ชิมแปนซี
ชิมแปนซี ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 4–0Ma [1] | |
---|---|
ชิมแปนซีตะวันออกในอุทยานแห่งชาติคิบาเล ประเทศยูกันดา | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | อันดับวานร Primates |
อันดับย่อย: | Haplorhini Haplorhini |
อันดับฐาน: | Simiiformes Simiiformes |
วงศ์: | ลิงใหญ่ Hominidae |
วงศ์ย่อย: | โฮมินินี Homininae |
สกุล: | Pan Pan (Blumenbach, 1775) |
สปีชีส์: | Pan troglodytes |
ชื่อทวินาม | |
Pan troglodytes (Blumenbach, 1775) | |
Subspecies | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของชนิดย่อยต่าง ๆ
Pan troglodytes verus
P. t. ellioti
P. t. troglodytes
P. t. schweinfurthii
| |
ชื่อพ้อง | |
|
ชิมแปนซี (อังกฤษ: chimpanzee; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pan troglodytes) เป็นลิงไม่มีหางที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]คำว่า chimpanzee ในภาษาอังกฤษได้รับการบันทึกครั้งแรกใน ค.ศ. 1738[4] มีที่มาจากภาษาวีลีว่า ci-mpenze[5] หรือในภาษา Tshiluba ว่า chimpenze โดยมีความหมายว่า "เอป"[6] หรือ "mockman"[7] ภาษาปาก "chimp" น่าจะประดิษฐ์ขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษ 1870[8] ชื่อสกุล Pan มาจากเทพเจ้ากรีก ส่วนชื่อเฉพาะ troglodytes มาจาก Troglodytae เผ่าพันธุ์ในตำนานที่อาศัยอยู่ในถ้ำ[9][10]
อนุกรมวิธาน
[แก้]เอปแรกสุดที่วิทยาศาสตร์ตะวันตกรู้จักในคริสตศตวรรษที่ 17 คือ "อุรังอุตัง" (สกุล Pongo) ชื่อภาษามลายูท้องถิ่นบันทึกในเกาะชวาโดย Jacobus Bontius แพทย์ชาวดัตช์ จากนั้นใน ค.ศ. 1641 Nicolaes Tulp นักกายวิภาคชาวดัตช์ ใช้ชื่อนี้กับชิมแปนซีหรือโบโนโบจากแองโกลาที่นำเข้าเนเธอร์แลนด์[11] Peter Camper นักกายวิภาคชาวดัตช์อีกคน ผ่าตัวอย่างชนิดจากแอฟริกากลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในคริสต์ทศวรรษ 1770 โดยสังเกตความแตกต่างระหว่างเอปแอฟริกันกับเอเชีย Johann Friedrich Blumenbach นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน จัดให้ชิมแปนซีเป็น Simia troglodytes ใน ค.ศ. 1775 Lorenz Oken นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมันอีกคน บัญญัติชื่อสกุล Pan ใน ค.ศ. 1816 โบโนโบถูดจัดให้เป็นสายเฉพาะจากชิมแปนซีใน ค.ศ. 1933[9][10][12]
วิวัฒนาการ
[แก้]แม้มีการจัดเก็บรวมฟอสซิล Homo จำนวนมาก ฟอสซิลของ Pan ยังไม่ได้รับการระบุจนกระทั่ง ค.ศ. 2005 ประชากรชิมแปนซีที่มีอยู่ในแอฟริกาตะวันตกและกลางไม่ทับซ้อนกับพื้นที่ฟอสซิลมนุษย์หลักในแอฟริกาตะวันออก แต่มีรายงานฟอสซิลชิมแปนซีจากเคนยา สิ่งนี้ระบุุว่าทั้งมนุษย์และสมาชิกเคลด Pan ปรากฏในหุบเขาทรุดแอฟริกาตะวันออกในช่วงอายุไพลสโตซีนกลาง[13]
ตามการศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 2017 โดยนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน โบโนโบกับชิมแปนซีแยกจากสายมนุษย์เมื่อประมาณ 8 ล้านปีก่อน จากนั้นโบโนโบจึงแยกจากสายชิมแปนซีสามัญเมื่อประมาณ 2 ล้านปีก่อน[14][15] การศึกษาทางพันธุกรรมอีกชิ้นใน ค.ศ. 2017 แสดงให้เห็นถึงการถ่ายเทยีน (introgression) จากโบโนโบไปยังบรรพบุรุษของชิมแปนซีกลางและตะวันออกเมื่อระหว่าง 200,000 ถึง 550,000 ปีก่อน[16]
