ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การประสูติของพระเยซู"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink: คอมมอนส์-หมวดหมู่
Ptbotgourou (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2) (โรบอต เพิ่ม: ar:ميلاد يسوع
บรรทัด 31: บรรทัด 31:


[[als:Weihnachtsgeschichte]]
[[als:Weihnachtsgeschichte]]
[[ar:ميلاد يسوع]]
[[br:Ginivelezh]]
[[br:Ginivelezh]]
[[ca:Nativitat de Jesús]]
[[ca:Nativitat de Jesús]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:02, 10 พฤศจิกายน 2555

“การประสูติ” โดยเปตรุส คริสตุส (Petrus Christus) ราว ค.ศ. 1445

การประสูติของพระเยซู (อังกฤษ: The Nativity of Jesus; the Nativity) หรือพระคริสตสมภพ[1] เป็นเรื่องราวการกำเนิดของพระเยซู สำหรับคริสต์ศาสนิกชนรายละเอียดเป็นทางการของการประสูติกล่าวไว้ในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ รายละเอียดที่ละเอียดกว่าจากแหล่งอื่นก็มีแต่มิได้รวมอยู่ในสารบบคัมภีร์ไบเบิล พระวรสารนักบุญลูกาซึ่งเป็นเชื่อกันว่าเป็นพระวรสารฉบับแรกของพระวรสารในสารบบก็มิได้กล่าวถึงการประสูติของพระเยซู[2]

คำบรรยายของพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกากล่าวว่าพระเยซูชาวนาซาเร็ธเป็นบุตรของพระแม่มารีย์ ขณะมีตั้งครรภ์ได้หมั้นอยู่กับโยเซฟจากตระกูลเดวิด เรื่องนี้คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูประสูติจากหญิงพรหมจารีเพราะเป็นการกำเนิดโดยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์โดยมารดามิได้ร่วมประเวณีกับโยเซฟเลย คริสตชนจึงถือว่าโยเซฟเป็นเพียงบิดาบุญธรรม ทูตสวรรค์ได้ประกาศถึงการประสูติพระเยซูต่อคนเลี้ยงแกะ โหราจารย์สามคนก็ทราบเพราะได้เห็นดวงดาว[3] พระวรสารกล่าวว่าการกำเนิดของพระเยซูเป็นไปตามคำพยากรณ์ของเหล่าผู้เผยพระวจนะชาวอิสราเอล

การระลึกถึง การแสดง หรือการสร้างสัญลักษณ์เกี่ยวกับการกำเนิดของพระเยซูถือเป็นหัวใจของการฉลองเทศกาลคริสต์มาสของคริสต์ศาสนิกชน คำว่า “คริสต์มาส” เป็นการฉลองเทศกาลที่แสดงความเชื่อว่าพระเยซูชาวนาซาเรธเป็น “พระคริสต์” หรือ “พระเมสสิยาห์” ตามคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม ในบางคริสตจักร เช่น โรมันคาทอลิก ถือว่าจุดยอดของการฉลองอยู่ที่ พิธีมิสซาเที่ยงคืน หรือเช้าวันคริสต์มาสซึ่งจะเป็นวันที่ 25 ธันวาคมเสมอ ทางอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะอดอาหารก่อนวันคริสต์มาส 40 วัน และวันอาทิตย์สี่วันก่อนคริสต์มาสคริสต์ศาสนิกชนทั้งนิกายโรมันคาทอลิกและแองกลิคันก็จะฉลองเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระเยซู เพื่อเป็นการเตรียมตัวทางใจเพื่อความพร้อมที่จะฉลองวันประสูติของพระเยซู

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA