กมล จิระพันธุ์วาณิช
กมล จิระพันธุ์วาณิช ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 มีนาคม พ.ศ. 2475 จังหวัดลพบุรี ประเทศสยาม |
พรรค | พรรคชาติไทย (2526 - 2551) พรรคภูมิใจไทย (2556 - ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | พยงค์ จิระพันธุ์วาณิช |
กมล จิระพันธุ์วาณิช (เกิด 14 มีนาคม พ.ศ. 2475) อดีตนักการเมืองชาวไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี 8 สมัย
ประวัติ[แก้]
กมล จิระพันธุ์วาณิช เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2475[1] เป็นบุตรของนายสุวรรณ กับนางช้อย จิระพันธุ์วาณิช[2] สำเร็จการศึกษา เศรษฐศาสตร์บัณฑิต จากไต้หวัน สมรสกับ นางพยงค์ จิระพันธุ์วาณิช มีบุตร คือ นายสุบรรณ จิระพันธุ์วาณิช อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี[3] และ นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี เขต 2 พรรคภูมิใจไทย[4]
การทำงาน[แก้]
กมล จิระพันธุ์วาณิช อดีตเป็นนักธุรกิจเกี่ยวกับการตีเหล็ก และ ศูนย์การค้าในจังหวัดลพบุรี[5] และยังประกอบกิจการค้าข้าว ในชื่อ "ท่าข้าวจิระพันธุ์วาณิช"[6]
งานการเมือง[แก้]
กมลลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2526 จากการชักชวนโดย พลตรีประมาณ อดิเรกสาร ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก และได้รับเลือกเรื่อยมา รวม 8 ครั้ง
ปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย[7]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
กมล จิระพันธุ์วาณิช ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 8 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2543 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2540 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ พ่อนายกอบจ.ลพบุรีเผยรู้จักมือยิงดีจาก โพสต์ทูเดย์ ข่าวการเมือง สืบค้นวันที่ 8 เมษายน 2564
- ↑ เร่งหาสาเหตุ!! เพลิงไหม้บ้านพ่อ สส.พรรคภูมิใจไทย เจ็บ 2 คน[ลิงก์เสีย]
- ↑ สัมภาษณ์ นายกมล จิระพันธุ์วาณิช อดีต ส.ส.พรรคชาติไทย จ.ลพบุรี
- ↑ รายละเอียด ผู้ประกอบการท่าข้าว
- ↑ เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร “พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ” ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