ข้ามไปเนื้อหา

ราชวงศ์อุมัยยะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์อุมัยยะฮ์
พระราชอิสริยยศเคาะลีฟะฮ์ (รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์)
เอมีร์ (เอมิเรตแห่งกอร์โดบา)
เคาะลีฟะฮ์ (รัฐเคาะลีฟะฮ์กุรฏุบะ)
ปกครองรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
(661–750)
อัลอันดะลุส (สเปนสมัยอิสลาม)
(756–1031)
ประมุขพระองค์แรกมุอาวิยะฮ์ที่ 1
สถาปนาค.ศ. 661

ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ (อาหรับ: بَنُو أُمَيَّةَ, อักษรโรมัน: Banū Umayya) หรือ อัลอุมะวียูน (อาหรับ: الأمويون, อักษรโรมัน: al-Umawiyyūn) เป็นตระกูลผู้ปกครองรัฐเคาะลีฟะฮ์ในช่วง ค.ศ. 661 ถึง 750 และภายหลังในอัลอันดะลุสในช่วง ค.ศ. 756 ถึง 1031 ในสมัยก่อนอิสลาม ตระกูลนี้ถือเป็นตระกูลเด่นของเผ่ากุร็อยช์แห่งมักกะฮ์ ซึ่งสืบเชื้อสายจากอุมัยยะฮ์ อิบน์ อับด์ชัมส์ แม้ว่าในช่วงแรกจะต่อต้านศาสดามุฮัมมัดอย่างมาก แต่ภายหลังหันมาเข้ารับอิสลามก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตใน ค.ศ. 632 อุษมาน ผู้ติดตามช่วงแรกของมุฮัมมัดจากตระกูลอุมัยยะฮ์ เป็นเคาะลีฟะฮ์รอชิดีนองค์ที่ 3 ซึ่งครองราชย์ใน ค.ศ. 644–656 ในขณะที่สมาชิกอื่น ๆ ในตระกูลดำรงตำแหน่งผู้ว่าการหลายตำแหน่ง หนึ่งในนั้นคือมุอาวิยะฮ์ที่ 1 แห่งซีเรีย ผู้มีควาทเห็นต่างในบางเรื่องกับเคาะลีฟะฮ์อะลีในสงครามกลางเมืองมุสลิมครั้งที่หนึ่ง (656–661) และหลังจากนั้นได้จัดตั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ โดยมีดามัสกัสเป็นเมืองหลวง นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ราชวงศ์แบบสืบสันตติวงศ์ราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์อิสลาม และเป็นราชวงศ์เดียวที่ปกครองโลกอิสลามทั้งหมดในเวลานั้น

มีการท้าทายอำนาจราชวงศ์อุมัยยะฮ์ในสงครามกลางเมืองมุสลิมครั้งที่สอง ซึ่งจบลงที่สายซุฟยานถูกแทนที่โดยมัรวานที่ 1 ผู้ก่อตั้งสายมัรวานใน ค.ศ. 684 ซึ่งฟื้นฟูการปกครองของราชวงศ์ต่อ ฝ่ายอุมัยยะฮ์นำทางสู่การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม โดยพิชิตแอฟริกาเหนือ, ฮิสเปเนีย, เอเชียกลาง และแคว้นสินธ์ แต่การทำสงครามอย่างต่อเนื่องทำให้ทรัพยากรทางทหารของรัฐหมดไป ในขณะที่การก่อกบฏของตระกูลอะลีกับเคาะวาริจญ์และการชิงดีชิงเด่นระหว่างชนเผ่าทำให้รัฐอ่อนแอจากภายใน ท้ายที่สุด ใน ค.ศ. 750 ฝ่ายอับบาซียะฮ์โค่นล้มเคาะลีฟะฮ์มัรวานที่ 2 และสังหารเชื้อพระองค์ส่วนใหญ่ โดยอับดุรเราะห์มาน หนึ่งในผู้รอดชีวิต ผู้มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในเคาะลีฟะฮ์ ฮิชาม อิบน์ อับดุลมะลิก อพยพหนีไปยังสเปนของมุสลิม โดยพระองค์จัดตั้งเอมิเรตแห่งกอร์โดบา ซึ่งภายหลังอับดุรเราะห์มานที่ 3 ยกสถานะเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ใน ค.ศ. 929 หลังผ่านยุคทองในช่วงสั้น ๆ รัฐเคาะลีฟะฮ์กุรฏุบะจึงแตกออกเป็นอาณาจักร ฏออิฟะฮ์ อิสระหลายอาณาจักรใน ค.ศ. 1031 ทำให้อำนาจทางการเมืองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์สิ้นสุดลง

ประวัติ

[แก้]

ต้นกำเนิดก่อนอิสลาม

[แก้]

ตระกูลอุมัยยะฮ์ หรือบะนูอุมัยยะฮ์ เป็นตระกูลของของเผ่ากุร็อยช์ที่ปกครองมักกะฮ์ในสมัยก่อนอิสลาม[1] เผ่ากุร็อยช์ได้รับเกียรติในกลุ่มชนเผ่าอาหรับผ่านการคุ้มครองและการบำรุงรักษากะอ์บะฮ์ ณ เวลานั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวอาหรับที่มีความเชื่อแบบพหุเทวนิยมส่วนใหญ่ทั่วคาบสมุทรอาหรับ[1] อับด์มะนาฟ อิบน์ กุศ็อย ผู้นำกุร็อยช์ที่น่าจะมีชีวิตในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5 (ตามบันทึกในธรรมเนียมลำดับวงศ์ตระกูล) ทำหน้าที่บำรุงรักษาและป้องกันกะอ์บะฮ์กับผู้แสวงบุญ[2] ภายหลังมีการยกสถานะนี้ให้กับอับด์ชัมส์, ฮาชิม และคนอื่น ๆ[2] อับด์ชัมส์เป็นบิดาของอุมัยยะฮ์ บรรพบุรุษของตระกูลอุมัยยะฮ์[3]

อุมัยยะฮ์สืบทอดตำแหน่งกออิด (ผู้บัญชาการในช่วงสงคราม) แห่งมักกะฮ์ต่อจากอับด์ชัมส์[4] ตำแหน่งนี้น่าจะเป็นตำแหน่งทางการเมืองเป็นครั้งคราว โดยผู้ถือครองทำหน้าที่คุมทิศทางกิจการทางทหารของมักกะฮ์ในยามสงคราม แทนที่จะเป็นกองบัญชาการภาคสนามจริง ๆ[4] ประสบการณ์ในการเป็นผู้นำทางทหารในช่วงต้นนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นประโยชน์ เนื่องจากตระกูลอุมัยยะฮ์ภายหลังเป็นที่รู้จักจากการมีทักษะในการจัดองค์กรทางการเมืองและการทหารอย่างมาก[4] Giorgio Levi Della Vida นักประวัติศาสตร์ กล่าวแนะว่าข้อมูลภาษาอาหรับยุคแรกเกี่ยวกับอุมัยยะฮ์ กับบรรพบุรุษสมัยโบราณของชนเผ่าอาหรับ "ได้รับการยอมรับด้วยความระมัดระวัง"[3] เขายืนยันว่า เนื่องจากตระกูลอุมัยยะฮ์ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์อิสลามเมื่อช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 เป็นลูกหลานของอุมัยยะฮ์ไม่เกิน 3 รุ่น ทำให้การมีตัวตนของลูกหลานมีความเป็นไปได้สูง[3]

เมื่อประมาณ ค.ศ. 600 เผ่ากุร็อยช์ได้พัฒนาเครือข่ายการค้าข้ามคาบสมุทรอาหรับ โดยจัดคาราวาทไปทางเหนือที่ซีเรีย และทางใต้ที่เยเมน[1] บะนูอุมัยยะฮ์กับบะนูมัคซูม ตระกูลสำคัญของกุร็อยช์อีกตระกูล เป็นผู้กุมเครือข่ายการค้านี้ ทั้งสองคระกูลำด้พัฒนาพันธมิตรทางเศรษฐกิจและการทหารกับชนเผ่าอาหรับร่อนเร่ที่ควบคุมทะเลทรายอาหรับที่กว้างใหญ่ทางเหนือและตอนกลาง ทำให้พวกเขามีอำนาจทางการเมืองในอาระเบีย[5]

