วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การเขียนเกี่ยวกับเรื่องแต่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิกิพีเดีย มีหลายบทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องแต่ง โลกแห่งนิยาย และองค์ประกอบต่าง ๆ ของนิยาย

เมื่อสร้างบทความประเภทนี้ ต้องมีความโดดเด่นที่เกี่ยวข้องกับโลกแห่งความจริง โดยพิจารณาจากเกณฑ์พิจารณาความโดดเด่นทั่วไป ที่ต้องมีแหล่งข้อมูลทุติยภูมิอิสระที่มีความเชื่อถือได้ ถึงจะรับรองว่าบทความมีแหล่งข้อมูลที่แสดงความโดดเด่นที่เพียงพอและข้อเท็จจริงที่ถูกต้องแม่นยำ

ถัดไป หากหัวข้อนั้นได้มีการสรุปว่ามีบทความในวิกิพีเดีย ผู้เขียนควรพิจารณาการเขียนและการให้ข้อมูลที่ดีที่สุดอย่างไร ผู้อ่านไม่ควรที่จะต้องได้รับคำอธิบายเพิ่มเติมอีก ว่าเหตุใดจึงแยกบทความมาเช่นนั้นอีก

มุมมองโลกความจริง[แก้]

บทความเกี่ยวกับเรื่องแต่งนั้น เช่นเดียวกับทุกบทความในวิกิพีเดีย จะต้องมีอ้างอิงจากโลกความจริงเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลัก เขียนเนื้อหาที่อธิบายถึงมุมมองในโลกความจริงของงานเขียนและงานตีพิมพ์ มีความจำเป็นที่ต้องมีข้อมูลทั้งแหล่งอ้างอิงปฐมภูมิและแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิ

ตัวอย่างการเขียนมุมมองในโลกความเป็นจริง เช่น:

  • เขียนแยกระหว่างเรื่องที่แต่งขึ้นและมุมมองการผลิตและการตีพิมพ์ อย่างถี่ถ้วน เช่น งานเขียนนั้นส่งผลกระทบใดต่อโลกแห่งความจริง
  • เขียนแยกระหว่างการบรรยายเรื่องและลำดับเหตุการณ์ของเรื่องแต่งขึ้น ทั้ง 2 มุมมอง และการบรรยายเรื่องและเหตุการณ์ในโลกแห่งความจริง (ของภาพยนตร์และโทรทัศน์ ที่เป็นเรื่องแต่งที่เกี่ยวกับเหตุการณ์จริง)
  • การนำเสนอเนื้อหาเรื่องแต่งขึ้น
    • ในบทความภาพยนตร์และโทรทัศน์ ควรเขียนเกี่ยวกับการถ่ายทำภาพยนตร์
    • ในบทความนิยาย ควรเขียนถึงรูปแบบการเขียน
  • การเขียนเกี่ยวกับตัวละคร สถานที่ และอุปกรณ์ เขียนเล่าบรรยายอย่างมีจุดหมาย
  • มีอ้างอิงที่อ้างจากเจตนาของผู้แต่ง

ปัญหาการเขียนในมุมมองโลกที่แต่งขึ้น[แก้]

ในมุมมองโลกที่แต่งขึ้น เขียนมุมมองของตัวละครนั้นในโลกที่แต่งขึ้น เขียนราวกับว่าเป็นเรื่องจริงและหลีกเลี่ยงความเป็นจริงและการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการบัญญัติโลกของเรื่องแต่ง ในการพยายามที่จะหาความสำราญหรือสนับสนุนเรื่องลวงจากนิยายดั้งเดิม โดยละเลยต่อข้อมูลในโลกความเป็นจริง

ผู้ชื่นชอบวิกิและเว็บไซต์ผู้ชื่นชอบ ต่างหาโอกาสสร้างเรื่องขึ้น สิ่งเหล่านี้ไม่ควรจะใส่เข้าในบทความของวิกิพีเดีย ในมุมมองของโลกแต่งขึ้นนั้น ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนและชักนำไปในทางที่ผิด เชื้อเชิญให้เกิดการเขียนข้อมูลแบบงานค้นคว้าต้นฉบับ สิ่งที่สำคัญที่สุด การเขียนในมุมมองโลกที่แต่งขึ้นเป็นการฝ่าฝืนความคิดเห็นส่วนใหญ่ของชุมชน ที่วิกิพีเดียไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น

ปัญหาการเขียนที่เกี่ยวข้องการมุมมองโลกที่แต่งขึ้น:

  • เพิกเฉยต่อมุมมองด้านการทำงานเพื่อผลิตผลงาน
  • การเขียนเรื่องย่อเขียนราวกับเป็นเรื่องจริงทางประวัติศาสตร์
  • การบรรยายถึงตัวละคร เขียนราวกับเป็นชีวประวัติ มีข้อมูลรายละเอียดเกินไป มีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ทุกรายละเอียด
  • การบรรยายถึงสถานที่ เขียนราวกับเป็นสถานที่จริง
  • พยายาม เชื่อมข้อมูลโต้แย้งหรือเติมเต็มความต่อเนื่องของเรื่องแต่ง มากกว่าการรายงานอย่างที่ควรจะเป็น
  • เขียนเกี่ยวกับการปรากฏตัวในเรื่องหลักและเรื่องแตกย่อยอื่น ๆ ที่ไม่สำคัญ อย่างเท่า ๆ กัน
  • มีการใส่กล่องสืบทอดตำแหน่ง ราวกับเป็นเรื่องจริง
  • ใช้ข้อมูลจากความเห็นจากแหล่งข้อมูลไม่สำคัญ หรือจากมุกตลก เป็นข้อมูลในการเขียน
  • ใช้กล่องข้อมูลจากโลกความจริง
  • ใช้ภาพที่จับภาพนิ่งจากภาพยนตร์ แทนการใช้ภาพนักแสดงที่แสดง
  • อ้างถึงเหตุการณ์ที่แต่งขึ้นหรือวันที่เกิดขึ้นในเรื่อง มากกว่าการผลิตผลงานเสียอีก
  • เรียบเรียงการเขียนอย่างเป็นลำดับตามเวลาในท้องเรื่อง มากกว่าการให้ข้อมูลด้านการตีพิมพ์เสียอีก

ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ[แก้]

ข้อมูลปฐมภูมิ[แก้]

ข้อมูลปฐมภูมิ คือข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลต้นฉบับของเรื่องแต่ง เช่น นวนิยายหรือผลงานเขียนดัดแปลงในเรื่องเดียวกัน ถึงแม้จะเข้มงวดการเขียนในโลกแห่งความจริง แต่การเขียนในโลกแต่งก็ควรเขียนด้วย โดยใช้ข้อมูลจากต้นฉบับ

ตัวอย่างการให้ข้อมูลปฐมภูมิที่เขียนลงบทความได้:

  • วันเกิดและวันตายของตัวละคร
  • สถิติการปรากฏตัวหรือเอกลักษณ์ของยานพาหนะและอุปกรณ์ของเรื่องที่แต่ง
  • ประวัติของสถานที่แต่งหรือองค์กรที่แต่งขึ้น
  • ภูมิหลังของสิ่งมีชีวิตในเรื่องแต่ง
  • เรื่องย่อ

ข้อมูลทุติยภูมิ[แก้]

ข้อมูลทุติยภูมิหมายถึงข้อมูลจากนอกโลกที่แต่งขึ้น เป็นแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่กล่าวถึงผลงานการเขียน หรือบรรยายโลกที่แต่งขึ้น หรือแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิเกี่ยวกับผู้แต่งและการบรรยายถึงการสร้างสรรค์ผลงาน ส่วนผลงานการตีพิมพ์ เช่น นิตยสารสำหรับแฟน ไม่ถือเป็นแหล่งข้อมูลทุติภูมิที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามบางเรื่องราวของการตีพิมพ์ก็อาจเป็นแหล่งอ้างอิงปฐมภูมิหรือทุติยภูมิที่เหมาะสมในบทความได้

กฎพื้นฐาน คือ ใช้แหล่งข้อมูลทุติยภูมิให้มากที่สุดที่จำเป็น และให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อโลกความเป็นจริง ไม่มากไม่น้อยเกินไป อีกกฎหนึ่งคือ หากบทความนั้นมีความโดดเด่น ต้องมีแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิในบทความนั้นเรียบร้อยแล้ว

ตัวอย่างของการให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ จากแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิของผลงานต้นฉบับ หรือผลงานปฐมภูมิ และแหล่งข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลอื่นของงานเขียน:

  • ผู้เขียนหรือผู้สร้างสรรค์
  • สิ่งสำคัญในขั้นตอนการผลิต เช่น การถ่ายทำของภาพยนตร์หรือการแปลเป็นภาษาอื่นของบทประพันธ์
  • การออกแบบ
  • การพัฒนา ทั้งก่อนการผลิตและช่วงการแต่งเรื่อง
  • ปัจจัยในโลกความเป็นจริงที่มีอิทธิพลต่อผลงานและองค์ประกอบการแต่ง
  • สำหรับตัวละคร พูดถึงการคิดตัวละคร นักแสดงที่มารับบทบาท
  • การได้รับความนิยมในสาธารณะ
  • ยอดขาย
  • การตอบรับด้านเสียงวิจารณ์
  • การวิจารณ์เชิงวิเคราะห์
  • ผลกระทบต่อผู้สร้างอื่นและโครงการอื่น