มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช
มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 11 มกราคม พ.ศ. 2552 (14 ปี 317 วัน) | |
ก่อนหน้า | กมล จิระพันธุ์วาณิช |
เขตเลือกตั้ง | เขต 1 (2552–2554) เขต 2 (2554–2566) เขต 3 (2566–ปัจจุบัน) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย (2554–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ชาติไทยพัฒนา (2551–2554) |
บุพการี |
|
ญาติ | สุบรรณ จิระพันธุ์วาณิช (พี่ชาย) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
อาชีพ | นักการเมือง |
ชื่อเล่น | เปิ้ล |
มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช (เกิด 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2507) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี 4 สมัย ประธานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26
ประวัติ
[แก้]มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช (ชื่อเล่น : เปิ้ล) เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 ที่ตำบลตะลุง อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นบุตรสาวของนายกมล จิระพันธุ์วาณิช อดีต ส.ส. ลพบุรี 8 สมัย และ นางพยงค์ จิระพันธุ์วาณิช และเป็นน้องสาวของนายสุบรรณ จิระพันธุ์วาณิช อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ นิติศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ ระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง[1]
งานการเมือง
[แก้]มัลลิกา เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองลพบุรี ในช่วงปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2538 และ และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี เขตอำเภอท่าวุ้ง ในช่วง พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2552 ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้งซ่อมของจังหวัดลพบุรี แทนบิดาที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ใน พ.ศ. 2552 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา รวม 3 สมัย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2552 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ , เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2507
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองลพบุรี
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.