ชนิดย่อยและสถานะประชากร
[แก้]มีชิมแปนซีีชนิดย่อย 4 ชนิดที่ได้รับการรับรอง[17][18] โดยอาจมีชนิดย่อยที่ 5 ที่เป็นไปได้:[16][19]
- ชิมแปนซีกลางหรือ tschego (Pan troglodytes troglodytes) พบในแคเมอรูน สาธารณรัฐแอฟริกากลาง อิเควทอเรียลกินี กาบอง สาธารณรัฐคองโก และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก โดยมีจำนวนประมาณ 140,000 ตัวในป่า[20]
- ชิมแปนซีตะวันตก (P. troglodytes verus) พบในโกตดิวัวร์ กินี ไลบีเรีย มาลี เซียร์ราลีโอน กินี-บิสเซา เซเนกัล และกานา โดยมีประมาณ 52,800 ตัว[21][22]
- ชิมแปนซีไนจีเรีย-แคเมอรูน (P. troglodytes ellioti (มีอีกชื่อว่า P. t. vellerosus))[17] อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าของไนจีเรียและแคเมอรูน โดยมี 6000–9000 ตัว[23][24]
- ชิมแปนซีตะวันออก (P. troglodytes schweinfurthii) พบในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ซูดานใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ยูกันดา รวันดา บุรุนดี แทนซาเนีย และแซมเบีย โดยมีประมาณ 180,000–256,000 ตัวในป่า[25]
- ชิมแปนซีตะวันออกเฉียงใต้, P. troglodytes marungensis, พบในบุรุนดี รวันดา แทนซาเนีย และยูกันดา โคลิน โกรฟส์โต้แย้งว่าชิมแปนซีนี้เป็นชนิดย่อยจากการแปรผันทางพันธุกรรมมากพอในประชากร P. t. schweinfurthii ตอนเหนือและตอนใต้[19] แต่ทาง IUCN ยังไม่รับรอง[2]
จีโนม
[แก้]ร่างจีโนมชิมแปนซีได้รับการตีพิมพ์ใน ค.ศ. 2005 และเข้ารหัสโปรตีน 18,759 ตัว[26][27] (เทียบกับโปรติโอมในมนุษย์ 20,383 ตัว)[28] ลำดับดีเอ็นเอของมนุษย์และชิมแปนซีมีความคล้ายคลึงกันมาก และความแตกต่างของจำนวนโปรตีนส่วนใหญ่เกิดจากลำดับที่ไม่สมบูรณ์ในจีโนมชิมแปนซี ทั้งสองสายพันธุ์มีความแตกต่างกันในด้านการเปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์เดี่ยวประมาณ 35 ล้านตัว เหตุการณ์การแทรก/ลบ 5 ล้านครั้ง และการจัดเรียงโครโมโซมที่แตกต่างกันหลายครั้ง[29] โปรตีนที่เหมือนกันของมนุษย์และชิมแปนซีโดยทั่วไปมีความแตกต่างกันเพียงกรดอะมิโน 2 ตัวเท่านั้น โปรตีนของมนุษย์ทั้งหมดประมาณร้อยละ 30 มีลำดับที่เหมือนกันกับโปรตีนของชิมแปนซี ส่วนเล็ก ๆ ของโครโมโซมที่เพิ่มขึ้น (duplication) เป็นแหล่งความแตกต่างหลักระหว่างสารทางพันธุกรรมของมนุษย์กับของชิมแปนซี อธิบายคือจีโนมปัจจุบันประมาณ 2.7% ของมนุษย์กับของชิมแปนซีต่างกัน โดยเกิดจากยีนที่เพิ่มขึ้น (duplication) หรือที่หลุดหาย (deletion) นับตั้งแต่มนุษย์และชิมแปนซีแยกตัวออกจากบรรพบุรุษร่วมกัน[26][29]
ลักษณะ
[แก้]ชิมแปนซีวัยผู้ใหญ่มีความสูงขณะยืนเฉลี่ย 150 ซm (4 ft 11 in)[30] โดยชิมแปนซีวัยผู้ใหญ่ในป่ามีน้ำหนักประมาณ 40 และ 70 kg (88 และ 154 lb)[31][32][33] ส่วนเพศเมียมีน้ำหนักระหว่าง 27 และ 50 kg (60 และ 110 lb)[34] ในกรณีพิเศษ ชิมแปนซีบางตัวอาจมีขนาดเกินกว่าหน่วยวัดนี้มาก โดยมีความสูงขณะยืนด้วยขาสองข้างมากกว่า 168 ซm (5 ft 6 in) และมีน้ำหนักถึง 136 kg (300 lb) เมื่ออยู่ในที่คุมขัง[a]
