ภาษาเขมรสมัยกลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเขมรสมัยกลาง
รูปตัวอย่าง ศิลาจารึก เขียนเป็น ภาษาเขมรสมัยกลาง
ภูมิภาคประเทศกัมพูชา บางส่วนใน ประเทศไทย ประเทศลาว และ ประเทศเวียดนาม
ยุคพัฒนาไปเป็น ภาษาเขมร, ภาษาเขมรเหนือ ภาษาเขมรตะวันตก และ ภาษาเขมรกรอม ในคริสต์ศตวรรษที่ 18
ตระกูลภาษา
ออสโตรเอเชียติก
  • ภาษาเขมรสมัยกลาง
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาเขมรเก่า
  • ภาษาเขมรสมัยกลาง
รหัสภาษา
ISO 639-3xhm
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาเขมรสมัยกลาง หรือ ภาษาเขมรสมัยหลังพระนคร เป็นชื่อที่ใช้เรียกภาษาเขมรในช่วงระหว่างคริสตศตวรรษที่ 14 ถึงคริสตศตวรรษที่ 18[1] ซึ่งเอาไว้แบ่งคั่นระหว่างยุคของภาษาเขมรเก่าและภาษาเขมรสมัยใหม่ พัฒนาการและการสื่อสารของภาษาเขมรสมัยกลางเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการล่มสลายของอาณาจักรพระนคร ร่วมสมัยกับการขยายอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา ยุคดังกล่าวถูกเรียกว่ายุคหลังพระนคร ภาษาเขมรสมัยกลางเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสัทวิทยา[2]ของตัวภาษาไปจากเดิมอย่างมาก โดยได้วิวัฒนาการไปเป็นภาษาเขมรสมัยใหม่ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1777 ในรัชสมัยของนักองค์เอง พระราชบิดาของนักองด้วง เป็นต้นมา

ชาวเขมรได้หยิบยืมตระกูลอักษรพราหมีมาใช้เขียนภาษาของตน ตั้งแต่ภาษาเขมรเก่า ในคริสต์ศตวรรษที่ 6–7[3] การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขมรสมัยกลางต่างก็ได้ทิ้งร่องรอยที่เป็นลายลักษณ์อักษรเหลือไว้เป็นจำนวนมาก ทําให้ภาษาเขมรสมัยกลางได้รับการสืบสร้างและถูกนำมาศึกษาใหม่อีกครั้ง ในยุคดังกล่าวตัวภาษามีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงหน่วยเสียงต่าง ๆ ในกลุ่มฐานเสียงพยัญชนะหยุด ซึ่งมีความแตกต่างไปจากภาษาเขมรเก่า ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบสระเพื่อชดเชยความแตกต่างในวิธีการสะกดตามมา โดยสระที่ตามหลังกลุ่มฐานเสียงพยัญชนะระเบิด โฆษะ โดยส่วนใหญ่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของหน่วยเสียงสระไปจากเดิมมากนัก ขณะที่สระชุดเดียวกันซึ่งตามหลังด้วยกลุ่มฐานเสียงพยัญชนะระเบิด อโฆษะ ก็ได้เกิดกระบวนการเลื่อนสระไปเป็นหน่วยเสียงที่แตกต่างกันไปอย่างเป็นระบบ แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวครอบคลุมทั้งสระเดี่ยวและสระประสม นอกจากนี้การสูญเสียหน่วยเสียง /r/ ในตัวสะกด "រ" และการควบรวมหน่วยเสียง /s/ ไปเป็น /h/ ในตัวสะกด "ស" ดังที่ปรากฎภาษาเขมรสมัยใหม่ ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นในยุคของภาษาสมัยเขมรกลางทั้งสิ้น

ภาษาเขมรสมัยกลางมีหลักฐานชั้นต้นปรากฏอยู่ในรูปแบบของเอกสารหรือจารึกอยู่เป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันภาษาเขมรสมัยกลางได้พัฒนาไปเป็นภาษาสมัยใหม่ถึงสามภาษา ได้แก่ ภาษาเขมรเหนือ ภาษาเขมรตะวันตก สำเนียงถิ่นต่าง ๆ ในภาษาเขมรกลาง รวมถึงภาษาเขมรสำเนียงมาตรฐานและภาษาเขมรกรอม

ความเป็นมา[แก้]

