ยูไนเต็ดอาหรับแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 869 (พ.ศ. 2506)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูไนเต็ดอาหรับแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 869
เครื่องบินเดอ ฮาวิลแลนด์ คอเม็ทของยูไนเต็ดอาหรับแอร์ไลน์รุ่นเดียวกับลำที่เกิดเหตุ
สรุปอุบัติเหตุ
วันที่28 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
สรุปสูญเสียการควบคุมในสภาพอากาศปั่นป่วน
จุดเกิดเหตุ10 กิโลเมตร (6.2 ไมล์) นอกชายฝั่งบอมเบย์ ประเทศอินเดีย
อากาศยานลำที่เกิดเหตุ
ประเภทอากาศยานเดอ ฮาวิลแลนด์ ดีเอช-106 คอเม็ท 4ซี
ดําเนินการโดยยูไนเต็ดอาหรับแอร์ไลน์
ทะเบียนSU-ALD
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว (HND)
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
จุดพักที่ 1ท่าอากาศยานไขตั๊ก (HKG)
ฮ่องกงของบริเตน
จุดพักที่ 2ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง (BKK)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
จุดพักที่ 3ท่าอากาศยานซานตาครูซ (BOM)
บอมเบย์ ประเทศอินเดีย
จุดพักสุดท้ายท่าอากาศยานนานาชาติบาห์เรน (BHR)
มานามา ประเทศบาห์เรน
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติไคโร (CAI)
ไคโร สหสาธารณรัฐอาหรับ
ผู้โดยสาร55
ลูกเรือ8
เสียชีวิต63
บาดเจ็บ0
รอดชีวิต0

ยูไนเต็ดอาหรับแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 869 เป็นเที่ยวบินพาณิชย์ซึ่งเดินทางในเส้นทางโตเกียว–ฮ่องกง–กรุงเทพมหานคร–บอมเบย์–บาห์เรน–ไคโร[1][2] ซึ่งประสบอุบัติเหตุระหว่างลงจอดที่ท่าอากาศยานซานตาครูซ (ท่าอากาศยานนานาชาติฉัตรปตี ศิวาจี มหาราชในปัจจุบัน) นอกชายฝั่งนครมุมไบ (หรือบอมเบย์ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 มีผู้เสียชีวิต 63 คน ไม่มีผู้รอดชีวิต ในจำนวนนี้มีตัวแทนคณะลูกเสือจากประเทศฟิลิปปินส์ที่กำลังเดินทางไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 11 ที่ประเทศกรีซ[3]

อากาศยาน[แก้]

เครื่องบินลำที่เกิดเหตุเป็นเครื่องบินเดอ ฮาวิลแลนด์ ดีเอช-106 คอเม็ท 4ซี หมายเลขทะเบียน SU-ALD[1] โดยขณะเกิดเหตุเครื่องบินลำดังกล่าวมีอายุได้ 3 ปี

นอกจาก SU-ALD แล้ว เครื่องบินคอเม็ท 4ซี ของยูไนเต็ดอาหรับแอร์ไลน์อีก 4 ลำยังประสบอุบัติเหตุร้ายแรงจนเครื่องบินไม่สามารถซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้[4] ได้แก่

อุบัติเหตุ[แก้]

เวลา 01:46 น. คืนวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ตามเวลาท้องถิ่นประเทศอินเดีย (UTC+05:30) นักบินแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศว่าอยู่เหนือสถานี VOR ซานตาครูซในบอมเบย์ ที่ระดับความสูง 7000 ฟุตและได้รับอนุญาตให้ลดระดับลงมาที่ 4000 ฟุต[2] นักบินแจ้งขอใช้ระบบ Instrument Landing System เพื่อลงจอดทางวิ่ง 09 และจะใช้วิธี back beam procedure[2] เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรแจ้งนักบินว่าระบบดังกล่าวไม่พร้อมใช้งานและแนะนำให้ใช้ VOR นำทาง[2] นักบินตกลงตามที่เจ้าหน้าที่แจ้งและรายงานว่ากำลังลดระดับจาก 7000 ฟุตและเบนหัวเครื่องทำมุม 272 องศาจากจุดนำทาง VOR[2] เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรแจ้งว่ามีสภาพอากาศปั่นป่วนที่ตำแหน่งประมาณ 6-7 ไมล์ทางทิศตะวันตกของท่าอากาศยาน[2] นักบินแจ้งขอบินเลี้ยวซ้ายแทนเลี้ยวขวาตามปกติเพื่อเลี่ยงสภาพอากาศเลวร้าย[2]ซึ่งเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรตอบตกลง นักบินบังคับเครื่องเลี้ยวซ้ายและเครื่องตกลงไปในทะเลเวลา 01:50 น. ตำแหน่งที่เครื่องบินตกอยู่ห่างจากเกาะมาฒออกไปประมาณ 9 ไมล์ทะเล (17 กิโลเมตร)[2]

สาเหตุ[แก้]

เนื่องจากไม่สามารถค้นหาซากเครื่องบินได้ และไม่มีรายงานจากนักบินก่อนเกิดเหตุ คณะสืบสวนจึงสรุปว่าเครื่องบินสูญเสียการควบคุมขณะเลี้ยวในสภาพอากาศปั่นป่วนและฝนตกหนัก[2]

อนุสรณ์[แก้]

วงเวียนอนุสรณ์สมาชิกคณะลูกเสือผู้เสียชีวิตในเกซอนซิตี ประเทศฟิลิปปินส์
อนุสรณ์สถานที่สุสานมะนิลาเหนือ กรุงมะนิลา

สภาเมืองเกซอนซิตีในประเทศฟิลิปปินส์ได้สร้างวงเวียนอนุสรณ์เพื่อระลึกถึงสมาชิกคณะลูกเสือของประเทศฟิลิปปินส์ที่เสียชีวิตในอุบัติเหตุครั้งนี้ โดยมีรูปปั้นล้อมรอบเป็นตัวแทนของสมาชิกคณะลูกเสือ ถนนหลายสายในเมืองก็ตั้งชื่อตามผู้เสียชีวิต[5] นอกจากนี้ยังมีอนุสรณ์สถานตั้งอยู่ที่สุสานมะนิลาเหนือในกรุงมะนิลาเป็นรูปมือแสดงรหัสลูกเสือและไม้กางเขน โดยมีแผ่นป้ายจารึกชื่อและสังกัดของลูกเสือแต่ละนายประดับด้านล่าง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Accident description at the Aviation Safety Network
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 Civil Aviation Authority 1974, p. 14/63
  3. "Airliner Crash in Sea Near Bombay – Scouts Among 62 on Board, Search For Bodies". News. The Times. No. 55765. London. 29 July 1963. col D, p. 10.
  4. "Aviation Safety Network > ASN Aviation Safety Database > Type index > ASN Aviation Safety Database results". ASN Aviation Safety Network. Aviation Safety Network. สืบค้นเมื่อ 21 October 2021.
  5. "Shrines and Monuments". Quezon City Official Website. Quezon City Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-15. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.

ดูเพิ่ม[แก้]