ต่อต้านและเข้ารับอิสลาม

[แก้]

เมื่อศาสดามุฮัมมัดจากบะนูฮาชิมเริ่มเผยแผ่ศาสนาในมักกะฮ์ สมาชิกเผ่ากุร็อยช์ส่วนใหญ่ปฏิเสธท่าน[6][7] ท่านได้รับการสนับสนุนจากผู้อยู่อาศัยในมะดีนะฮ์ และย้ายไปที่นั่นกับผู้ติดตามใน ค.ศ. 622[8] ลูกหลานของอับด์ชัมส์ (รวมตระกูลอุมัยยะฮ์) อยู่ในกลุ่มผู้นำหลักของฝ่ายกุร็อยช์ที่ต่อต้านมุฮัมมัด[9] ตระกูลอุมัยยะฮ์เข้ามาแทนที่บะนูมัคซูมที่นำโดยอะบูญะฮัล ซึ่งเป็นผลจากการสูญเสียอย่างหนักจากการสู้รบในยุทธการที่บะดัรที่นำโดยผู้นำของบะนูมัคซูมต่อชาวมุสลิมใน ค.ศ. 624[10] ภายหลัง อะบูซุฟยาน หัวหน้าตระกูลอุมัยยะฮ์ กลายเป็นผู้นำกองทัพมักกะฮ์ที่สู้รบต่อมุสลิมภายใต้การบัญชาของมุฮัมมัดที่อุฮุดกับสนามเพลาะ[9]

หลังการพิชิตมักกะฮ์ของมุสลิม อะบูซุฟยานกับบรรดาลูกชาย และสมาชิกตระกูลอุมัยยะฮ์ส่วนใหญ่ หันมาเข้ารับอิสลามในช่วงปลายชีวิตขิงมุฮัมมัด[9]เพื่อรักษาความจงรักภักดีของผู้นำอุมัยยะฮ์ที่มีชื่อเสียง (รวมถึงอะบูซุฟยาน) มุฮัมมัดมอบของขวัญและตำแหน่งสำคัญในรัฐมุสลิมที่เพิ่งเกิดใหม่แก่พวกเขา[9] ท่านแต่งตั้งให้อัตตาบ อิบน์ อะซีด สมาชิกตระกูลอุมัยยะฮ์อีกคน เป็นผู้ว่าการมักกะฮ์คนแรก[11] ถึงแม้ว่ามักกะฮ์จะรักษาความยิ่งใหญ่ในฐานะศูนย์กลางทางศาสนา แต่มะดีนะฮ์ยังคงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการเมืองของมุสลิม อะบูซุฟยานกับบะนูอุมัยยะฮ์ย้ายไปยังมะดีนะฮ์เพื่อรักษาอิทธิพลทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นของพวกเขา[12]

รายพระนามผู้ปกครอง

[แก้]

เคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ฐานซีเรีย

[แก้]
รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
เคาะลีฟะฮ์ ครองราชย์
มุอาวิยะฮ์ที่ 1 อิบน์ อะบีซุฟยาน 28 กรกฎาคม 661 – 27 เมษายน 680
ยะซีดที่ 1 อิบน์ มุอาวิยะฮ์ 27 เมษายน 680 – 11 พฤศจิกายน 683
มุอาวิยะฮ์ที่ 2 อิบน์ ยะซีด 11 พฤศจิกายน 683 – มิถุนายน 684
มัรวานที่ 1 อิบน์ อัลฮะกัม มิถุนายน 684 – 12 เมษายน 685
อับดุลมะลิก อิบน์ มัรวาน 12 เมษายน 685 – 8 ตุลาคม 705
อัลวะลีดที่ 1 อิบน์ อับดุลมะลิก 8 ตุลาคม 705 – 23 กุมภาพันธ์ 715
สุลัยมาน อิบน์ อับดุลมะลิก 23 กุมภาพันธ์ 715 – 22 กันยายน 717
อุมัร อิบน์ อับดุลอะซีซ 22 กันยายน 717 – 4 กุมภาพันธ์ 720
ยะซีดที่ 2 อิบน์ อับดุลมะลิก 4 กุมภาพันธ์ 720 – 26 มกราคม 724
ฮิชาม อิบน์ อับดุลมะลิก 26 มกราคม 724 – 6 กุมภาพันธ์ 743
อัลวะลีดที่ 2 อิบน์ ยะซีด 6 กุมภาพันธ์ 743 – 17 เมษายน 744
ยะซีดที่ 3 อิบน์ อัลวะลีด 17 เมษายน 744 – 4 ตุลาคม 744
อิบรอฮีม อิบน์ อัลวะลีด 4 ตุลาคม 744 – 4 ธันวาคม 744
มัรวานที่ 2 อิบน์ มุฮัมมัด 4 ธันวาคม 744 – 25 มกราคม 750
ราชวงศ์สิ้นสุดหลังถูกโค่นล้มโดยฝ่ายอับบาซียะฮ์

เอมีร์และเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์แห่งกอร์โดบา

[แก้]
ผู้ปกครองอัลอันดะลุส
เอมิเรตแห่งกอร์โดบา
เอมีร์ ครองราชย์
อับดุรเราะห์มานที่ 1 อิบน์ มุอาวิยะฮ์ อัลอุมะวี 15 พฤษภาคม 756 – 30 กันยายน 788
ฮิชามที่ 1 อิบน์ อับดุรเราะห์มาน อัลอุมะวี 6 ตุลาคม 788 – 16 เมษายน 796
อัลฮะกัมที่ 1 อิบน์ ฮิชาม อัลอุมะวี 12 มิถุนายน 796 – 21 พฤษภาคม 822
อับดุรเราะห์มานที่ 2 อิบน์ อัลฮะกัม อัลอุมะวี 21 พฤษภาคม 822 – 852
มุฮัมมัดที่ 1 อิบน์ อับดุรเราะห์มาน อัลอุมะวี 852 – 886
อัลมุนษิร อิบน์ มุฮัมมัด อัลอุมะวี 886 – 888
อับกุลลอฮ์ อิบน์ มุฮัมมัด อัลอุมะวี 888 — 15 ตุลาคม 912
อับดุรเราะห์มานที่ 3 อิบน์ มุฮัมมัด อัลอุมะวี 16 ตุลาคม 912 – 16 มกราคม 929
เปลี่ยนชื่อหลังอับดุรเราะห์มานที่ 3 ประกาศตนเองเป็นเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา
รัฐเคาะลีฟะฮ์กุรฏุบะ
เคาะลีฟะฮ์ ครองราชย์
อับดุรเราะห์มานที่ 3 อันนาศิร ลิดีนิลลาฮ์ 16 มกราคม 929 – 15 ตุลาคม 961
อัลฮะกัมที่ 2 อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์ 15 ตุลาคม 961 – 16 ตุลาคม 976
ฮิชามที่ 2 อัลมุอัยยัด บิลลาฮ์ 16 ตุลาคม 976 – 1009
มุฮัมมัดที่ 2 อัลมะฮ์ดี บิลลาฮ์ 1009
สุลัยมาน อัลมุสตะอีน บิลลาฮ์ 1009 – 1010
ฮิชามที่ 2 อัลมุอัยยัด บิลลาฮ์ 1010 – 19 เมษายน 1013
สุลัยมาน อัลมุสตะอีน บิลลาฮ์ 1013 – 1016
อับดุรเราะห์มานที่ 4 อัลมุรตะฎอ บิลลาฮ์ 1017
ราชวงศ์สิ้นสุดโดยราชวงศ์ฮัมมูด (1017–1023)
รัฐเคาะลีฟะฮ์กุรฏุบะ (ฟื้นฟู)
อับดุรเราะห์มานที่ 5 อัลมุสตัซฮิร บิลลาฮ์ 1023 – 1024
มุฮัมมัดที่ 3 อัลมุสตักฟี บิลลาฮ์ 1024 – 1025
ช่วงว่างระหว่างรัชกาลของราชวงศ์ฮัมมูด (1025–1026)
รัฐเคาะลีฟะฮ์กุรฏุบะ (ฟื้นฟู)
ฮิชามที่ 3 อัลมัวะอ์ตัด บิลลาฮ์ 1026 – 1031
ราชวงศ์ถูกโค่นล้ม

