อิบน์ อับบาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อับดุลลอฮ์ อิบน์ อับบาส
عبد الله بن عباس
คำนำหน้าชื่อฮับรุลอุมมะฮ์
ส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 619
มรณภาพฮ.ศ. 687
ศาสนาอิสลาม
อาชีพผู้เชี่ยวชาญตัฟซีร, ผู้มีความสนใจอัลกุรอาน, ซุนนะฮ์, หะดีษ และตัฟซีร มีชีวิตช่วงยุคทองของอิสลาม
ตำแหน่งชั้นสูง
ศาสดามุฮัมมัด
ได้รับอิทธิจาก

อับดุลลอฮ์ อิบน์ อับบาส (อาหรับ: عَبْد ٱللَّٰه ٱبْن عَبَّاس; ค.ศ. 619 – 687) หรือรู้จักในนาม อิบน์ อับบาส เป็นลูกพี่ลูกน้องคนหนึ่งของมุฮัมมัดผู้เป็นนบี ท่านเป็นนักตัฟซีร อัลกุรอานผู้ยิ่งใหญ่[1][2]

ท่านเป็นบุตรชายของอับบาส อิบน์ อับดุลมุฏเฏาะลิบ ลุงของมุฮัมมัด และเป็นหลานชายของมัยมูนะฮ์ บินต์ อัลฮาริษ ซึ่งต่อมากลายเป็นภรรยาของมุฮัมมัด ในช่วงแรกของการต่อสู้เพื่อตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ ท่านสนับสนุนท่านอะลี อิบน์ อะบีฏอลิบ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการบัศเราะฮ์ หลังจากนั้นไม่นานท่านก็ถอนตัว แล้วไปที่มักกะฮ์ ในรัชสมัยของท่านมุอาวิยะฮ์ที่ 1 ท่านอาศัยอยู่ ณ. แคว้นฮิญาซ และมักจะเดินทางไปยังดามัสกัส หลังจากมุอาวิยะฮ์ที่ 1 สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 680 ท่านก็ไปที่อัฏฏออิฟ ซึ่งเขาเสียชีวิตราวปี ค.ศ. 687[1][3]

อับดุลลอฮ์ อิบน์ อับบาสได้รับการยกย่องอย่างสูงจากความรู้เกี่ยวกับหะดีษและการตัฟซีร อัลกุรอาน ตั้งแต่แรกเริ่ม ท่านรวบรวมข้อมูลความรู้จากเศาะฮาบะฮ์ท่านอื่นๆ และสอนมัจญ์ลิส และเขียนข้อคิดเห็นมากมาย[4]

ชีวประวัติ[แก้]

ตระกูล[แก้]

ท่านเป็นบุตรชายคนที่สามของพ่อค้าผู้มั่งคั่ง อัลอับบาส อิบน์ อับดุลมุฏเฏาะลิบ ดังนั้นท่ารจึงถูกเรียกว่า อิบน์ อับบาส (บุตรของอับบาส) มารดาของท่านคือ อุมมุลฟัฎล์ ลุบาบะฮ์ ซึ่งภาคภูมิใจในการเป็นผู้หญิงคนที่สองที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ในวันเดียวกับเพื่อนสนิทของนางคือ เคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิด ภรรยาของมุฮัมมัด[5]

บิดาของอิบน์ อับบาส และบิดาของมุฮัมมัด หรือที่รู้จัก ทั้งสองเป็นบุตรของชัยบะฮ์ อิบน์ ฮาชิม หรือรู้จักกันดีในนาม อับดุลมุฏเฏาะลิบ บิดาของชัยบะฮ์ อิบน์ ฮาชิม คือ ฮาชิม อิบน์ อับดุมะนาฟ บรรพบุรุษของตระกูลบะนูฮาชิมแห่งเผ่ากุร็อยช์ ในมักกะฮ์[ต้องการอ้างอิง]

ฮ.ศ. 619–632: ยุคของมุฮัมมัด[แก้]

อิบน์ อับบาส เกิดในปีที่ 3 ก่อนฮัจญ์เราะฮ์ศักราช (ฮ.ศ. 619–620) และมารดาของท่านพาท่านไปหามุฮัมมัด ก่อนที่นางจะเริ่มต้นให้นมบุตร เหตุการณ์นี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างพวกเขา[6]

กล่าวกันว่ามุฮัมมัดจะดึงท่านเข้ามาใกล้ แล้วตบไหล่ท่าน แล้วขอดุอาอ์ว่า "โอ้อัลลอฮ์! โปรดสอนเขา (ความรู้เกี่ยวกับ) คัมภีร์ (อัลกุรอาน)"[7] นะบีมุฮัมมัดยังได้ดุอาอ์ให้ท่านบรรลุความเข้าใจในศาสนาด้วย[8] อิบน์ อับบาสติดตามมุฮัมมัด จดจำและเรียนรู้คำสอนของท่าน[6]

คำกล่าวของท่านนะบีมุฮัมมัด[แก้]

ใน ฮ.ศ. 10 นะบีมุฮัมมัดล้มป่วยครั้งสุดท้าย ในช่วงเวลานี้ มีหะดีษรายงานเกี่ยวกับปากกาและกระดาษ โดยมีอิบน์ อับบาสเป็นผู้รายงานชั้นแรก ในขณะนั้นมีอายุประมาณ 12 ปี หลายวันหลังจากนั้น อับบาส และ อะลี ก็พยุงตัวของนะบีมุฮัมมัดบนไหล่ของพวกเขา เนื่องจากนะบีมุฮัมมัดอ่อนแอเกินกว่าจะเดินได้โดยไม่ต้องขอความช่วย

ฮ.ศ. 632–634: ยุคของอะบูบักร์[แก้]

มรดกจากนบีมุฮัมมัด[แก้]

อิบน์ อับบาสอายุ 13 ปี เมื่อนบีมุฮัมมัดเสียชีวิต หลังจากที่อะบูบักร ขึ้นสู่อำนาจ อิบน์ อับบาสและบิดาของท่านก็อยู่ในหมู่ผู้ที่ขอส่วนแบ่งมรดกของนบีมุฮัมมัด แต่ไม่สำเร็จ[ต้องการอ้างอิง] ท่านอะบูบักร์กล่าวว่า ท่านเคยได้ยินนะบีมุฮัมมัด กล่าวว่า นะบีจะไม่ทิ้งมรดกไว้เบื้องหลังตามกฎของอัลลอฮ์

การสอนศาสนา[แก้]

นอกจากการศึกษาของท่านเองแล้ว อิบน์ อับบาสยังเป็นครูอีกด้วย บ้านของท่านที่ท่านสอนเปรียบได้ดั่งมหาวิทยาลัย[6]

ศิทย์คนหนึ่งรายงานถึงเหตุการณ์ปกติที่หน้าบ้านของท่านว่า:

ท่านจัดชั้นเรียนวิชาเดียวในแต่ละวัน ชั้นเรียนของท่านครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น ตัฟซีร, ฟิกฮ์, ฮะลาล และ ฮะรอม, ฆ็อซวะฮ์, กวีนิพนธ์, ประวัติศาสตร์อาหรับก่อนอิสลาม, กฎหมายมรดกอิสลาม, ภาษาอาหรับ และนิรุกติศาสตร์[6]

ฮ.ศ. 634–644: ยุคของอุมัร[แก้]

ให้คำปรึกษาอุมัร[แก้]

อุมัรมักขอคำแนะนำจากอิบน์ อับบาสในเรื่องสำคัญของรัฐ และอุมัรอธิบายว่าท่านเป็น "ชายหนุ่มที่ทรงคุณวุฒิ":[6]

เศาะฮาบะฮ์ ซะอด์ อิบน์ อะบี วักกอศ กล่าวว่า:

ข้าไม่เคยเห็นใครที่เข้าใจศาสนาได้เร็วกว่า มีความรู้ และสติปัญญามากกว่าอิบน์ อับบาสมาก่อน ข้าเคยเห็นอุมัรเรียกท่านมาเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาที่ยากลำบากต่อหน้าทหารผ่านศึกของแห่บะดัร จากชาวมุฮาญิรีน และอันศอร ท่านอิบน์ อับบาสจะพูดและอุมัรจะไม่เพิกเฉยต่อสิ่งที่ท่านพูด[6]

ฮ.ศ. 656–661: ยุคของอะลี[แก้]

ยุทธการที่ศิฟฟีน[แก้]

อิบน์ อับบาสยังคงเป็นผู้สนับสนุนอย่างแข็งขันต่ออะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ ลูกพี่ลูกน้องของท่าน ในระหว่างที่ทำสงครามกับมุอาวียะฮ์ รวมถึงในยุทธการที่ศิฟฟีนด้วย ท่านยังได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองบัศเราะฮ์ ในรัชสมัยของเคาะลีฟะฮ์อะลี [ต้องการอ้างอิง]

กองทัพกลุ่มใหญ่ของอะลีไม่พอใจกับผลลัพธ์ของสงครามของอะลีกับมุอาวียะฮ์ และแยกออกเป็นอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในชื่อ เคาะวาริจญ์ อิบน์ อับบาสมีบทบาทสำคัญในการโน้มน้าวพวกเขาจำนวนมากให้กลับไปหาอะลี ประมาณ 20,000 คน จาก 24,000 คน ตามแหล่งข้อมูลบางแห่ง ท่านใช้ความรู้เกี่ยวกับชีวประวัติของนบีมุฮัมมัด โดยเฉพาะเหตุการณ์ในสนธิสัญญาฮุดัยบียะฮ์[6]