นิเวศวิทยา
[แก้]ภาวะการตายและสุขภาพ
[แก้]อายุขัยเฉลี่ยเฉลี่ยของชิมแปนซีในป่าค่อนข้างสั้น ปกติจะอายุไม่เกิน 15 ปี แต่ชิมแปนซีที่มีอายุถึง 12 ปีอาจมีอายุยืนยาวกว่านั้นอีก 15 ปี ในบางกรณี ชิมแปนซีในป่าอาจมีชีวิตเกือบ 60 ปี ชิมแปนซีในกรงขังมักมีอายุยืนยาวกว่าชิมแปนซีป่า โดยเพศผู้มีอายุเฉลี่ย 31.7 ปี ส่วนเพศเมียอยู่ที่ 38.7 ปี[37] ชิมแปนซีเพศผู้ในกรงขังที่แก่ที่สุดเท่าที่มีอายุบันทึกมีอายุถึง 66 ปี[38] ส่วนเพศเมียที่แก่ที่สุดคือลิตเติลมามา มีอายุเกือบ 80 ปี[39]
การกระจายพันธุ์และพฤติกรรม
[แก้]ชิมแปนซีกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา ทางแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก อาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัว มีความสัมพันธ์กันแบบเครือญาติ โดยมีจ่าฝูงเป็นตัวผู้เพียงตัวเดียว หากินบนพื้นดินมากกว่าต้นไม้ โดยหากินในเวลากลางวัน ซึ่งอาหารได้แก่ ผลไม้และใบไม้ต่าง ๆ รวมถึงสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ เช่น แมลง เป็นต้น ซึ่งชิมแปนซีมีพฤติกรรมที่จะประดิษฐ์เครื่องมือต่าง ๆ ในการหาอาหารเช่นเดียวกับมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์[40] ชิมแปนซีมีเสียงร้องอย่างหลากหลาย จากการศึกษาพบว่าร้องได้ถึง 32 แบบ โดยถือเป็นภาษาสำหรับการสื่อสารระหว่างกัน[41] สามารถเดินตรงได้แต่นิ้วเท้าจะหันไปข้างนอก เวลาเดินตัวจะเอนไปข้างหน้า แขนตรง และวางข้อมือลงบนพื้น นานๆ ครั้งจะเดิน 2 เท้าแบบมนุษย์ ซึ่งในการเดินแบบนี้ ชิมแปนซีจะเอามือไว้ข้างหลังเพื่อช่วยในการทรงตัว หรือชูมือทั้ง 2 ข้างขึ้นสูง [42] ชิมแปนซีมีความจำดีมาก มีอารมณ์ความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์ มีความฉลาดกว่าอุรังอุตังและกอริลล่า ซึ่งเป็นลิงไม่มีหางเช่นเดียวกัน[42] สถาบันวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มหาวิทยาลัยเกียวโตของญี่ปุ่นระบุว่า ลูกชิมแปนซีมีความจำดีกว่ามนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่เสียอีก [43] ชิมแปนซีตัวผู้ในวัยเจริญพันธุ์แล้ว ในธรรมชาติจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว บางครั้งจะยกพวกเข้าตีกันและอาจถึงขั้นฆ่ากันตายได้ ซึ่งเคยมีกรณีที่เข้าโจมตีใส่มนุษย์ให้ถึงแก่บาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตมาแล้ว รวมถึงมีการรวมตัวกันเพื่อล่าลิงโลกเก่าบางชนิด เช่น ลิงโคโลบัส กินเป็นอาหาร โดยจะแจกจ่ายให้ชิมแปนซีตัวผู้ได้กินก่อน ขณะที่ตัวเมียก็จะได้รับส่วนแบ่งด้วย ลูกชิมแปนซีในช่วง 3 ขวบปีแรก ที่ก้นจะมีกระจุกขนสีขาวเป็นเครื่องหมายบอกถึงวุฒิภาวะที่ยังไม่สมบูรณ์ หากทำอะไรผิด จะได้รับการละเว้นโทษ จนกระทั่งถึงอายุเลย 3 ขวบ จึงจะเริ่มเข้าสู่กฏเกณฑ์ในฝูง เช่นเดียวกับมนุษย์ ตามกฎหมายก็มีบทยกเว้นโทษให้แก่เด็กด้วย[44][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
สติปัญญา
[แก้]ชิมแปนซีแสดงสัญญาณด้านสติปัญญาหลายประการ เช่น ความสามารถในการจดจำสัญลักษณ์[45] จนถึงความร่วมมือ[46] การใช้อุปกรณ์[47] และความสามารถด้านภาษาหลายแบบ[48] พวกมันเป็นหนึ่งในสัตว์หลายชนิดที่ผ่านการทดสอบกระจก ซึ่งเสนอแนะถึงการตระหนักรู้ตนเอง[49] ในงานวิจัยหนึ่ง ชิมแปนซีวัยหนุ่มสองตัวแสดงให้เห็นถึงการรับรู้ตนเองในกระจกได้หลังไม่ได้ส่องกระจกเป็นเวลาหนึ่งปี[50] ชิมแปนซีใช้แมลงในการรักษาบาดแผลของตนเองและตัวอื่น โดยจะจับแมลงแล้วนำมาทาบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บโดยตรง[51] ชิมแปนซียังแสดงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มต่าง ๆ โดยมีการเรียนรู้และถ่ายทอดการดูแล การใช้เครื่องมือ และเทคนิคการหาอาหารที่ต่างกัน นำไปสู่ประเพณีท้องถิ่น[52]
การอนุรักษ์
[แก้]ชิมแปนซีถูกจัดให้เป็นชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ของบัญชีแดงไอยูซีเอ็น โดยได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายในพื้นที่ส่วนใหญ่และพบทั้งในและนอกอุทยานแห่งชาติ คาดว่ามีชิมแปนซีในป่าระหว่าง 172,700 ถึง 299,700 ตัว[2] ซึ่งลดลงจากชิมแปนซีประมาณล้านตัวในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1900[53] ชิมแปนซีได้รับการจัดเข้าในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 1[3]
ภัยที่ใหญ่ที่สุดของชิมแปนซีคือการทำลายที่อยู่อาศัย การบุกรุกเข้าไปล่าสัตว์ และโรค[2]
โรคติดเชื้อเป็นสาเหตุหลักในการตายของชิมแปนซี ชิมแปนซีมักเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ มากมายที่มนุษย์เป็นกัน เนื่องจากทั้งสองสายพันธุ์นี้มีความคล้ายคลึงกันมาก เมื่อประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงในการแพร่โรคระหว่างมนุษย์กับชิมแปนซีก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย[2]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ McBrearty, S.; Jablonski, N. G. (2005). "First fossil chimpanzee". Nature. 437 (7055): 105–108. Bibcode:2005Natur.437..105M. doi:10.1038/nature04008. ISSN 0028-0836. PMID 16136135. S2CID 4423286.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Humle, T.; Maisels, F.; Oates, J. F.; Plumptre, A.; Williamson, E. A. (2018) [errata version of 2016 assessment]. "Pan troglodytes". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T15933A129038584. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-2.RLTS.T15933A17964454.en. สืบค้นเมื่อ 8 August 2021.
- ↑ 3.0 3.1 "Appendices | CITES". cites.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2017. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
- ↑ "chimpanzee". Dictionary.reference.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2019. สืบค้นเมื่อ 18 May 2019.
- ↑ "chimpanzee". American Heritage Dictionary (5th ed.). Houghton Mifflin Harcourt Publishing Company. 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2018. สืบค้นเมื่อ 31 August 2018.
- ↑ "chimpanzee". Online Etymology Dictionary. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2019. สืบค้นเมื่อ 31 August 2018.
