ฟุตบอลในประเทศบราซิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลในประเทศบราซิล
ทิวทัศน์ช่วงกลางคืนของสนามกีฬามารากานัง ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2013
ประเทศบราซิล
องค์กรบริหารดูแลเซเบเอฟี
ทีมชาติบราซิล
แข่งขันครั้งแรกค.ศ. 1894 [1]
นักฟุตบอลจดทะเบียน2.1 ล้านคน[2]
จำนวนสโมสร29,208 สโมสร[2]
การแข่งขันระดับชาติ
การแข่งขันของสโมสร
การแข่งขันระดับนานาชาติ
สถิติผู้ชม
นัดเดียว199,854 คน
(ทีมชาติบราซิล 1-2 ทีมชาติอุรุกวัย ที่สนามกีฬามารากานังในฟุตบอลโลก 1950)[3]

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมมากที่สุดในบราซิลและเป็นส่วนสำคัญของเอกลักษณ์ประจำชาติ ฟุตบอลทีมชาติบราซิลชนะการแข่งฟุตบอลโลกห้าสมัย นับเป็นทีมที่ได้แชมป์รายการดังกล่าวมากที่สุด ทั้งในฟุตบอลโลก 1958, 1962, 1970, 1994 และ 2002 [4] มีเพียงทีมชาติบราซิลและเยอรมนีเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในที่ผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือกการแข่งขันฟุตบอลโลกได้ทุกสมัย แต่ทีมชาติบราซิลเป็นทีมเดียวที่มีส่วนร่วมในการแข่งขันฟุตบอลโลกทุกครั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในรายการโปรดที่ต้องการชนะทุกครั้งที่มีการแข่ง หลังจากที่ทีมชาติบราซิลเป็นแชมป์ฟุตบอลโลกครั้งที่สามในปี ค.ศ. 1970 ทีมนี้ได้รับถ้วยรางวัลชูล รีเมอย่างถาวร แต่ 365 วันก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 อันดับโลกฟีฟ่าของทีมชาติบราซิลได้ร่วงลงมาอยู่ในอันดับที่ 22 นับเป็นตำแหน่งต่ำสุดที่เคยได้รับ[5] ทั้งนี้ ทีมชาติบราซิลยังเคยได้รับรางวัลเหรียญทองโอลิมปิก ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ที่จัดขึ้นในรีโอเดจาเนโร[6]

ส่วนเปเล่ เป็นผู้ครองสถิติฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยสามารถนำทีมชาติบราซิลครองแชมป์ฟุตบอลโลกได้ถึงสามสมัย นอกจากนี้ ผู้เล่นชั้นนำของทีมชาติบราซิลต่างก็โดดเด่นในวงการฟุตบอล ไม่ว่าจะเป็นการ์ฮิงชา, กาฟู, โรแบร์ตู การ์ลุส, โรมารีอู, รีวัลดู, โรนัลโด, รอนัลดีนโย, กาก้า และเนย์มาร์ ในการแข่งขันชาย และมาร์ธา ในการแข่งขันหญิง บางส่วนของผู้เล่นเหล่านี้ได้รับการพิจารณาให้เป็นนักฟุตบอลระดับซูเปอร์สตาร์ ด้วยการบรรลุสถานะผู้มีชื่อเสียงในระดับสากลและการเซ็นสัญญากีฬา รวมทั้งสัญญาการโฆษณาและสัญญารับรองในในมูลค่านับล้านยูโร

สำหรับฝ่ายบริหารฟุตบอลในประเทศบราซิล คือ สมาพันธ์ฟุตบอลบราซิล

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ donohue
  2. 2.0 2.1 "Brazilian Soccer: A Country of "Soccerists"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-10. สืบค้นเมื่อ 2018-06-08.
  3. Largest Sporting Crowds at Top End Sports
  4. "Brazilian Football". Brazilian Football. สืบค้นเมื่อ 2014-02-21.
  5. "Brazil plummets to No. 22 in FIFA rankings". สืบค้นเมื่อ June 14, 2013.
  6. http://www.latimes.com/sports/olympics/la-sp-oly-rio-2016-brazil-tops-germany-for-soccer-gold-1471736142-htmlstory.html