วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/หลีกเลี่ยงถ้อยคำคลุมเครือ
แนวปฏิบัตินี้เป็นส่วนหนึ่งของคู่มือการเขียนในวิกิพีเดียภาษาไทย นั่นเป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไปที่บรรณาธิการควรพยายามปฏิบัติตาม แม้ว่าจะได้รับการปฏิบัติอย่างดีที่สุดโดยใช้สามัญสำนึก และอาจมีข้อยกเว้นเป็นครั้งคราว การแก้ไข "สาระสำคัญ" ใดๆ ในหน้านี้ควรสะท้อนถึงความเห็นพ้อง หากมีข้อสงสัยให้พูดคุยกันก่อนในหน้าพูดคุย |
คู่มือการเขียน (MoS) |
---|
สารบัญ |
ถ้อยคำคลุมเครือ คือถ้อยคำที่ไม่พูดตรงประเด็น ไม่ชัดเจน หรือทำให้เข้าใจผิด ในวิกิพีเดียหมายถึงการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงประเด็น ไม่ชัดเจน และอาจทำให้เข้าใจผิดไปเป็นอย่างอื่น ถ้อยคำคลุมเครืออาจหมายถึงการใช้คำที่ประหนึ่งสนับสนุนหรือต่อต้านในคำพูดโดยปราศจากการให้แหล่งที่มาของข้อมูลแสดงความเห็นที่เชื่อถือได้ให้ผู้อ่านรับทราบอย่างชัดเจน หรือก่อให้เกิดข้อกังขาต่อถ้อยคำนั้น หากประโยคใดไม่สามารถทำให้ปราศจากถ้อยคำคลุมเครือได้ ประโยคนั้นจะแสดงความเอนเอียงออกมาซึ่งไม่เป็นกลาง ให้หาแหล่งอ้างอิงที่มาของประโยคนั้นมาเสริม หรือถ้าหาไม่ได้หรือไม่มีมูลก็ควรนำเอาประโยคดังกล่าวออกไป
ตัวอย่างเช่น "เมืองลูตัน ในสหราชอาณาจักรเป็นเมืองที่งดงามที่สุดในโลก" เป็นตัวอย่างของประโยคไม่เป็นกลาง การทำให้เป็นถ้อยคำคลุมเครือหรือลวงว่าเป็นกลางก็จะใช้คำพูดว่า "บางคนพูดว่า เมืองลูตัน ในสหราชอาณาจักรเป็นเมืองที่งดงามที่สุดในโลก"
ถึงแม้ว่าจะเป็นการแก้ไขขึ้นมา ก็ไม่ทำให้ประโยคแสดงความเห็นนี้ให้เป็นข้อเท็จจริงได้ ยังคงไม่เป็นการให้ข้อมูลและทำให้เกิดคำถามเช่น
- ใครพูด
- พูดเมื่อไหร่ เขียนตอนไหน
- มีใครบ้างที่คิดเช่นนี้ คนจำนวนนั้นมีใครบ้าง
- คนประเภทไหนที่คิดเช่นนี้บ้าง พวกเขาอยู่ที่ไหน
- พวกเขามีอคติอะไรอยู่บ้าง
- มีประเด็นสำคัญอะไร
ถ้อยคำคลุมเครือไม่ได้เป็นข้อมูลที่เป็นกลางจริง ๆ แค่เป็นข่าวลือ คำครหา หรือความคิดเห็นส่วนตัวที่คลุมเครือ การสร้างประโยคที่ไม่ตรงไปตรงมา ควรจะยกชื่อผู้ที่แสดงความเห็นมากกว่าการทำให้คลุมเครือหรือการให้ข้อมูลเลื่อนลอย
ภาพรวม
ตัวอย่าง |
---|
|
ปัญหาของถ้อยคำคลุมเครือไม่เพียงเป็นอุปสรรคต่อมุมมองที่เป็นกลางของวิกิพีเดีย แต่ยังเป็นการสร้างปัญหาอื่นอีกด้วย
- การไม่ได้ให้ข้อมูล จุดประสงค์ของสารานุกรมคือการให้ข้อมูลถูกต้องแม่นยำและข้อมูลที่มีประโยชน์ ถ้อยคำคลุมเครือมักให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่มีประโยชน์
- การใช้คำฟุ่มเฟือย ถ้อยคำคลุมเครือโดยมากมักเป็นการพูดยืดยาว การเขียนประโยคเยิ่นเย้อโดยไม่จำเป็น
- การโต้เถียงที่ไม่จำเป็น ตัวอย่างเช่น "มีบางคนคิดว่า ก กับ ข" นำไปสู่คำถามหรือแม้แต่การโต้เถียงกัน เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้คนคิด มีใครคิดเช่นนี้บ้าง หรือพวกเขาเป็นใครบ้าง
- ความซ้ำซ้อน การใช้ถ้อยคำเช่นนี้อย่างมากอาจทำให้บทความน่าเบื่อหน่ายได้ ซึ่งเป็นผลมาจากการเขียนรูปประโยคซ้ำเดิม ตัวอย่างเช่น "บางคนโต้เถียงว่า... บางคนตอบรับว่า... บางคนชี้ประเด็นว่า..." เป็นการลดคุณภาพของสารานุกรม
- การรับรู้เรื่องเวลา การใช้คำว่า "เมื่อเร็ว ๆ นี้", "ล่าสุด" และ "ปัจจุบัน" เป็นการไม่ระบุให้ข้อมูลเรื่องเวลาอย่างชัดเจนในข้อความ คือไม่ระบุว่าเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไร