นักบุญเจอโรมเขียนหนังสือ (คาราวัจโจ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักบุญเจอโรมเขียนหนังสือ
ศิลปินคาราวัจโจ
ปีค.ศ. 1605 - ค.ศ. 1606
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
สถานที่หอศิลป์บอร์เกเซ, โรม

นักบุญเจอโรมเขียนหนังสือ[1] หรือ นักบุญเจอโรมแปลพระคัมภีร์ (อังกฤษ: Saint Jerome Writing) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจ[2] จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์บอร์เกเซในกรุงโรมในประเทศอิตาลี

ภาพ “นักบุญเจอโรมเขียนหนังสือ” เขียนราวระหว่างปี ค.ศ. 1605 ถึงปี ค.ศ. 1606 เป็นภาพที่เปรียบเทียบได้กับภาพ “นักบุญเจอโรมวิปัสสนา” (พิพิธภัณฑ์สำนักสงฆ์ซานตามาเรีย, มอนเซอร์รัต) ที่เขียนในช่วงเวลาเดียวกัน และภาพในหัวข้อเดียวกันที่เขียนหลังจากนั้น “นักบุญเจอโรมเขียนหนังสือ (วาเล็ตตา)

ในขณะที่ฝ่ายโปรเตสแตนต์ต้องการจะแปลพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาท้องถิ่นเพื่อเป็นการเผยแพร่พระวจนะของพระเจ้าแก่บรรดาผู้นับถือคริสต์ศาสนาโดยทั่วไป ฝ่ายโรมันคาทอลิกก็พยายามในการต่อสู้เพื่อที่ให้เหตุผลในการสนับสนุนการรักษาการใช้ภาษาละตินที่แปลโดยนักบุญเจอโรมในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ต่อไป นักบุญเจอโรมได้ทำการรับศีลจุ่มจากพระสันตะปาปาองค์หนึ่ง, ได้รับมอบหน้าที่ให้เป็นผู้แปลโดยพระสันตะปาปาอีกองค์หนึ่ง และประกาศว่านักบุญปีเตอร์เป็นพระสังฆราชองค์แรกของโรม นักบุญเจอโรมเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดองค์หนึ่งในบรรดาคริสต์ศาสนปราชญ์ในการต่อต้านผู้นอกศาสนา ในการโจมตีลัทธินิยมนักบุญ และในการจำกัดการเรียนรู้ภาษาละตินให้อยู่ในวงของผู้มีการศึกษา ฉะนั้นภาพนี้จึงเป็นภาพที่เหมาะสมในการภาพแรกที่สคิปิโอเน บอร์เกเซซื้อไม่นานหลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคาร์ดินัลในปี ค.ศ. 1605 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 5 ผู้เป็นลุง

ก่อนหน้าการปฏิวัติคริสต์ศาสนาภาพเขียนของนักบุญเจอโรมมักจะมีสิงห์โตและหมวกคาร์ดินัลอยู่ในภาพด้วย แต่นักปฏิรูปโรมันคาทอลิกต้องการจะลดองค์ประกอบของศิลปะคริสต์ศาสนาลงเหลือแต่สิ่งที่เป็นหัวใจของภาพ ชายสูงอายุในภาพที่มีใบหน้าละม้ายกับผู้เป็นแบบสำหรับเอบราฮัม, นักบุญแม็ทธิว และนักบุญทอมัส นั่งครุ่นคำนึงถึงกฎบัตรของพระคัมภีร์ไบเบิลขณะที่มือขวาตั้งท่าพร้อมที่จะเขียน นักบุญเจอโรมของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอันโตเนลโล ดา เมสสินา และอัลเบรชท์ ดือเรอร์เป็นนักการศึกษาผู้มั่งคั่งแต่นักบุญเจอโรมของคาราวัจโจลดลงเหลือรายละเอียดแต่สิ่งที่เป็นหัวใจของภาพที่ หนังสือที่เปิดอยู่ และเล่มที่สองที่ยังปิดที่มีหัวกะโหลกวางอยู่ข้างบนตั้งอยู่บนโต๊ะเล็กๆ แสงที่จัดเน้นให้เห็นกล้ามเนื้อบนแขน และความสัมพันธ์ระหว่างหัวของนักบุญเจอโรมและหัวกะโหลกบนหนังสือที่เป็นนัยถึงการเกิดที่ในที่สุดก็ต้องตายแต่พระวจนะของพระเจ้ายังคงอยู่ชั่วนิรันดร์

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]