โทกูงาวะ อิเอนาริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โทกูงาวะ อิเอนาริ
徳川家斉
โชกุนลำดับที่ 11 แห่ง รัฐบาลเอโดะ
1787 - 1837
ก่อนหน้าโทกูงาวะ อิเอฮารุ
ถัดไปโทกูงาวะ อิเอโยชิ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 ตุลาคม ค.ศ. 1773(1773-10-05)
อสัญกรรม27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1841(1841-02-27) (67 ปี)
บิดาโทกูงาวะ ฮารูซาดะ
มารดาโอโตมิ โนะ กาตะ
บุตร-ธิดาโทกูงาวะ อิเอโยชิ

โทะกุงะวะ อิเอะนะริ (ญี่ปุ่น: 徳川 家斉โรมาจิTokugawa Ienari5 ตุลาคม ค.ศ. 1773 - 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1841) เป็น โชกุน ลำดับที่ 11 และดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของ รัฐบาลเอโดะ ของ ญี่ปุ่น ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1787 ถึงปี ค.ศ. 1837[1] เขาเป็นเหลนของโชกุนลำดับที่ 8 โทกูงาวะ โยชิมูเนะ ผ่านบุตรชายของเขา มูเนตาดะ (1721-1764) หัวหน้าตระกูลสาขาฮิโตสึบาชิ และหลานชายของเขา ฮารูซาดะ (1751-1827)

โทะกุงะวะ อิเอะนะริ เป็นบุตรชายคนโตของ โทะกุงะวะ ฮะรุซะดะ (Tokugawa Harusada, 徳川治済) บุตรชายของโทะกุงะวะ มุเนะตะดะ เท่ากับว่าอิเอะนะริเป็นเหลนของโชกุนโทะกุงะวะ โยะชิมุเนะนั่นเอง หลังจากที่บุตรชายเพียงคนเดียวของโชกุนโทะกุงะวะ อิเอะฮะรุได้เสียชีวิตลง ทำให้โชกุนอิเอะฮะรุไม่มีทายาทสืบทอดตำแหน่งโชกุน ในค.ศ. 1781 โชกุนอิเอะฮะรุและขุนนางในบะกุฟุจึงตัดสินใจเลือกโทะกุงะวะ อิเอะนะริ ให้เป็นทายาทและบุตรบุญธรรมของโชกุนอิเอะฮะรุ โชกุนอิเอะฮะรุถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1786 ในปีต่อมา ค.ศ. 1787 อิเอะนะริจึงได้สืบทอดตำแหน่งเป็นโชกุนคนต่อมา ในค.ศ. 1789 เกิดกบฏของชาวไอนุบนแคว้น Menashi บนเกาะฮกไกโด และบนเกาะ Kunashir (Menashi-Kunashir Rebellion)

ในสมัยของโชกุนอิเอะนะริ การปกครองของญี่ปุ่นอยู่ภายใต้อิทธิพลของขุนนางหลายคนในแต่ละช่วง;

  • ค.ศ. 1787 - ค.ศ. 1793 โรจูมะสึไดระ ซะดะโนะบุ (Matsudaira Sadanobu, 松平定信) เป็นผู้นำในการปฏิรูปปีคันเซ (Kansei-no-kaikaku, 寛政の改革) ยกตัวอย่างเช่นการประกาศให้ลัทธิขงจื้อเป็นศาสนาประจำชาติญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1790 ในค.ศ. 1792 ญี่ปุ่นมีการติดต่อกับจักรวรรดิรัสเซีย (Russian Empire) เป็นครั้งแรก โดยเรือรัสเซียนำโดยอดัม แลกซ์แมน (Adam Laxman) มาเทียบท่าเมืองมะสึมะเอะ (Matsumae, 松前) บนเกาะฮกไกโด เพื่อส่งตัวชาวญี่ปุ่นพลัดหลงคืนและเจรจาขอทำการค้าขายกับญี่ปุ่นจากเกาะฮกไกโด แต่เนื่องจากนโยบายปิดประเทศที่ดำเนินมานาน โรจูมะสึไดระ ซะดะโนะบุ จึงปฏิเสธไป แต่ให้อนุญาตให้เรือสินค้ารัสเซียไปเทียบท่าที่นะงะซะกิแทน การยอมให้สิทธิการค้าแก่รัสเซียทำให้โรจูมะสึไดระ ซะดะโนะบุ เป็นที่ตำหนิติเตียนมาก จนต้องลาออกจากบะกุฟุไปใน ค.ศ. 1793
  • ค.ศ. 1793 - ค.ศ. 1817 โรจูมะสึไดระ โนะบุอะกิระ (Matsudaira Nobuakira, 松平信明) ในค.ศ. 1804 รัสเซียพยายามที่จะเปิดประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งนำโดยนิโคไล เรซานอฟ (Nikolai Rezanov) แต่ไม่สำเร็จ ในค.ศ. 1808 เกิดเหตุการณ์เรือรบอังกฤษชื่อว่าแฟทอน (Phaeton) บุกเข้าเมืองท่านะงะซะกิใช้กำลังบังคับเอาเสบียงและอาวุธ โนะบุอะกิระถึงแก่อสัญกรรมในค.ศ. 1817
  • ค.ศ. 1817 - ค.ศ. 1834 มิซุโนะ ทะดะอะกิระ (Mizuno Tadaakira, 水野 忠成) ใน ค.ศ. 1825 บะกุฟุออกกฎหมายขับไล่เรือต่างชาติ (Ikokusen-Uchiharai-rei, 異国船打払令) ให้โจมตีขับไล่และสังหารเรือต่างชาติและชาวต่างชาติทันทีเมื่อพบเห็น มิซุโนะ ทะดะอะกิระ เสียชีวิตใน ค.ศ. 1834 มี
  • ค.ศ. 1834 - ค.ศ. 1837 มิซุโนะ ทะดะคุนิ (Mizuno Tadakuni, 水野 忠邦) กบฏของโอชิโอะ เฮฮะจิโร่ (Ōshio Heihachirō, 大塩平八郎) ที่เมืองโอซาก้าในค.ศ. 1837 ในปีเดียวกันเรือรบชื่อว่ามอร์ริสัน (Morrison) ของสหรัฐอเมริกา มาเทียบท่ายังจังหวัดคะโงะชิมะ (Kagoshima) ในแคว้นซะสึมะ และอ่าวอุระงะ (Uraga, 浦賀) ฝ่ายญี่ปุ่นได้ตอบโต้อย่างรุนแรงโดยการยิงปืนใหญ่ถล่มใส่ เรียกว่า เหตุการณ์มอร์ริสัน (Morrison Incident)

ในค.ศ. 1837 โชกุนอิเอะนะริสละตำแหน่งโชกุนให้แก่บุตรชายคนที่สอง คือ โทะกุงะวะ อิเอะโยะชิ (Tokugawa Ieyoshi, 徳川家慶) และดำรงตำแหน่งโอโงโช (Ōgōshō, 大御所) ไปอีกเป็นเวลาสี่ปีจนกระทั่งโอโงโชอิเอะนะริถึงแก่อสัญกรรมในค.ศ. 1841

อ้างอิง[แก้]

  1. Hall, John Whitney et al. (1991). Early Modern Japan, p. 21.
ก่อนหน้า โทกูงาวะ อิเอนาริ ถัดไป
โทะกุงะวะ อิเอะฮะรุ
โชกุนแห่งเอะโดะบะกุฟุ
(ค.ศ. 1787 – 1837)
โทะกุงะวะ อิเอะโยะชิ