วิกิพีเดีย:สภาพายุหมุนเขตร้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โครงการวิกิพายุหมุนเขตร้อน
หน้าหลัก · แม่แบบ · อภิปราย · สภาลม · บทความ · สถานีย่อย

ยินดีต้อนรับสู่ สภาพายุหมุนเขตร้อน

สภาพายุหมุนเขตร้อน คือสถานที่สำหรับปรึกษาหารือด้านเทคนิค นโยบาย และการดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับบทความพายุหมุนเขตร้อนหรือที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นพื้นที่ไว้สำหรับถามตอบปัญหาที่ข้องใจ
(สภาพายุหมุนเขตร้อนเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิพายุหมุนเขตร้อน)

ตั้งหัวข้อใหม่ที่นี่

โครงการวิกิพายุหมุนเขตร้อน
หน้าโครงการ
พายุหมุนเขตร้อน
บทความ
สมาชิก
พายุหมุนเขตร้อนคืออะไร?
การจัดระดับบทความ
● {{บทความพายุหมุนเขตร้อน}} (หน้าอภิปราย)
● {{User WikiTC}} (หน้าผู้ใช้)
บทความพายุหมุนเขตร้อน ความสำคัญ
ไม่มี ทั้งหมด
คุณภาพ
 บทความคัดสรร คัดสรร  3 3
 บทความคุณภาพ คุณภาพ  1 1
ดี 23 23
พอใช้ 16 16
โครง 90 90
รายชื่อ 20 20
จัดระดับแล้ว 153 153
ยังไม่ได้จัดระดับ 36 36
ทั้งหมด 189 189

      

แนวทางการตั้งชื่อบทความพายุหมุนเขตร้อน[แก้]

เพื่อให้การตั้งชื่อบทความต่าง ๆ เกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อนเป็นไปในทางเดียวกันครับ ผมจึงอยากจะเสนอแนวทางดังนี้ครับ:

  • ตรวจสอบว่าพายุลูกนั้น ๆ ก่อตัวอยู่บริเวณในแอ่งใด และมีความรุนแรงอยู่ในระดับใดตามการจัดอันดับความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อน
  • ให้ใช้ระดับความรุนแรงโดยเป็นชื่อเฉพาะของแต่ละแอ่งตั้ง แล้วตามด้วยรหัสเรียกขานหรือชื่อของพายุ และตามด้วยปีพุทธศักราชแบบย่อในวงเล็บต่อท้าย
    • พายุไต้ฝุ่นหมุ่ยฟ้า (พ.ศ. 2547) : หมายความว่า พายุที่ก่อตัวและมีกำลังแรงสูงสุดในแอ่งแปซิฟิก ใช้ชื่อเฉพาะว่า "พายุไต้ฝุ่น" ได้รับชื่อว่า "หมุ่ยฟ้า" และมีกำลังอยู่ในช่วง พ.ศ. 2547
  • กรณีที่ชื่อพายุลูกใดที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงจนถูกปลดออก ให้ตั้งชื่อบทความเป็นชื่อพายุไปเลยโดยไม่ต้องเติมปีพุทธศักราชแบบย่อต่อท้าย เนื่องจากชื่อที่ถูกปลดไปจะไม่นำกลับมาใช้ในอนาคตอีก
    • พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2551) : หมายความว่า พายุที่ก่อตัวและมีกำลังแรงสูงสุดในแอ่งแปซิฟิก ใช้ชื่อเฉพาะว่า "พายุไต้ฝุ่น" ได้รับชื่อว่า "รามสูร" และมีกำลังอยู่ในช่วง พ.ศ. 2551
    • พายุไต้ฝุ่นรามสูร : หมายความว่า พายุที่ก่อตัวและมีกำลังแรงสูงสุดในแอ่งแปซิฟิก ใช้ชื่อเฉพาะว่า "พายุไต้ฝุ่น" ได้รับชื่อว่า "รามสูร" และมีกำลังอยู่ในช่วง พ.ศ. 2557 และถูกปลดลงในปีนั้น
  • กรณีที่เป็นพายุที่เคลื่อนตัวข้ามแอ่งมาจากแอ่งอื่น
    • หากก่อนขณะข้ามแอ่งมา มีความรุนแรงไม่เกินระดับพายุโซนร้อน และเข้ามาทวีกำลังแรงสูงสุดในอีกแอ่งหนึ่ง ให้ใช้ชื่อเฉพาะของแอ่งที่พายุมีกำลังแรงสูงสุด
    • หากก่อนขณะข้ามแอ่งมา พายุได้ทวีกำลังแรงสูงสุดในแอ่งนั้น ๆ แล้ว ให้คงการตั้งชื่อเฉพาะของแอ่งนั้นเลย

ข้อสังเกต:

  • กรณีพายุในระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนหรือพายุโซนร้อน อาจต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างมาประกอบกันเพื่อสร้างบทความ เช่น ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งบนแผ่นดิน มีนัยสำคัญทางประวัติศาสตร์ หรือถูกปลด เนื่องจากพายุดังกล่าวก่อตัวได้มากที่สุดและมีปริมาณมากในแต่ละปี

ทุกท่านมีความเห็นว่าอย่างไรครับ --KyouIchiPon (พูดคุย) 16:22, 6 มกราคม 2559 (ICT)

เห็นด้วยตามนั้นครับ แต่ยังมีข้อสงสัยว่าควรตั้งชื่อบทความว่า "พายุเฮอริเคน..." หรือ "เฮอริเคน..." ดี เพราะตอนนี้ชื่อบทความแตกเป็นสองทาง มีทั้ง "พายุเฮอริเคน" (ไดแอน, แครอล) มีทั้ง "เฮอริเคน" (แคทรีนา, เออร์มา) เผื่อจะได้ตั้งเป็นหลักเกณฑ์การตั้งชื่อพายุในอนาคต --Ponpan (คุย) 09:43, 28 กุมภาพันธ์ 2562 (ICT)