- ↑ Hastrup, Kirsten, บ.ก. (2013). Anthropology and Nature. Taylor & Francis. p. 168. ISBN 9781134463213.
- ↑ "chimp definition | Dictionary.com". Dictionary.reference.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 6 June 2009.
- ↑ 9.0 9.1 Corbey, R. (2005). The Metaphysics of Apes: Negotiating the Animal-Human Boundary. Cambridge University Press. pp. 42–51. ISBN 978-0-521-83683-8.
- ↑ 10.0 10.1 Stanford, C. (2018). The New Chimpanzee, A Twenty-First-Century Portrait of Our Closest Kin. Harvard University Press. p. 176. ISBN 978-0-674-97711-2.
- ↑ van Wyhe, J.; Kjærgaard, P. C. (2015). "Going the whole orang: Darwin, Wallace and the natural history of orangutans". Studies in History and Philosophy of Science Part C: Studies in History and Philosophy of Biological and Biomedical Sciences. 51: 53–63. doi:10.1016/j.shpsc.2015.02.006. PMID 25861859.
- ↑ Jones, C.; Jones, C. A.; Jones, K.; Wilson, D. E. (1996). "Pan troglodytes". Mammalian Species (529): 1–9. doi:10.2307/3504299. JSTOR 3504299.
- ↑ McBrearty, S.; Jablonski, N. G. (September 2005). "First fossil chimpanzee". Nature. 437 (7055): 105–8. Bibcode:2005Natur.437..105M. doi:10.1038/nature04008. PMID 16136135. S2CID 4423286.
- ↑ Staff (5 May 2017). "Bonobos May Resemble Humans More Than You Think - A GW researcher examined a great ape species' muscles and found they are more closely related to humans than common chimpanzees". George Washington University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2023. สืบค้นเมื่อ 14 April 2023.
- ↑ Diogo, Rui; Molnar, Julia L.; Wood, Bernard (2017). "Bonobo anatomy reveals stasis and mosaicism in chimpanzee evolution, and supports bonobos as the most appropriate extant model for the common ancestor of chimpanzees and humans". Scientific Reports. 7 (608): 608. Bibcode:2017NatSR...7..608D. doi:10.1038/s41598-017-00548-3. PMC 5428693. PMID 28377592.
- ↑ 16.0 16.1 de Manuel, M.; Kuhlwilm, M.; P., Frandsen; และคณะ (October 2016). "Chimpanzee genomic diversity reveals ancient admixture with bonobos". Science. 354 (6311): 477–481. Bibcode:2016Sci...354..477D. doi:10.1126/science.aag2602. PMC 5546212. PMID 27789843.
- ↑ 17.0 17.1 Groves, C. P. (2001). Primate Taxonomy. Washington, DC: Smithsonian Institution Press. pp. 303–307. ISBN 978-1-56098-872-4.
- ↑ Hof, J.; Sommer, V. (2010). Apes Like Us: Portraits of a Kinship. Mannheim: Panorama. p. 114. ISBN 978-3-89823-435-1.
- ↑ 19.0 19.1 Groves, C. P. (2005). "Geographic variation within eastern chimpanzees (Pan troglodytes cf. schweinfurthii Giglioli, 1872)". Australasian Primatology. 17: 19–46.
- ↑ Maisels, F.; Strindberg, S.; Greer, D.; Jeffery, K. J.; Morgan, D.; Sanz, C. (2016) [errata version of 2016 assessment]. "Pan troglodytes ssp. troglodytes". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T15936A102332276. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-2.RLTS.T15936A17990042.en. สืบค้นเมื่อ 27 August 2021.
- ↑ Heinicke, S.; Mundry, R.; Boesch, C.; Amarasekaran, B.; Barrie, A.; Brncic, T.; Brugière, D.; Campbell, G.; Carvalho, J.; Danquah, E.; Dowd, D. (2019). "Advancing conservation planning for western chimpanzees using IUCN SSC A.P.E.S.—the case of a taxon-specific database". Environmental Research Letters. 14 (6): 064001. Bibcode:2019ERL....14f4001H. doi:10.1088/1748-9326/ab1379. hdl:1893/29775. ISSN 1748-9326. S2CID 159049588.
