ผลต่างระหว่างรุ่นของ "47 หมีใหญ่"
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปแอนดรอยด์ |
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปแอนดรอยด์ |
||
บรรทัด 1: | บรรทัด 1: | ||
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}} |
|||
{{Starbox begin |
|||
| name = 47 หมีใหญ่ |
|||
}} |
|||
{{Starbox image |
|||
| image={{Location map|100x100 |
|||
|AlternativeMap=Ursa Major constellation map.svg |
|||
|caption= |
|||
|width=250 |
|||
|lat=22 |long=60.6 |
|||
|mark=Locator Dot.gif | marksize=5 |
|||
|float=center |
|||
}}|caption=จุดสีแดงแสดงตำแหน่งของดาว 47 หมีใหญ่ ใน[[กลุ่มดาวหมีใหญ่]] |
|||
}} |
|||
{{Starbox observe |
|||
| epoch = J2000.0 |
|||
| constell = [[กลุ่มดาวหมีใหญ่|กลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major)]] |
|||
| ra = {{RA|10|59|27.97}}<ref name="hipparcos"> |
|||
{{cite web |
|||
| author=F. van Leeuwen |
|||
| date=2007 |
|||
| title=HIP 53721 |
|||
| url=http://webviz.u-strasbg.fr/viz-bin/VizieR-5?-out.add=.&-source=I/311/hip2&recno=53550 |
|||
| work=Hipparcos, the New Reduction |
|||
| accessdate=2009-12-08 |
|||
}}</ref> |
|||
| dec = {{DEC|+40|25|48.9}}<ref name="hipparcos"/> |
|||
| appmag_v = +5.03 |
|||
}} |
|||
{{Starbox character |
|||
| class = G1V |
|||
| r-i = |
|||
| v-r = |
|||
| b-v = 0.61 |
|||
| u-b = 0.13 |
|||
}} |
|||
{{Starbox astrometry |
|||
| radial_v = +12.6 |
|||
| prop_mo_ra = –317.01 ± 0.22<ref name="hipparcos"/> |
|||
| prop_mo_dec = 54.64 ± 0.20<ref name="hipparcos"/> |
|||
| parallax = 71.11 |
|||
| p_error = 0.25 |
|||
| parallax_footnote = <ref name="hipparcos"/> |
|||
| absmag_v = 4.41<ref name=aaa343_222>{{citation | display-authors=2 | last1=Elgarøy | first1=Øystein | last2=Engvold | first2=Oddbjørn | last3=Lund | first3=Niels | title=The Wilson-Bappu effect of the MgII K line - dependence on stellar temperature, activity and metallicity | journal=Astronomy and Astrophysics | volume=343 | pages=222–228 | bibcode=1999A&A...343..222E |date=March 1999}}</ref> |
|||
}} |
|||
{{Starbox detail |
|||
| mass = 1.08<ref name="cne_stars">{{cite web |
|||
|title=Stars Table |
|||
|url=http://exoplanets.org/stars.shtml |
|||
|work=[[:en:Catalog of Nearby Exoplanets|Catalog of Nearby Exoplanets]] |
|||
|accessdate=2008-10-04 |
|||
|archiveurl=https://web.archive.org/web/20081017112415/http://exoplanets.org/stars.shtml |
|||
|archivedate=2008-10-17 |
|||
|url-status=dead |
|||
}}</ref> |
|||
| radius = 1.172 ± 0.111 <ref name="Belle"> |
|||
{{cite journal |
|||
| author=G. T. van Belle |
|||
| author2=K. von Braun |
|||
| date=2009 |
|||
| title=Directly Determined Linear Radii and Effective Temperatures of Exoplanet Host Stars |
|||
| journal=[[:en:Astrophysical Journal|Astrophysical Journal]] |
