ยูดิธตัดศีรษะโฮโลเฟอร์เนส (การาวัจโจ)

พิกัด: 41°54′12.65″N 12°29′24.75″E / 41.9035139°N 12.4902083°E / 41.9035139; 12.4902083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูดิธตัดศีรษะโฮโลเฟอร์เนส
Italian: Giuditta e Oloferne
ศิลปินการาวัจโจ
ปีราว ค.ศ. 1598–1599 หรือ 1602
สื่อจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
มิติ145 cm × 195 cm (57 นิ้ว × 77 นิ้ว)
สถานที่หอศิลป์โบราณแห่งชาติ ที่วังบาร์เบรีนี, โรม
พิกัด41°54′12.65″N 12°29′24.75″E / 41.9035139°N 12.4902083°E / 41.9035139; 12.4902083

ยูดิธตัดศีรษะโฮโลเฟอร์เนส (อังกฤษ: Judith Beheading Holofernes) เป็นภาพจิตรกรรมจากตอนในคัมภีร์ไบเบิล วาดโดยการาวัจโจเมื่อราว ค.ศ. 1598–1599 หรือ 1602[1] ภาพจิตรกรรมแสดงเหตุกาณ์ที่หญิงม่ายยูดิธอยู่กับโฮโลเฟอร์เนสแม่ทัพชาวอัสซีเรียในกระโจมหลังงานเลี้ยง แล้วยูดิธจึงตัดศีรษะของโฮโลเฟอร์เนสหลังจากที่โฮโลเฟอร์เนสเมาเหล้าองุ่นจนหมดสติ[2] ภาพจิตรกรรมถูกค้นพบใหม่ในปี ค.ศ. 1950 และเป็นส่วนหนึ่งในของสะสมของหอศิลป์โบราณแห่งชาติ (Galleria Nazionale d'Arte Antica) ในกรุงโรม นิทรรศการ 'Dentro Caravaggio' Palazzo Reale ที่มิลาน (กันยายน ค.ศ. 2017 - มกราคม ค.ศ. 2018) ให้ข้อมูลว่าภาพวาดขึ้นในปี ค.ศ. 1602 เนื่องจากมีการร่างภาพเบา ๆ อยู่ด้านหลังซึ่งไม่ปรากฏในผลงานช่วงต้น ๆ ของการาวัจโจ แต่เป็นลักษณะเฉพาะของผลงานในช่วงหลัง ๆ ของเขา หนังสือรายการของนิทรรศการ (Skira, 2018, p88) ยังอ้างถิงถึงบันทึกของโจวันนี บาลยีโอเนจิตรกรผู้เขียนชีวประวัติของการาวัจโจว่าภาพจิตรกรรมนี้เป็นผลงานจากการมอบหมายงานโดยออตตาวีโอ กอสตา (Ottavio Costa) นายธนาคารในเจโนวา

ภาพจิตรกรรมชิ้นที่ 2 ของเรื่องราวเดียวกัน ระบุปีที่วาดเป็น ค.ศ. 1607 ถือว่าเป็นผลงานของการาวัจโจโยโดยผู้เชี่ยวชาญหลายคนแต่ยังคงเป็นที่โต้แย้งโดยคนอื่น ๆ ภาพนี้ถูกค้นพบใหม่โดยบังเอิญในปี ค.ศ. 2014 และนำขายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019 โดยชื่อภาพว่า "ยูดิธและโฮโลเฟอร์เนส" (Judith and Holofernes)[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Judith Beheading Holofernes". www.artble.com. Artble. สืบค้นเมื่อ April 2, 2018.
  2. "Judith 13". biblegateway.com. สืบค้นเมื่อ September 27, 2021.
  3. Alex Greenberger (25 June 2019). "Caravaggio Painting Estimated at $170 M. Sold Privately Ahead of Auction in France". ARTnews. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2019. สืบค้นเมื่อ 26 June 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]