ฮ.ศ. 680–683: ยุคของยะซีด[แก้]

ชาวซุนนีเชื่อว่าอิบน์ อับบาสสนับสนุนความสามัคคีของชาวมุสลิม และด้วยเหตุนี้จึงท่านไม่ก่อกบฏต่อผู้ปกครอง ท่านแนะนำให้ท่านฮุซัยน์ อิบน์ อะลี ไม่ให้เดินทางไปยัง กูฟะฮ์ ซึ่งสิ้นสุดที่กัรบะลาอ์

สิ่งที่ทิ้งไว้[แก้]

เมื่อความรู้ของอับดุลลอฮ์เติบโตขึ้น ท่านก็เติบโตขึ้นตามไปด้วย มัสรูก อิบน์ อัลอัจญ์ดะอ์ กล่าวถึงท่านว่า:

เมื่อใดก็ตามที่ข้าเห็นอิบน์ อับบาส ข้าจะพูดว่า: ท่านคือ ชายที่หล่อที่สุด เมื่อท่านพูด ข้าจะกล่าวว่า: ท่านเป็นคนที่มีวาจาไพเราะที่สุด และเมื่อท่านสนทนา ข้าจะกล่าวว่า: ท่านเป็นผู้รอบรู้ที่สุดในหมู่มนุษย์”[6]

อิบน์ อับบาสได้รับความเคารพอย่างสูงจากทั้งชีอะฮ์และซุนนี[ต้องการอ้างอิง] อัลกุรอานฉบับกรุงไคโร ค.ศ. 1924 ได้นำอัลกุรอานตามลำดับเวลาของบทต่างๆ ที่ประกาศใช้โดย อิบน์ อับบาส ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางหลังปี ค.ศ. 1924[9][10]

มุมมอง[แก้]

อิบน์ อับบาส มองว่าตัฟซีรสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท:[11]

  • การอธิบายอัลกุรอานในเรื่องที่ชาวอาหรับรับรู้และเข้าใจกันดี
  • การอธิบายที่จำเป็นต้องรู้เลี่ยงไม่ได้
  • การอธิบายที่บรรดาปราชญ์เท่านั้นที่สามารถเข้าใจ
  • การอธิบายที่ไม่มีใครรู้นอกจากอัลลอฮ์ (อาหรับ: الله อัลลอฮ์)

ชาวซุนนีมองว่าท่านเป็นผู้รอบรู้มากที่สุดในหมู่เศาะฮาบะฮ์เกี่ยวกับตัฟซีร หนังสือชื่อ ตันวีรุลมิกบาส เป็นหนัสือตัฟซีร คำอธิบายทั้งหมดอาจย้อนกลับไปถึงอิบน์ อับบาส[6] จากรายงานทั้งหมดที่ส่งโดยอิบนุอับบาส มีประมาณ 1660 รายงานที่ถือว่ามีความถูกต้อง (อาหรับ: Sahih) โดยผู้ประพันธ์ของเศาะฮีฮ์ทั้งสอง[6][12][หน้าหนังสือ จำเป็น]

ดูเพิ่ม[แก้]

ลิงค์ภานนอก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "'Abd Allah ibn al-'Abbas". Encyclopædia Britannica. Vol. I: A-Ak - Bayes (15th ed.). Chicago, Illinois: Encyclopædia Britannica, Inc. 2010. pp. 16. ISBN 978-1-59339-837-8.
  2. Ludwig W. Adamec (2009), Historical Dictionary of Islam, p.134.
  3. There is uncertainty as to the actual year of his death.
  4. "'Abd Allah ibn al-'Abbas". Encyclopædia Britannica. Vol. I: A-Ak - Bayes (15th ed.). Chicago, Illinois: Encyclopædia Britannica, Inc. 2010. pp. 16. ISBN 978-1-59339-837-8.
  5. Marriage to a 'past': Parents should not reject a proposal without a good reason – and being a revert with a past is not an acceptable one
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 biography Archived 2009-05-28 at archive.today on the MSA West Compendium of Muslim Texts
  7. Sahih al-Bukhari, 9:92:375
  8. Sahih Muslim (#6523)
  9. Jane Dammen McAuliffe "Preface" Encyclopaedia of the Qur'an, Vol.
  10. Gerhard Böwering, "Chronology and the Quran", Encyclopaedia of the Qur'an, Vol.
  11. Interpreting The Text
  12. Reliance of the Traveller by Ahmad al-Misr, (A Classic Manual of Islamic Sacred Law), translated by Nuh Ha Mim Keller, published by Amana publications, Beltsville, Maryland, USA 1991