ตารางพงศาวลี

[แก้]
พระราชพงศาวลีผู้นำอุมัยยะฮ์ และความสัมพันธ์กับบะนูฮาชิม ตระกูลของศาสดามุฮัมมัด, ตระกูลอะลี และเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์
  เคาะลีฟะฮ์ อุษมาน (ไม่ได้อยู่ในราชวงศ์)
อับด์มะนาฟ
อับด์ชัมส์ฮาชิม
อุมัยยะฮ์อับดุลมุฏฏอลิบ
ฮัรบ์อะบูลอาศอับดุลลอฮ์อะบูฏอลิบอับบาส
อะบูซุฟยานอัฟฟานอัลฮะกัมศาสดามุฮัมมัดอะลี (ค. 656 – 661)อับดุลลอฮ์
มุอาวิยะฮ์ที่ 1 (ค. 661 – 680)อุษมาน (ค. 644 – 656)มัรวานที่ 1 (ค. 684 – 685)ตระกูลอะลีอับบาซียะฮ์ (ค. 750 – 1258)
ยะซีดที่ 1 (ค. 680 – 683)อับดุลมะลิก (ค. 685 – 705)อับดุลอะซีซมุฮัมมัด
มุอาวิยะฮ์ที่ 2 (ค. 683 – 684)อัลวะลีดที่ 1 (ค. 705 – 715)สุลัยมาน (ค. 715 – 717)ยะซีดที่ 2 (ค. 720 – 724)ฮิชาม (ค. 724 – 743)อุมัรที่ 2 (ค. 717 – 720)มัรวานที่ 2 (ค. 744 – 750)
ยะซีดที่ 3 (ค. 744 – 744)อิบรอฮีม (ค. 744 – 744)อัลวะลีดที่ 2 (ค. 743 – 744)มุอาวิยะฮ์
อับดุรเราะห์มานที่ 1 (ค. 756 – 788)
ฮิชามที่ 1 (ค. 788 – 796)
อัลฮะกัมที่ 1 (ค. 796 – 822)
อับดุรเราะห์มานที่ 2 (ค. 822 – 852)
มุฮัมมัดที่ 1 (ค. 852 – 886)
อับดุลลอฮ์ (ค. 888 – 912)อัลมุนษิร (ค. 886 – 888)
มุฮัมมัด
อับดุรเราะห์มานที่ 3 (ค. 912 – 961)
อับดุลมะลิกสุลัยมานอัลฮะกัมที่ 2 (ค. 961 – 976)อับดุลญับบารอุบัยดุลลอฮ์
มุฮัมมัดอัลฮะกัมฮิชามที่ 2 (ค. 976 – 1009)ฮิชามอับดุรเราะห์มาน
อับดุรเราะห์มานที่ 4 (ค. 1018 – 1019)ฮิชามที่ 3 (ค. 1026 – 1031)สุลัยมาน (ค. 1009 – 1010)มุฮัมมัดที่ 2 (ค. 1009 – 1009)อับดุรเราะห์มานที่ 5 (ค. 1023 – 1024)มุฮัมมัดที่ 3 (ค. 1024 – 1025)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Watt 1986, p. 434.
  2. 2.0 2.1 Hawting 2000a, pp. 21–22.
  3. 3.0 3.1 3.2 Della Vida 2000, p. 837.
  4. 4.0 4.1 4.2 Della Vida 2000, p. 838.
  5. Donner 1981, p. 51.
  6. Donner 1981, p. 53.
  7. Wellhausen 1927, pp. 40–41.
  8. Donner 1981, p. 54.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Hawting 2000, p. 841.
  10. Wellhausen 1927, p. 41.
  11. Poonawala 1990, p. 8.
  12. Wellhausen 1927, pp. 20–21.

ข้อมูล

[แก้]