|||
| volume=694 | issue=2 | pages=1085–1098 |
|||
| doi=10.1088/0004-637X/694/2/1085 |
|||
| bibcode=2009ApJ...694.1085V |
|||
| arxiv=0901.1206 |
|||
}}</ref> |
|||
| temperature = 5887 ± 3.8 <ref> |
|||
{{cite journal |
|||
| author=V. V. Kovtyukh |
|||
| date=2003 |
|||
| title=High precision effective temperatures for 181 F-K dwarfs from line-depth ratios |
|||
| journal=[[:en:Astronomy and Astrophysics|Astronomy and Astrophysics]] |
|||
| volume=411 | issue=3 | pages=559–564 |
|||
| doi=10.1051/0004-6361:20031378 |
|||
| bibcode=2003A&A...411..559K |
|||
| arxiv = astro-ph/0308429 |
|||
| last2=Soubiran |
|||
| first2=C. |
|||
| last3=Belik |
|||
| first3=S. I. |
|||
| last4=Gorlova |
|||
| first4=N. I. | display-authors=2 |
|||
}}</ref> |
|||
| luminosity = 1.48<ref name=bolometric_luminosity group=note>จาก <small>''L=4πR<sup>2</sup> σT<sup>4</sup><sub style='position: relative; left: -.7em;'>eff</sub>''</small>, เมื่อ <small>''L''</small> คือค่าการส่องสว่าง, <small>''R''</small> คือรัศมี, <small>''T''<sub>eff</sub></small> คือผลจากอุณหภูมิพื้นผิว และ <small>''σ''</small> คือค่าคงที่ สเตฟาน–โบลทซ์มานน์</ref> |
|||
| metal = 110% solar<ref name="cne_stars" /> |
|||
| rotational_velocity = 2.80<ref name="cne_stars" /> |
|||
| gravity = 4.377<ref name="cne_stars" /> |
|||
| age = 6.03 × 10<sup>9</sup><ref name="saffe05"> |
|||
{{cite journal |
|||
|author=C. Saffe |
|||
|date=2005 |
|||
|title=On the Ages of Exoplanet Host Stars |
|||
|journal=[[:en:Astronomy and Astrophysics|Astronomy and Astrophysics]] |
|||
|volume=443 |issue=2 |pages=609–626 |
|||
|bibcode=2005A&A...443..609S |
|||
|doi=10.1051/0004-6361:20053452 |
|||
|arxiv = astro-ph/0510092 |
|||
|last2=Gómez |
|||
|first2=M. |
|||
|last3=Chavero |
|||
|first3=C. |display-authors=2 |
|||
}}</ref> |
|||
}} |
|||
{{Starbox catalog |
|||
| names = Chalawan, [[:en:Durchmusterung|BD]]+41°2147, [[:en:Catalogues of Fundamental Stars|FK5]] 1282, [[:en:Boss General Catalogue|GC]] 15087, [[:en:General Catalogue of Trigonometric Parallaxes|GCTP]] 2556.00, [[:en:Gliese Catalogue of Nearby Stars|Gliese]] 407, [[:en:Henry Draper catalogue|HD]] 95128, [[:en:Hipparcos catalogue|HIP]] 53721, [[:en:Harvard Revised catalogue|HR]] 4277, [[:en:Luyten Two-Tenths catalogue|LTT]] 12934, [[:en:Smithsonian Astrophysical Observatory Star Catalog|SAO]] 43557 |
|||
}} |
|||
{{Starbox reference |
|||
| Simbad = 47+UMa|sn=The star |
|||
| Simbad2 =*+47+UMa+b|sn2=planet b |
|||
| Simbad3 =*+47+UMa+c|sn3=planet c |
|||
| Simbad4 =*+47+UMa+d|sn4=planet d |
|||
| EPE = 47+UMa |
|||
| NSTED = 47+UMa |
|||
| ARICNS = 00833 |
|||
}} |
|||
{{Starbox end}} |
|||
