วัดหลวงพ่อโอภาสี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดหลวงพ่อโอภาสี
แผนที่
ชื่อสามัญวัดหลวงพ่อโอภาสี, อาศรมบางมด
ที่ตั้งซอยพุทธบูชา 31 ถนนพุทธบูชา แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูสุทธิญาโณภาส (อุสา ป.ธ.๓)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดหลวงพ่อโอภาสี เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน พระครูสุทธิญาโณภาส (อุสา ป.ธ.๓) เป็นเจ้าอาวาส[1]

ประวัติ[แก้]

วัดหลวงพ่อโอภาสีตั้งวัดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2536[2] โดยเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2485 พื้นที่ย่านบางมดแห่งนี้เต็มไปด้วยสวนส้ม หลวงพ่อโอภาสีได้เดินธุดงค์มาปักกลด ด้วยปฏิปทาอันน่าศรัทธาเลื่อมใส ชาวบ้านจึงพากันไปกราบไหว้เป็นประจำ จนเศรษฐีเจ้าของที่ดินได้ยกที่ดินให้สร้างเป็น อาศรมบางมด และได้นิมนต์ให้ท่านอยู่เป็นการถาวร ต่อมาเปลี่ยนมาเป็นชื่อ "วัดหลวงพ่อโอภาสี" ตามนามของหลวงพ่อโอภาสี (พระมหาชวน มลิพันธ์) ซึ่งท่านเป็นพระอาจารย์รูปหนึ่งที่มีชื่อเสียงในด้านอิทธิอภินิหาร เชื่อกันว่าท่านเป็นพระที่สามารถรู้ถึงเหตุการณ์ล่วงหน้าและทำนายทายทักได้ถูกต้อง ท่านยังถือลัทธิบูชาเพลิง[3] มีคหบดี เจ้าสัวจากย่านเยาวราช สำเพ็ง บางลำพู ฯลฯ แม้แต่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ เช่น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ได้ไปกราบไหว้ท่าน พร้อมทั้งร่วมทำบุญสร้างวัดกับท่านเป็นประจำ

วัตถุมงคล[แก้]

วัดมีวัตถุมงคลหลากหลายรูปแบบของท่านที่สร้างชื่อเสียงโด่งดังทางด้านพุทธคุณ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอยู่ยงคงกระพันชาตรีหรือเมตตามหานิยม และที่ยอมรับกันเป็นอย่างมาก คือ การค้าขายให้เจริญรุ่งเรือง ในยุคแรกที่ประเทศไทยเข้าร่วมรบในสงคราม ท่านได้ทำผ้ายันต์ ผ้าประเจียด เหรียญสตางค์รู แจกให้ลูกศิษย์ มีผู้นำไปใช้แล้วเกิดประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น คงกระพัน ถูกยิงถูกฟันไม่เข้า แคล้วคลาดจากภยันตรายต่าง ๆ จนมีผู้คนมาขอของท่านมากขึ้น ท่านจึงได้สร้างพระปิดตาเนื้อตะกั่วและพระพิมพ์เนื้อผงผสมดิน ซึ่งล้วนได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดหลวงพ่อโอภาสี". พระสังฆาธิการ.
  2. "รายงานทะเบียนวัด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-13. สืบค้นเมื่อ 2021-01-08.
  3. "บูชาไฟเป็นพุทธบูชาวัดพ่อโอภาสี๗๐ปีไม่เคยดับ". คมชัดลึก.
  4. "หลวงพ่อโอภาสี'พระผู้สำเร็จ'เตโชกสิณ'". คมชัดลึก.