- ↑ Humle, T.; Boesch, C.; Campbell, G.; Junker, J.; Koops, K.; Kuehl, H.; Sop, T. (2016) [errata version of 2016 assessment]. "Pan troglodytes ssp. verus". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T15935A102327574. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-2.RLTS.T15935A17989872.en. สืบค้นเมื่อ 27 August 2021.
- ↑ Morgan, Bethan J.; Adeleke, Alade; Bassey, Tony; Bergl, Richard (22 February 2011). "Regional action plan for the conservation of the Nigeria-Cameroon chimpanzee (Pan troglodytes ellioti)" (PDF). IUCN (ภาษาอังกฤษ). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2021. สืบค้นเมื่อ 9 February 2021.
- ↑ Oates, J. F.; Doumbe, O.; Dunn, A.; Gonder, M. K.; Ikemeh, R.; Imong, I.; Morgan, B. J.; Ogunjemite, B.; Sommer, V. (2016). "Pan troglodytes ssp. ellioti". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T40014A17990330. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-2.RLTS.T40014A17990330.en. สืบค้นเมื่อ 27 August 2021.
- ↑ Plumptre, A.; Hart, J. A.; Hicks, T. C.; Nixon, S.; Piel, A. K.; Pintea, L. (2016). "Pan troglodytes ssp. schweinfurthii". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T15937A17990187. สืบค้นเมื่อ 27 August 2021.
- ↑ 26.0 26.1 Chimpanzee Sequencing and Analysis Consortium (September 2005). "Initial sequence of the chimpanzee genome and comparison with the human genome". Nature. 437 (7055): 69–87. Bibcode:2005Natur.437...69.. doi:10.1038/nature04072. PMID 16136131.
- ↑ "UniProt". www.uniprot.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
- ↑ "UniProt". www.uniprot.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
- ↑ 29.0 29.1 Cheng, Z.; และคณะ (September 2005). "A genome-wide comparison of recent chimpanzee and human segmental duplications". Nature. 437 (7055): 88–93. Bibcode:2005Natur.437...88C. doi:10.1038/nature04000. PMID 16136132. S2CID 4420359.
- ↑ Braccini, E. (2010). "Bipedal tool use strengthens chimpanzee hand preferences". Journal of Human Evolution. 58 (3): 234–241. Bibcode:2010JHumE..58..234B. doi:10.1016/j.jhevol.2009.11.008. PMC 4675323. PMID 20089294.
- ↑ Levi, M. (1994). "Inhibition of endotoxin-induced activation of coagulation and fibrinolysis by pentoxifylline or by a monoclonal anti-tissue factor antibody in chimpanzees". The Journal of Clinical Investigation. 93 (1): 114–120. doi:10.1172/JCI116934. PMC 293743. PMID 8282778.
- ↑ Lewis, J. C. M. (1993). "Medetomidine-ketamine anaesthesia in the chimpanzee (Pan troglodytes)". Journal of Veterinary Anaesthesia. 20: 18–20. doi:10.1111/j.1467-2995.1993.tb00103.x.
- ↑ Smith, R. J.; Jungers, W. L. (1997). "Body mass in comparative primatology". Journal of Human Evolution. 32 (6): 523–559. Bibcode:1997JHumE..32..523S. doi:10.1006/jhev.1996.0122. PMID 9210017.
- ↑ Jankowski, C. (2009). Jane Goodall: Primatologist and Animal Activist. Mankato, MN, US: Compass Point Books. p. 14. ISBN 978-0-7565-4054-8. OCLC 244481732.
- ↑ Gedert, R. L. (4 April 1991). "Researchers treat chimps like children". The Lantern. p. 9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2022. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ Taylor, H.; Cropper, J. (6 March 2006). "Recounting dead OSU chimp's last day". The Lantern. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2021. สืบค้นเมื่อ 21 December 2020.
- ↑ Mulchay, J. B. (8 March 2013). "How long do chimpanzees live?". Chimpanzee Sanctuary Northwest. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2019. สืบค้นเมื่อ 28 March 2019.
- ↑ "Africa's oldest chimp, a conservation icon, dies". Discovery News. 24 December 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2008. สืบค้นเมื่อ 24 October 2020.
- ↑ Goodall, J. (27 November 2017). "Sad loss of Little Mama, one of the oldest chimps". janegoodall.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2021. สืบค้นเมื่อ 22 July 2021.