'''47 หมีใหญ่''' (47 Ursae Majoris ย่อเป็น 47 UMa) หรือชื่อว่า'''ชาละวัน''' เป็น[[ดาวแคระเหลือง]]อยู่ห่างจากโลกประมาณ 46 [[ปีแสง]]ใน[[กลุ่มดาวหมีใหญ่]] ในปี พ.ศ. 2554 เชื่อว่าดาวเคราะห์นอกระบบสามดวงชื่อ ([[47 หมีใหญ่ บี]], ซีและดี ซึ่งสองดวงแรกได้ชื่อว่า'''ตะเภาทอง'''และ'''ตะเภาแก้ว''') โคจรรอบดาวฤกษ์นี้ |
'''47 หมีใหญ่''' (47 Ursae Majoris ย่อเป็น 47 UMa) หรือชื่อว่า'''ชาละวัน''' เป็น[[ดาวแคระเหลือง]]อยู่ห่างจากโลกประมาณ 46 [[ปีแสง]]ใน[[กลุ่มดาวหมีใหญ่]] ในปี พ.ศ. 2554 เชื่อว่าดาวเคราะห์นอกระบบสามดวงชื่อ ([[47 หมีใหญ่ บี]], ซีและดี ซึ่งสองดวงแรกได้ชื่อว่า'''ตะเภาทอง'''และ'''ตะเภาแก้ว''') โคจรรอบดาวฤกษ์นี้ |
||
47 หมีใหญ่ตั้งอยู่ค่อนข้างใกล้กับ[[ระบบสุริยะ]] จากข้อมูลของการวัดวิชา[[การวัดตำแหน่งดาว]]โดยดาวเทียมวัดตำแหน่งดาวฮิปพาร์คอส ดาวนี้มี[[พารัลแลกซ์]] 71.11 มิลลิพิ[[ลิปดาและพิลิปดา|ลิปดา]] สอดคล้องกับระยะทาง 45.913 [[ปีแสง]] ดาวนี้มี[[ความส่องสว่างปรากฏ]] +5.03 ซึ่งมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและมี[[ความส่องสว่างสัมบูรณ์]] +4.29 หมายความว่า ความสว่างมากกว่า[[ดวงอาทิตย์]]ประมาณ 60% ดาวนี้เป็นแฝดดวงอาทิตย์ (solar analog) ด้วย[[การจัดประเภทดาวฤกษ์|ชนิดสเปกตรัม]] G1V มีมวลพอ ๆ กับดวงอาทิตย์แต่ร้อนกว่าประมาณ 5,882 [[เคลวิน|K]]<ref name="cne_stars"/> และ[[ความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์)|เป็นโลหะ]]มากกว่าเล็กน้อย คือ ประมาณ 110% ของความอุดม ([[:en:Abundance_of_the_chemical_elements|abundance]]) เหล็กของดวงอาทิตย์ |
47 หมีใหญ่ตั้งอยู่ค่อนข้างใกล้กับ[[ระบบสุริยะ]] จากข้อมูลของการวัดวิชา[[การวัดตำแหน่งดาว]]โดยดาวเทียมวัดตำแหน่งดาวฮิปพาร์คอส ดาวนี้มี[[พารัลแลกซ์]] 71.11 มิลลิพิ[[ลิปดาและพิลิปดา|ลิปดา]] สอดคล้องกับระยะทาง 45.913 [[ปีแสง]] ดาวนี้มี[[ความส่องสว่างปรากฏ]] +5.03 ซึ่งมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและมี[[ความส่องสว่างสัมบูรณ์]] +4.29 หมายความว่า ความสว่างมากกว่า[[ดวงอาทิตย์]]ประมาณ 60% ดาวนี้เป็นแฝดดวงอาทิตย์ (solar analog) ด้วย[[การจัดประเภทดาวฤกษ์|ชนิดสเปกตรัม]] G1V มีมวลพอ ๆ กับดวงอาทิตย์แต่ร้อนกว่าประมาณ 5,882 [[เคลวิน|K]]<ref name="cne_stars"/> และ[[ความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์)|เป็นโลหะ]]มากกว่าเล็กน้อย คือ ประมาณ 110% ของความอุดม ([[:en:Abundance_of_the_chemical_elements|abundance]]) เหล็กของดวงอาทิตย์ |
||
เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ 47 หมีใหญ่อยู่บนลำดับหลัก โดยเปลี่ยน[[ไฮโดรเจน]]เป็น[[ฮีเลียม]]โดยปฏิกิริยา[[นิวเคลียร์ฟิวชัน]] โดยอาศัยกัมมันตภาพ[[โครโมสเฟียร์]] ดาวฤกษ์นี้อาจมีอายุประมาณ 6,000 ล้านปี แม้แบบจำลองวิวัฒนาการแนะว่าอายุอาจสูงถึงประมาณ 8,700 ล้านปี |
เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ 47 หมีใหญ่อยู่บนลำดับหลัก โดยเปลี่ยน[[ไฮโดรเจน]]เป็น[[ฮีเลียม]]โดยปฏิกิริยา[[นิวเคลียร์ฟิวชัน]] โดยอาศัยกัมมันตภาพ[[โครโมสเฟียร์]] ดาวฤกษ์นี้อาจมีอายุประมาณ 6,000 ล้านปี แม้แบบจำลองวิวัฒนาการแนะว่าอายุอาจสูงถึงประมาณ 8,700 ล้านปี |
||
{{cite journal |
|||
| author=E. E. Mamajek |
|||
| author2=L. A. Hillenbrand |
|||
| date=2008 |
|||
| title=Improved Age Estimation for Solar-Type Dwarfs Using Activity-Rotation Diagnostics |
|||
| journal=[[:en:Astrophysical Journal|Astrophysical Journal]] |
|||
| volume=687 | issue=2 | pages=1264–1293 |
|||
| bibcode=2008ApJ...687.1264M |
|||
| doi=10.1086/591785 |
|||
| arxiv = 0807.1686 }}</ref> |
|||
== ชื่อ == |
== ชื่อ == |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:12, 29 ธันวาคม 2564
47 หมีใหญ่ (47 Ursae Majoris ย่อเป็น 47 UMa) หรือชื่อว่าชาละวัน เป็นดาวแคระเหลืองอยู่ห่างจากโลกประมาณ 46 ปีแสงในกลุ่มดาวหมีใหญ่ ในปี พ.ศ. 2554 เชื่อว่าดาวเคราะห์นอกระบบสามดวงชื่อ (47 หมีใหญ่ บี, ซีและดี ซึ่งสองดวงแรกได้ชื่อว่าตะเภาทองและตะเภาแก้ว) โคจรรอบดาวฤกษ์นี้
47 หมีใหญ่ตั้งอยู่ค่อนข้างใกล้กับระบบสุริยะ จากข้อมูลของการวัดวิชาการวัดตำแหน่งดาวโดยดาวเทียมวัดตำแหน่งดาวฮิปพาร์คอส ดาวนี้มีพารัลแลกซ์ 71.11 มิลลิพิลิปดา สอดคล้องกับระยะทาง 45.913 ปีแสง ดาวนี้มีความส่องสว่างปรากฏ +5.03 ซึ่งมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและมีความส่องสว่างสัมบูรณ์ +4.29 หมายความว่า ความสว่างมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 60% ดาวนี้เป็นแฝดดวงอาทิตย์ (solar analog) ด้วยชนิดสเปกตรัม G1V มีมวลพอ ๆ กับดวงอาทิตย์แต่ร้อนกว่าประมาณ 5,882 K[1] และเป็นโลหะมากกว่าเล็กน้อย คือ ประมาณ 110% ของความอุดม (abundance) เหล็กของดวงอาทิตย์
เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ 47 หมีใหญ่อยู่บนลำดับหลัก โดยเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมโดยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน โดยอาศัยกัมมันตภาพโครโมสเฟียร์ ดาวฤกษ์นี้อาจมีอายุประมาณ 6,000 ล้านปี แม้แบบจำลองวิวัฒนาการแนะว่าอายุอาจสูงถึงประมาณ 8,700 ล้านปี
ชื่อ
47 Ursae Majoris เป็นชื่อในระบบแฟลมสตีด (Flamsteed designation) และในการค้นพบดาวเคราะห์ในระบบของดาว 47 Ursae Majoris จึงถูกกำหนดชื่อต่อเนื่องเป็น 47 Ursae Majoris b, c และ d
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) ได้ประกาศกระบวนการกำหนดชื่อที่เหมาะสมแก่ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะและดาวฤกษ์แม่[2] กระบวนการดำเนินโดยการเสนอชื่อสาธารณะและการเลือกโดยการลงคะแนน[3] ซึ่งในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้ประกาศชื่อสามัญให้กับดาว 47 Ursae majoris ใหม่ว่า "ดาวชาละวัน" (Chalawan) อันเป็นชื่อสามัญของดาวฤกษ์เป็นภาษาไทยครั้งแรก[4] ส่วนดาวเคราะห์ในระบบของดาว 47 หมีใหญ่ อีก 2 ดวง คือดาว 47 Ursae majoris b (ดาว 47 หมีใหญ่ บี) และดาว 47 Ursae majoris c (ดาว 47 หมีใหญ่ ซี) ได้ชื่อสามัญว่า "ดาวตะเภาทอง" (Taphao Thong) และ "ดาวตะเภาแก้ว" (Taphao Kaew) ตามลำดับ โดยชื่อทั้ง 3 เสนอโดยสมาคมดาราศาสตร์ไทย[5] (ชาละวัน นอกจากเป็นชื่อในนิทานพื้นบ้านแล้ว 'Chalawan' ยังเป็นชื่อที่กำหนดให้กับสกุล ในอันดับจระเข้ที่สูญพันธุ์ไปแล้วซึ่งมีสายพันธุ์เดียวคือ Chalawan thailandicus[6])