"ภาษาเขมรเก่า" เป็นชื่อที่ใช้เรียกภาษาเขมรในยุคก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 14 ที่สืบทอดมาจากสามอาณาจักรที่สืบต่อกันมาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อาณาจักรฟูนาน[4] อาณาจักรเจนละ และอาณาจักรเขมร (พระนคร) เมื่ออาณาจักรดังกล่าวสามารถขยายอำนาจการปกครองเข้าสู่พื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ทิศตะวันตกสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงไปจนถึงทะเลอันดามัน และจากทางตอนเหนือของอ่าวไทยจรดไปจนถึงประเทศจีน ภาษาเขมรเก่าของชาวเขมรก็ได้กลายเป็นภาษาหลักและกลายเป็นภาษาราชการที่มีอิทธิพลครอบคลุมทั่วทั้งจักรวรรดิ แต่หลังจากที่อาณาจักรอยุธยาของชาวสยามได้เข้ามายึดเมืองพระนครในคริสตศตวรรษที่ 14 จักรวรรดิเขมรก็สูญเสียสิทธิทั้งในเชิงอำนาจและอิทธิพลลงอย่างต่อเนื่อง เช่นดินแดนทางตอนเหนือของทิวเขาพนมดงรักได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านช้าง ขณะที่ดินแดนทางตะวันตกและทางตะวันตกเฉียงเหนือก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา ส่วนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงก็ถูกผนวกกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเวียดนาม ศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของชาวเขมรถูกถอยร่นไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และในที่สุดก็ถูกลดทอนลงกลายเป็นวัฒนธรรมกันชนคั่นกลางระหว่างอาณาจักรรอบข้างที่ทรงอำนาจอย่างสยามและเวียดนาม ซึ่งมหาอำนาจทั้งสองต่างก็ต้องการที่จะแผ่อิทธิพลขยายอำนาจของตนเข้ามาปกครองอาณาจักรของชาวเขมรในฐานะรัฐบริวาร[5][6]

ภายใต้บริบทดังกล่าวนี้เอง การล่มสลายของจักรวรรดิเขมรได้ส่งผลให้ภาษาเขมรเก่าเกิดพัฒนาการขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นภาษาเขมรกลาง สำเนียงถิ่นต่าง ๆ ทั้งหมดในภาษาเขมรสมัยใหม่ล้วนแต่เป็นผลลัพธ์จาก "การแตกแยกทางภาษาในแต่ละชุมชน" ที่เกิดขึ้นในภาษาเขมรสมัยกลางโดยตรง[7] วิธีการเปรียบเทียบทางภาษาคือการใช้ภาษาเขมรสมัยใหม่ควบคู่ไปกับจารึกหรืองานเขียนของภาษาเขมรสมัยกลาง[1] วิธีการดังกล่าวทำให้นักภาษาศาสตร์สามารถที่จะวิจัยและสืบย้อนถึงร่องรอยและคุณลักษณะที่สำคัญของภาษาเขมรสมัยกลางได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากไม่มีหลักฐานที่มาจากภาษาเขมรสมัยเก่าโดยตรงหลงเหลืออยู่มากนัก ส่งผลให้นักภาษาศาสตร์จำเป็นที่จะต้องอาศัยการวิเคราะห์จารึกภาษาเขมรสมัยกลางผ่านระบบการเขียนของภาษาเขมรสมัยใหม่ เพื่อที่จะประดิษฐ์ภาษาเขมรเก่าขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะ[8] แม้ว่ากระบวนการดังกล่าวสามารถที่จะทำให้นักภาษาศาสตร์สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลและความสำคัญของภาษาเขมรสมัยกลางได้มากขึ้น แต่ก็กระทบกับกระบวนการสืบย้อนและประดิษฐ์ภาษาเขมรเดิมขึ้นใหม่อยู่พอสมควร[7]

ภาษาเขมรสมัยกลางช่วงต้น[แก้]

ภาษาเขมรสมัยกลางช่วงปลาย[แก้]

ภาษาเขมรสมัยกลางช่วงปลายเป็นช่วงที่มีหลักฐานชั้นต้นปรากฏอยู่ในรูปแบบของเอกสารหรือจารึกมากที่สุด นอกจากจารึกแล้ว ยังมีต้นฉบับคัมภีร์ใบลานจากหลาย ๆ สถานที่หรือหลาย ๆ สาขา ที่ปรากฎในรูปแบบ พงศาวดาร วรรณกรรม บทความทางจริยธรรม และ คู่มือปฏิบัติงาน[1] และในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ที่กลุ่มฐานเสียงพยัญชนะอโฆษะได้ลดความก้องของหน่วยเสียงลงมา พร้อม ๆ กับหน่วยเสียงสระต่าง ๆ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปอย่างเป็นระบบ[9]

สัทวิทยา[แก้]

ภาษาเขมรสมัยกลางซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกภาษาเขมรในช่วงเวลากึ่งกลางระหว่างยุคของภาษาเขมรเก่าและภาษาเขมรสมัยใหม่ ภาษาเขมรสมัยกลางถือว่าเป็นภาษาที่มีสัทวิทยาค่อนข้างใกล้เคียงกับภาษาเขมรสมัยใหม่เป็นอย่างมาก ๆ ทั้งในด้านของหน่วยเสียงพยัญชนะและสระ

เสียงพยัญชนะ[แก้]

เสียงสระ[แก้]

หน้า กลาง หลัง
สั้น ยาว สั้น ยาว สั้น ยาว
ปิด i ɨ ɨː u
กึ่งกลาง (e) ə əː (o)
กึ่งเปิด (ɛ) ɛː
เปิด a ɔ ɔː

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Jenner (1976), p. 693.
  2. Jenner (1976), p. 694.
  3. Vickery (1992), p. 240.
  4. Vickery (2003), p. 125.
  5. Keat (2004).
  6. Coedès (1968), pp. 236–237.
  7. 7.0 7.1 Sidwell (2009), p. 107.
  8. Wayland & Jongman (2002), p. 101.
  9. Headley (1998), p. 21.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  • Diffloth, Gérard (1990). A History of the Khmer Language. Cornell University Library, Ithaca, NY: Unpublished manuscript.
  • Headley, Robert K (1998). "Cham evidence for Khmer sound changes" (PDF). Papers in Southeast Asian Linguistics. 15: 21–29. สืบค้นเมื่อ 9 January 2016.
  • Jacob, Judith M (1968). Introduction to Cambodian. London: Oxford University Press. ISBN 978-0197135563.
  • Jacob, Judith M (1976). "An Examination of the Vowels and final Consonants in Correspondences between pre-Angkor and modern Khmer" (PDF). Pacific Linguistics. 42 (19): 19–38. สืบค้นเมื่อ 3 January 2016.
  • Lewitz, Saveros (1967). "La toponymie khmère". Bulletin de l'École Française d'Extrême-Orient (ภาษาฝรั่งเศส). 53 (2): 375–451. doi:10.3406/befeo.1967.5052.
  • Jenner, Philip N (1974). "The Development of the Registers in Standard Khmer" (PDF). Canberra: PL. 31: 47–60. สืบค้นเมื่อ 6 January 2016.
  • Jenner, Philip N (1975). "The final liquids of middle Khmer". STUF - Language Typology and Universals. 28 (1–6): 599–609. doi:10.1524/stuf.1975.28.16.599. S2CID 131639485.
  • Jenner, Philip N (1976). The Relative Dating of Some Khmer CPĀ'PA*. Oceanic Linguistics Special Publications. University of Hawai'i Press. pp. 693–710. JSTOR 20019179.
  • Keat, Gin Ooi, บ.ก. (2004). Southeast Asia: A Historical Encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor, Volume 1 (illustrated ed.). ABC-CLIO. ISBN 978-1576077702. สืบค้นเมื่อ 31 January 2016.
  • Sidwell, Paul (2009). "Classifying the Austroasiatic languages: history and state of the art". 76. Lincom Europa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 3 January 2016. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  • Vickery, Michael (1992). "Loan words and devoicing in Khmer" (PDF). Mon Khmer Studies. 18: 240–250. สืบค้นเมื่อ 12 January 2016.
  • Vickery, Michael (2003). "Funan reviewed: Deconstructing the ancients". Bulletin de l'École Française d'Extrême-Orient. 90 (1): 101–143. doi:10.3406/befeo.2003.3609.
  • Wayland, Ratree; Jongman, Allard (2001). "Chanthaburi Khmer vowels: phonetic and phonemic analyses" (PDF). Mon-Khmer Studies. 31: 65–82. สืบค้นเมื่อ 14 January 2016.
  • Wayland, Ratree; Jongman, Allard (2002). "Registrogenesis in Khmer: A Phonetic Account". Mon-Khmer Studies. 32: 101–114. สืบค้นเมื่อ 3 January 2016.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]