ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาซาร์ดิเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาซาร์ดิเนีย
sardu
ออกเสียง[ˈsaɾdu]
ประเทศที่มีการพูดอิตาลี
ภูมิภาคแคว้นซาร์ดิเนีย
ชาติพันธุ์ชาวซาร์ดิเนีย
จำนวนผู้พูด1,000,000[1]–1,350,000[2]  (2559)
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ แคว้นซาร์ดิเนีย[3][4] (อิตาลี)
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในอิตาลี
ผู้วางระเบียบ• อักขรวิธีแบบโลกูโดโร[5][6]
• อักขรวิธีแบบคัมปีดาโน[7][8]
• ประมวล ภาษาซาร์ดิเนียร่วม[9][10]
รหัสภาษา
ISO 639-1sc
ISO 639-2srd
ISO 639-3srdรหัสรวม Sardinian
รหัสเอกเทศ:
sro – ภาษาซาร์ดิเนียถิ่นคัมปีดาโน
src – ภาษาซาร์ดิเนียถิ่นโลกูโดโร
Linguasphere51-AAA-s
แผนที่ภาษาของแคว้นซาร์ดิเนีย พื้นที่สีเหลืองคือภาษาซาร์ดิเนียถิ่นโลกูโดโร ส่วนพื้นที่สีส้มคือภาษาซาร์ดิเนียถิ่นคัมปีดาโน
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาซาร์ดิเนีย (อังกฤษ: Sardinian; ซาร์ดิเนีย: sardu) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ภาษาหนึ่งที่ชาวซาร์ดิเนียใช้พูดบนเกาะซาร์ดิเนียในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก

นักภาษาศาสตร์ภาษากลุ่มโรมานซ์หลายคนเห็นว่าภาษาซาร์ดิเนีย (และภาษาอิตาลี) เป็นภาษาที่มีความใกล้ชิดกับภาษาละตินมากที่สุดในบรรดาภาษาที่สืบเชื้อสายมาจากภาษาละติน[11][12] อย่างไรก็ตาม ภาษานี้ยังได้รับอิทธิพลจากภาษาพื้นเดิม (substratum) ก่อนภาษาละตินอย่างภาษาซาร์ดิเนียดั้งเดิมและภาษาพิวนิก[13] รวมทั้งจากภาษาเหนือกว่า (superstratum) อย่างภาษากรีกไบแซนไทน์ ภาษากาตาลา ภาษาสเปน และภาษาอิตาลี องค์ประกอบจากภาษาเหล่านี้เป็นผลมาจากประวัติศาสตร์การเมืองของเกาะซาร์ดิเนีย กล่าวคือ เกาะนี้อยู่ภายใต้การครอบครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์อยู่ช่วงหนึ่งก่อนสมัยกลาง ต่อมาหลังจากพ้นสมัยแห่งการปกครองตนเองก็ตกอยู่ในเขตอิทธิพลของอาณาจักรจากคาบสมุทรไอบีเรียในสมัยกลางตอนปลาย และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาก็อยู่ภายใต้การปกครองของอิตาลี

ใน พ.ศ. 2540 ภาษาซาร์ดิเนียและภาษาอื่น ๆ ที่มีผู้พูดบนเกาะซาร์ดิเนียได้รับการรับรองจากกฎหมายระดับแคว้นว่าเป็นภาษาทางการของแคว้นซาร์ดิเนีย[3] และใน พ.ศ. 2542 ภาษาซาร์ดิเนียและภาษาชนกลุ่มน้อยทางประวัติศาสตร์ (อิตาลี: minoranze linguistiche storiche) อีกสิบเอ็ดภาษาได้รับการยอมรับในทำนองเดียวกันจากกฎหมายระดับประเทศ (กล่าวคือ กฎหมายเลขที่ 482/1999)[14] ในบรรดาภาษาเหล่านี้ ภาษาซาร์ดิเนียมีความโดดเด่นเนื่องจากมีจำนวนผู้พูดมากที่สุด[15][16][17][18]

อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้พูดภาษาซาร์ดิเนียเป็นภาษาแม่ได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการคุกคามความมีชีวิตชีวาของประชาคมผู้พูดภาษาซาร์ดิเนีย[19] แม้จะมีการประมาณใน พ.ศ. 2550 ว่าประชากรซาร์ดิเนียร้อยละ 68.4 สามารถพูดสื่อสารเป็นภาษาซาร์ดิเนียได้ดี[20] แต่ผู้พูดเหล่านั้นส่วนใหญ่มีอายุพ้นวัยเกษียณแล้ว มีรายงานว่ามีผู้พูดวัยเด็กเพียงร้อยละ 13 ที่รู้ภาษาซาร์ดิเนียถึงระดับดังกล่าว[21][22] โดยภาษาซาร์ดิเนียได้กลายเป็นภาษามรดก[23][24] ยูเนสโกได้จัดให้ภาษาซาร์ดิเนียอยู่ในกลุ่มภาษาใกล้สูญอย่างแน่นอน (definitely endangered)[25]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ti Alkire; Carol Rosen (2010). Romance languages : a Historical Introduction. New York: Cambridge University Press. p. 3.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. AA. VV. Calendario Atlante De Agostini 2017, Novara, Istituto Geografico De Agostini, 2016, p. 230
  3. 3.0 3.1 "Legge Regionale 15 ottobre 1997, n. 26". Regione autonoma della Sardegna – Regione Autònoma de Sardigna. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2021-01-04.
  4. "Legge Regionale 3 Luglio 2018, n. 22". Regione autonoma della Sardegna – Regione Autònoma de Sardigna.
  5. Massimo Pittau (2005). Grammatica del sardo illustre. Sassari: Carlo Delfino Editore.
  6. Francesco Corda (1994). Grammatica moderna del sardo logudorese : con una proposta ortografica, elementi di metrica e un glossario. Cagliari: Edizioni della Torre.
  7. Antonio Lepori (1979). Prontuario di grammatica sarda : variante campidanese. Cagliari: Litografia C.U.E.C.
  8. "Arrègulas po ortografia, fonètica, morfologia e fueddàriu de sa norma campidanesa de sa lìngua sarda" (PDF). Quartu S. Elena: Alfa Editrice. 2009.
  9. Bartolomeo Porcheddu (2012). Grammàtica de sa limba sarda comuna. Ossi: LogoSardigna.
  10. "Limba Sarda Comuna. Normas linguìsticas de referèntzia a caràtere isperimentale pro sa limba sarda iscrita de s'Amministratzione regionale" (PDF). Regione Autonoma della Sardegna. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-01-04.
  11. L'Aventure des langues en Occident, Henriette Walter, Le Livre de poche, Paris, 1994, p. 174
  12. "Romance languages". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). ...if the Romance languages are compared with Latin, it is seen that by most measures Sardinian and Italian are least differentiated..
  13. Mele, Antonio. Termini prelatini della lingua sarda tuttora vivi nell'uso. Edizioni Ilienses, Olzai
  14. "Legge 482". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-12. สืบค้นเมื่อ 28 November 2015.
  15. <<Nel 1948 la Sardegna diventa, anche per le sue peculiarità linguistiche, Regione Autonoma a statuto speciale. Tuttavia a livello politico, ufficiale, non cambia molto per la minoranza linguistica sarda, che, con circa 1,2 milioni di parlanti, è la più numerosa tra tutte le comunità alloglotte esistenti sul territorio italiano...>>. De Concini, Wolftraud (2003). Gli altri d'Italia : minoranze linguistiche allo specchio, Pergine Valsugana : Comune, p.196.
  16. "Lingue di Minoranza e Scuola, Sardo". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-16. สืบค้นเมื่อ 2016-07-16.
  17. "Inchiesta ISTAT 2000, pg.105-107" (PDF).
  18. "What Languages are Spoken in Italy?".
  19. Lubello, Sergio (2016). Manuale Di Linguistica Italiana, De Gruyter, Manuals of Romance linguistics, p.499
  20. "Oppo, Anna. Le lingue dei sardi, p. 7" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-01-07. สืบค้นเมื่อ 2021-01-04.
  21. La Nuova Sardegna, 04/11/10, Per salvare i segni dell'identità – di Paolo Coretti
  22. Piras, Luciano (2019-02-05). "Silanus diventa la capitale dei vocabolari dialettali". La Nuova Sardegna (ภาษาอิตาลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-05. สืบค้นเมื่อ 2021-01-04.
  23. "La situazione sociolinguistica della Sardegna settentrionale di Mauro Maxia". สืบค้นเมื่อ 28 November 2015.
  24. "Sardinian language use survey, 1995". Euromosaic. To access the data, click on List by languages, Sardinian, then scroll to "Sardinian language use survey".
  25. "Atlas of the World's Languages in Danger", UNESCO