ในปี พ.ศ. 2559 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้จัดทำคณะทำงานเกี่ยวกับชื่อดาว (WGSN)[7] เพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อและกำหนดมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับชื่อดาว ในแถลงการณ์ฉบับแรกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559[8] คณะทำงานฯ ได้ระบุชื่อดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะและดาวฤกษ์แม่ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก คณะกรรมการบริหารการตั้งชื่อสาธารณะของดาวเคราะห์และบริวารดาวเคราะห์ รวมถึงชื่อของดาวฤกษ์ที่ได้รับในระหว่างกระบวนการรณรงค์กำหนดชื่อในปี พ.ศ. 2558 (2015 NameExoWorlds) ปัจจุบันดาวดวงนี้อยู่ในบัญชีรายชื่อดาวของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล[9]
ระบบดาวเคราะห์
ในปีพ.ศ. 2539 ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ 47 หมีใหญ่ บี ถูกประกาศการค้นพบโดยโคจรรอบดาวฤกษ์ 47 หมีใหญ่ โดย Geoffrey Marcy และ R. Paul Butler การค้นพบนี้เกิดขึ้นจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนด็อพเพลอร์ของสเปกตรัมของดาว ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของความเร็วเชิงรัศมีของดาว เช่นเดียวกับเมื่อมีแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ดึงไปรอบ ๆ[10] ดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ค้นพบดวงแรก ที่มีคาบการโคจรระยะยาวต่างจากดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะส่วนใหญ่ มีวงโคจรที่มีความเยื้องศูนย์ต่ำ ดาวเคราะห์มีมวลอย่างน้อย 2.53 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดีและใช้เวลา 1,078 วันหรือ 2.95 ปีเพื่อโคจรรอบดาวฤกษ์ดวงแม่ หากนำมาเปรียบเทียบกับระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ดวงนี้จะมีวงโคจรอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี[11]
ในปีพ.ศ. 2544 การตรวจวัดทางดาราศาสตร์เบื้องต้นโดยเครื่องมือวัดของดาวเทียม Hipparcos ชี้ให้เห็นว่าวงโคจรของ 47 หมีใหญ่ บี นั้นมีมุมเอียง 63.1° กับระนาบของท้องฟ้าซึ่งหมายความว่ามวลที่แท้จริงของดาวเคราะห์นั้นอยู่ที่ 2.9 เท่าของดาวพฤหัสบดี[12] อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ที่ตามมาชี้ให้เห็นว่าการวัดโดย Hipparcos นั้นไม่แม่นยำพอที่จะระบุวงโคจรของดาวบริวารของดาวฤกษ์ได้อย่างแม่นยำ และยังไม่ทราบความเอียงของวงโคจรและมวลที่แท้จริง[13]
มีการประกาศการค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่สอง (47 หมีใหญ่ ซี) ในปี พ.ศ. 2545 โดย Debra Fischer, Geoffrey Marcy และ R. Paul Butler การค้นพบนี้ทำขึ้นโดยใช้วิธีวัดความเร็วเชิงรัศมีเช่นเดียวกัน จากข้อมูลของ Fischer และคณะ ดาวเคราะห์ดวงนี้ใช้เวลาประมาณ 2,391 วันหรือ 6.55 ปีในคาบการโคจร ระยะเวลาของค่านี้คล้ายกับ อัตราส่วนคาบการโคจรของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ในระบบสุริยะ โดยมีอัตราส่วนวงโคจร (ใกล้กับ 5: 2) และอัตราส่วนมวลใกล้เคียงกัน[14] การตรวจวัดครั้งต่อมาไม่สามารถยืนยันการมีอยู่ของดาวเคราะห์ดวงที่สองได้ และมีการบันทึกไว้ว่าชุดข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบการมีอยู่ของดาว มีค่าตัวแปรของดาวเคราะห์ที่ "เกือบจะไม่สามารถกำหนดค่าได้" [15] การวิเคราะห์ชุดข้อมูลที่ยาวกว่าซึ่งครอบคลุมมากกว่า 6,900 วันแสดงให้เห็นว่า ดาวเคราะห์ดวงที่สองในระบบมีความน่าจะเป็นต่ำที่จะมีระยะเวลาโคจรใกล้เคียง 2,500 วัน และแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุดให้ระยะเวลาการโคจร 7,586 วัน ระยะทาง 7.73 หน่วยดาราศาสตร์จากดาวฤกษ์แม่ อย่างไรก็ตามตัวแปรของดาวเคราะห์ดวงที่สองยังคงมีความไม่แน่นอนสูง[16] ในทางตรงกันข้ามจากบัญชีรายชื่อของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่อยู่ใกล้เคียงนั้นให้ระยะเวลาโคจร 2,190 วันซึ่งจะทำให้ช่วงเวลาการโคจรของดาวเคราะห์สองดวงใกล้เคียงกับอัตราส่วน 2: 1 ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลนี้ได้รับการนำเสนอโดยสารานุกรมดาวเคราะห์นอกระบบ (Extrasolar Planets Encyclopaedia)[17] แต่แม้ว่าการอ้างอิงสำหรับตัวแปรเหล่านี้จะไม่แน่นอน: ต้นฉบับรายงานของ Fischer และคณะ ยังถูกใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง ทั้ง ๆ ที่รายงานให้ค่าตัวแปรที่แตกต่างกัน[14][18]
ในปี พ.ศ. 2553 การค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่สาม (47 หมีใหญ่ ดี) กระทำโดยใช้แบบจำลอง Bayesian Kepler Periodogram ซึ่งการใช้แบบจำลองของระบบดาวเคราะห์นี้ได้มีการพิจารณาแล้วว่ามีแนวโน้มที่จะมีดาวเคราะห์สามดวงมากกว่า 100,000 เท่าของการมีดาวเคราะห์สองดวง การค้นพบนี้ได้รับการประกาศโดย Debra Fischer และ P.C Gregory ดาวเคราะห์มวล 1.64 เท่าของดาวพฤหัสบดีนี้มีคาบการโคจร 14,002 วันหรือ 38.33 ปีและกึ่งแกนเอกของวงโคจรมีระยะ 11.6 หน่วยดาราศาสตร์ มีค่าความเยื้องศูนย์กลางระดับปานกลางที่ 0.16 [11] ดาวดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่มีระยะคาบการโคจรยาวที่สุดที่ค้นพบโดยวิธีการวัดความเร็วเชิงรัศมี แม้ว่าจะมีดาวเคราะห์ที่มีระยะคาบการโคจรยาวถูกค้นพบก่อนหน้านี้ แต่เป็นด้วยวิธีการถ่ายภาพโดยตรงและการวัดจังหวะพัลซาร์
การจำลองชี้ให้เห็นว่าส่วนด้านในของเขตอาศัยได้ของระบบ 47 หมีใหญ่ สามารถเป็นที่อยู่ของดาวเคราะห์ที่อยู่อาศัยได้ในวงโคจรที่มั่นคง แม้ว่าบริเวณรอบนอกของเขตอาศัยได้ จะถูกรบกวนโดยอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ 47 หมีใหญ่ บี[19] อย่างไรก็ตามการปรากฏตัวของดาวเคราะห์ยักษ์ภายในระยะทาง 2.5 หน่วยดาราศาสตร์จากดาวฤกษ์ อาจส่งผลกระทบต่อการก่อตัวดาวเคราะห์ในระบบชั้นใน และลดปริมาณน้ำที่ส่งไปยังดาวเคราะห์ชั้นในในช่วงการก่อตัว[20] นี่อาจหมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่อาศัยได้ที่โคจรอยู่ในเขตอาศัยได้ของ 47 หมีใหญ่ มีขนาดเล็กและแห้ง
มีข้อความจากโครงการ METI สองข้อความส่งถึง 47 หมีใหญ่ โดยทั้งคู่ถูกส่งจากเรดาร์ Evpatoria Planetary Radar (EPR) ที่ใหญ่ที่สุดของทวีปยูเรเชียในไครเมีย – ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 70 เมตร (230 ฟุต) ข้อความแรกชื่อ "Teen Age Message" ถูกส่งเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2544 และจะไปถึง 47 หมีใหญ่ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2590 ข้อความที่สองชื่อ "Cosmic Call 2" ถูกส่งเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 และจะไปถึง 47 หมีใหญ่ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2592 [21] เนื่องจากดาวเคราะห์ในระบบ 47 หมีใหญ่ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน 100 ดาวเป้าหมายสำหรับอดีตภารกิจขององค์การนาซา ในการค้นหาดาวที่สามารถอยู่อาศัยได้
