again Hostel ย่านประตูผี[6], Luk Hostel ย่านเยาวราช[7] รวมถึงยังเคยเป็นเจ้าของ Locall.bkk แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ ครอบคลุมพื้นที่ร้านอาหารบริเวณย่านเสาชิงช้า-ประตูผี, เยาวราช และนางลิ้นจี่[8]

ศานนท์มีชื่อเสียงจากการร่วมต่อสู้เพื่อชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายภาครัฐ เช่น ชุมชนป้อมมหากาฬ[9] โดยเขาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการร่วมประชุมเพื่อหารือทางออก แม้สุดท้ายชุมชนดังกล่าวจะถูกรื้อก็ตาม[10]

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

[แก้]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 ศานนท์ได้ร่วมงานกับ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในนามกลุ่ม Better Bangkok ร่วมกันออกแบบนโยบาย เพื่อสร้างกรุงเทพฯ ให้น่าอยู่[3] จากนั้นเมื่อชัชชาติลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและได้รับเลือกตั้งในอีกสามปีต่อมา ศานนท์ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดูแลด้านการศึกษา สังคม และงานพาณิชย์[11] ซึ่งเขาเป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์[2]

หลังได้รับตำแหน่ง ศานนท์กล่าวว่าจะฟื้นฟูโครงการ "บ้านอิ่มใจ" ที่พักชั่วคราวของคนไร้บ้าน กลับมาอีกครั้ง[12] โดยบ้านอิ่มใจเป็นโครงการที่หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ริเริ่มในปี พ.ศ. 2555 โดยเช่าอาคารการประปานครหลวงแม้นศรีเดิม[13] แต่ได้ยกเลิกสัญญาเช่าอาคารดังกล่าวในปี พ.ศ. 2562 ในสมัย พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าฯ กทม. เนื่องจากการใช้พื้นที่ไม่คุ้มค่าเช่าพื้นที่กับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ปีละ 28 ล้านบาท[14] และปรับภารกิจเป็นการคัดกรองคนไร้บ้านตามจุดต่าง ๆ ใน กทม. โดยไม่มีการพักค้างคืนแทน[15]

รางวัลที่ได้รับ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "ศานนท์ หวังสร้างบุญ จากนักขับเคลื่อนสังคม สู่รองพ่อเมือง กทม. อายุน้อยสุดของชัชชาติ". The Cloud. 2022-06-07.
  2. 2.0 2.1 2.2 "คุยกับ 'ศานนท์' รองผู้ว่าฯกทม. อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ กับความตั้งใจเปลี่ยนเมืองให้ดีกว่าเดิม". CH3Plus.com. 2 Jun 2022.
  3. 3.0 3.1 3.2 matichon (2022-06-07). "ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯกทม. วัย 33 ปี". มติชนออนไลน์.
  4. "กลุ่มนศ. ส่งจม.เปิดผนึกขอมหาวิทยาลัยทั่วประเทศปกป้องนศ". VoiceTV. 2014-11-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "ผู้สร้างป้ายรถเมล์โฉมใหม่ จวก ผู้ว่าฯ กทม. เคลมเป็นผลงาน แต่ไม่เคยช่วยทำ!". แบ่งปันโอกาส เพื่ออนาคตที่ก้าวหน้า. 2019-03-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-18. สืบค้นเมื่อ 2022-06-08.
  6. "คุณศานนท์ หวังสร้างบุญ : ผู้ก่อตั้ง Once Again Hostel โฮสเทลสร้างสรรค์ " TREA TALKS Real Estate 2017 - Future Thailand: ประเทศไทย 4.0 ก้าวไปข้างหน้าอย่างไร ไม่ต้องทิ้ง ใครไว้ข้างหลัง" :". The thai real estate association.
  7. "ในความมืดมีแสงสว่าง : คุยกับ 2 ผู้ประกอบการที่พา 'คนทำงาน' และ 'ธุรกิจ' สู้วิกฤตไปด้วยกัน". The 101 World. 2020-07-23.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "สุดเจ๋ง! Locall .bkk แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีที่ช่วยชุมชนก้าวข้ามวิกฤต". www.smethailandclub.com. 2022-06-08.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. ประชุมพันธ์, จินตนา (16 Feb 2017). "ชุมชนป้อมมหากาฬ: พื้นที่ประวัติศาสตร์ที่ยังมีลมหายใจ กับภาพสะท้อนความล้าหลังของกฎหมายไทย". THE MOMENTUM.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "ชาวป้อมมหากาฬ ตื้นตัน 'ศานนท์' นั่งรองผู้ว่าฯ ไม่ลืมภาพนุ่งขาสั้น คีบแตะร่วมสู้อำนาจรัฐต้านไล่รื้อ". มติชนออนไลน์. 2022-06-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "ชัชชาติ ลงนามคำสั่งมอบอำนาจ 4 รองผู้ว่าฯ กทม. สั่งและปฏิบัติราชการแทน : อินโฟเควสท์". สำนักข่าวอินโฟเควสท์. 2022-06-03.
  12. "รองผู้ว่าฯ ศานนท์ นัดถกช่วย 'คนไร้บ้าน' จ่อฟื้น 'บ้านอิ่มใจ' เมินวันหยุด บอก ทำอะไรได้ ทำเลย". มติชนออนไลน์. 2022-06-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "กทม.เปิดบ้านอิ่มใจช่วยคนเร่ร่อน". posttoday.com. 2012-11-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "แบกไม่ไหว! ค่าเช่า 'บ้านอิ่มใจ' พุ่ง 'อัศวิน' สั่งคืนพื้นที่-ขีดเส้นตาย มิ.ย.ย้ายคนไร้ที่พึ่งออก". มติชนออนไลน์. 2019-03-14.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "'บ้านอิ่มใจ'ที่พึ่งสุดท้ายปิดตัว ตกงานเพิ่มยอด'คนไร้ที่อยู่'". dailynews. 2019-10-09.
  16. "สมาคมนิสิตเก่าเอ็มบีเอ จุฬาฯ จัดงานประกาศรางวัล DRIVE AWARD 2019 และ JUMC STAR 2019 [PR] - Brand Buffet". brandbuffet. 2019-08-26.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๖ ข หน้า ๘, ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