ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศราช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
wwv
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{มุมมองสากล}}
[[ไฟล์:National Museum KL 2008 (36).JPG|200px|thumb|[[ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง]]ที่หัวเมืองมลายูส่งมาเป็นเครื่องราชบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงสยาม]]
[[ไฟล์:National Museum KL 2008 (36).JPG|200px|thumb|[[ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง]]ที่หัวเมืองมลายูส่งมาเป็นเครื่องราชบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงสยาม]]
'''ประเทศราช'''<ref>[[ราชบัณฑิตยสถาน]], ''[[พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554]] เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว'', กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 708</ref> หรือ'''รัฐบรรณาการ''' หมายถึง [[รัฐ]]ที่มี[[ประมุข]]เป็นของตนเอง แต่ผู้ภายใต้อำนาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของ[[พระมหากษัตริย์]]อีกรัฐหนึ่ง เจ้าผู้ครองนครประเทศราชมีหน้าที่ต้องส่งเครื่องราช[[บรรณาการ]]ถวายเป็นประจำ และในยามศึกสงครามต้องส่งกองกำลังเข้าช่วยกองทัพหลวงด้วย มีลักษณะคล้าย[[รัฐในอารักขา]]ของ[[จักรวรรดินิยม]]ตะวันตก
'''ประเทศราช'''<ref>[[ราชบัณฑิตยสถาน]], ''[[พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554]] เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว'', กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 708</ref> หรือ'''รัฐบรรณาการ''' หมายถึง [[รัฐ]]ที่มี[[ประมุข]]เป็นของตนเอง แต่ผู้ภายใต้อำนาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของ[[พระมหากษัตริย์]]อีกรัฐหนึ่ง เจ้าผู้ครองนครประเทศราชมีหน้าที่ต้องส่งเครื่องราช[[บรรณาการ]]ถวายเป็นประจำ และในยามศึกสงครามต้องส่งกองกำลังเข้าช่วยกองทัพหลวงด้วย มีลักษณะคล้าย[[รัฐในอารักขา]]ของ[[จักรวรรดินิยม]]ตะวันตก

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:56, 16 กรกฎาคม 2557

ต้นไม้เงินต้นไม้ทองที่หัวเมืองมลายูส่งมาเป็นเครื่องราชบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงสยาม

ประเทศราช[1] หรือรัฐบรรณาการ หมายถึง รัฐที่มีประมุขเป็นของตนเอง แต่ผู้ภายใต้อำนาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์อีกรัฐหนึ่ง เจ้าผู้ครองนครประเทศราชมีหน้าที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการถวายเป็นประจำ และในยามศึกสงครามต้องส่งกองกำลังเข้าช่วยกองทัพหลวงด้วย มีลักษณะคล้ายรัฐในอารักขาของจักรวรรดินิยมตะวันตก

ประเทศราช แบ่งออกเป็น 3 ชั้น[2] ตามบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง ได้แก่

  1. พระเจ้าประเทศราช เช่น พระเจ้าดวงทิพย์ ผู้ครองนครลำปาง
  2. เจ้าพระยาประเทศราช เช่น เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช
  3. พระยาประเทศราช เช่น พระยาวิเชียรปราการ (บุญมา) ผู้ครองนครเชียงใหม่

ศักดินา

ในราชอาณาจักรสยาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ตราพระราชบัญญัติศักดินาเจ้านายพระยาท้าวแสนประเทศราช[3] ดังนี้

เจ้าเมืองประเทศราช ศักดินา (ไร่) เทียบเท่า
พระเจ้าประเทศราช 15,000 เจ้าต่างกรม
เจ้าประเทศราช 10,000 ข้าหลวงเทศาภิบาล
พระยาประเทศราช 8,000 เจ้าพระยาวังหน้า

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครที่ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระเจ้าประเทศราช

เจ้าผู้ครองนครที่ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระเจ้าประเทศราช ของสยาม ได้แก่[4]

พระนาม นคร วันที่ได้รับพระราชทานสถาปนา
พระบรมราชาธิบดี ศรีสุริยวงศ์อินทรสุรศักดิ์ สมญามหาขัตติยราชชาติราไชยสวรรย์ เจ้าขัณฑสีมา พระนครเชียงใหม่ราชธานี นครเชียงใหม่ พ.ศ. 2345
พระเจ้านครลำปางดวงทิพ นครลำปาง พ.ศ. 2366
พระเจ้านครลำพูนบุญมา นครลำพูน พ.ศ. 2369
พระเจ้ามโหตรประเทศ ราชาธิบดินทร นพีสินทรมหานคราธิษฐาน ภูบาลบพิตร์ สถิตในอุดมชิยางคราชวงษ์ พระเจ้านครเชียงใหม่ นครเชียงใหม่ พ.ศ. 2396
พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงษ์ ดำรงนพิสีนคร สุนทรทศลักษณเกษตร วรฤทธิเดชศรีโยนางคดไนยราชวงษาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่ นครเชียงใหม่ พ.ศ. 2404
พระเจ้าอินทวิชยานนท์พหลเทพภักดี ศรีโยนางคราชวงศาธิตัย มโหตรพิสัยธุระสิทธิธาดา ประเทศราชานุภาวบริหาร ภูบาลบพิตรสถิตชิยางคราชวงศ์ พระเจ้านครเชียงใหม่ นครเชียงใหม่ พ.ศ. 2426
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุระมหาราชวงษาธิบดี สุจริตจารีราชานุภาวรักษ์ วิบุลยศักดิ์กิตติไพศาล ภูบาลบพิตร์ สถิต ณ นันทราชวงษ์ พระเจ้านครเมืองน่าน นครน่าน 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 708
  2. ชูวงศ์ ฉายะบุตร, การปกครองท้องถิ่นไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์, หน้า44
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติศักดินาเจ้านายพระยาท้าวแสนประเทศราช, เล่ม 16, วันที่ 16 กรกฎาคม ร.ศ. 118, หน้า 197
  4. วรชาติ มีชูบท, เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ, กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, หน้า 35