- ↑ "โลกใบใหญ่ / โบราณชีววิทยา : ข้อถกเถียงเรื่องมนุษย์แคระยังไม่ยุติ จากสารคดี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-27. สืบค้นเมื่อ 2012-10-19.
- ↑ หน้า 176, สัตว์สวยป่างาม (สิงหาคม, 2518) โดย ชมรมนิเวศวิทยามหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ 42.0 42.1 "ชิมแปนซี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-09. สืบค้นเมื่อ 2007-12-05.
- ↑ "อึ้ง! ผลวิจัยชี้ลูกชิมแปนซีมีความจำดีกว่ามนุษย์ จากผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-14. สืบค้นเมื่อ 2007-12-05.
- ↑ Mutant Planet: African Rift Valley Lakes, "Mutant Planet". สารคดีทางอนิมอลพนาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: อาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556
- ↑ Matsuzawa, T. (2009). "Symbolic representation of number in chimpanzees". Current Opinion in Neurobiology. 19 (1): 92–98. doi:10.1016/j.conb.2009.04.007. PMID 19447029. S2CID 14799654.
- ↑ Melis, A. P.; Hare, B.; Tomasello, M. (2006). "Chimpanzees recruit the best collaborators". Science. 311 (5765): 1297–1300. Bibcode:2006Sci...311.1297M. doi:10.1126/science.1123007. PMID 16513985. S2CID 9219039.
- ↑ Boesch, C.; Boesch, H. (1993). "Diversity of tool use and tool-making in wild chimpanzees". ใน Berthelet, A.; Chavaillon, J. (บ.ก.). The Use of Tools by Human and Non-human Primates. Oxford, UK: Oxford University Press. pp. 158–87. ISBN 978-0-19-852263-8.
- ↑ "Language of bonobos". Great Ape Trust. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2004. สืบค้นเมื่อ 16 January 2012.
- ↑ Povinelli, D.; de Veer, M.; Gallup Jr., G.; Theall, L.; van den Bos, R. (2003). "An 8-year longitudinal study of mirror self-recognition in chimpanzees (Pan troglodytes)". Neuropsychologia. 41 (2): 229–334. doi:10.1016/S0028-3932(02)00153-7. PMID 12459221. S2CID 9400080.
- ↑ Calhoun, S. & Thompson, R. L. (1988). "Long-term retention of self-recognition by chimpanzees". American Journal of Primatology. 15 (4): 361–365. doi:10.1002/ajp.1350150409. PMID 31968884. S2CID 84381806.
- ↑ Mascaro, A.; Southern, L. M.; Deschner, T.; Pika, S. (2022). "Application of insects to wounds of self and others by chimpanzees in the wild". Current Biology. 32 (3): R112–R113. Bibcode:2022CBio...32.R112M. doi:10.1016/j.cub.2021.12.045. PMID 35134354. S2CID 246638843.
- ↑ Whiten, A.; Spiteri, A.; Horner, V.; Bonnie, K. E.; Lambeth, S. P.; Schapiro, S. J.; de Waal, F. B. M. (2007). "Transmission of multiple traditions within and between chimpanzee groups". Current Biology. 17 (12): 1038–1043. Bibcode:2007CBio...17.1038W. doi:10.1016/j.cub.2007.05.031. PMID 17555968. S2CID 1236151.
- ↑ St. Fleur, N. (12 June 2015). "U.S. will call all chimps 'endangered'". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-01. สืบค้นเมื่อ 13 June 2015.
บรรณานุกรม
[แก้]- Goodall, J. (1986). The Chimpanzees of Gombe: Patterns of Behavior. The Belknap Press of Harvard University Press. ISBN 978-0-674-11649-8.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- DiscoverChimpanzees.org
- Chimpanzee Genome resources
- Primate Info Net Pan troglodytes Factsheets เก็บถาวร 13 มกราคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- U.S. Fish & Wildlife Service Species Profile
- View the Pan troglodytes genome in Ensembl
- Genome of Pan troglodytes (version Clint_PTRv2/panTro6), via UCSC Genome Browser
- Data of the genome of Pan troglodytes, via NCBI
- Data of the genome assembly of Pan troglodytes Clint_PTRv2/panTro6, via NCBI
- Human Timeline (Interactive) – Smithsonian, National Museum of Natural History (August 2016).