ดาวเคราะห์ (ตามลำดับจากดาว) |
มวล | กึ่งแกนเอก (AU) |
คาบการโคจร (วัน) |
ความเยื้องศูนย์กลาง | ความเอียงของวงโคจร | รัศมี |
---|---|---|---|---|---|---|
บี (ตะเภาทอง) | >2.53+0.07 −0.06 MJ |
2.10 ± 0.02 | 1078 ± 2 | 0.032 ± 0.014 | — | — |
ซี (ตะเภาแก้ว) | >0.540+0.066 −0.073 MJ |
3.6 ± 0.1 | 2391+100 −70 |
0.098+0.047 −0.096 |
— | — |
47 หมีใหญ่ ดี | >1.64+0.29 −0.48 MJ |
11.6+2.1 −2.9 |
14002+4018 −5095 |
0.16+0.09 −0.16 |
— | — |
(อังกฤษ)
อ้างอิง
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อcne_stars
- ↑ "NameExoWorlds: An IAU Worldwide Contest to Name Exoplanets and their Host Stars". IAU.org. 9 July 2014.
- ↑ "NameExoWorlds The Process". IAU.org.
- ↑ "The approved names of 14 stars and 31 exoplanets". The International Astronomical Union (IAU).
- ↑ "ชนะแล้ว "ชาละวัน" ชื่อดาวไทยสากลชื่อแรกบนฟากฟ้า". ข่าวดาราศาสตร์. รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย. สมาคมดาราศาสตร์ไทย. 15 ธันวาคม 2558.
{{cite web}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Martin, J. E.; Lauprasert, K.; และคณะ (2013). Angielczyk, Kenneth (บ.ก.). "A large pholidosaurid in the Phu Kradung Formation of north-eastern Thailand". Palaeontology. 57: 757–769. doi:10.1111/pala.12086.
- ↑ "IAU Working Group on Star Names (WGSN)". สืบค้นเมื่อ 22 May 2016.
- ↑ "Bulletin of the IAU Working Group on Star Names, No. 1" (PDF). สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
- ↑ "IAU Catalog of Star Names". สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
- ↑ R. P. Butler; Marcy, Geoffrey W. (1996). "A Planet Orbiting 47 Ursae Majoris". Astrophysical Journal Letters. 464 (2): L153–L156. Bibcode:1996ApJ...464L.153B. doi:10.1086/310102.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 P. C. Gregory; D. A. Fischer (2010). "A Bayesian periodogram finds evidence for three planets in 47 Ursae Majoris". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society. 403 (2): 731–747. arXiv:1003.5549. Bibcode:2010MNRAS.403..731G. doi:10.1111/j.1365-2966.2009.16233.x.
- ↑ I. Han; D. C. Black; และคณะ (2001). "Preliminary Astrometric Masses for Proposed Extrasolar Planetary Companions". Astrophysical Journal Letters. 548 (1): L57–L60. Bibcode:2001ApJ...548L..57H. doi:10.1086/318927.
- ↑ D. Pourbaix; F. Arenou (2001). "Screening the Hipparcos-based astrometric orbits of sub-stellar objects". Astronomy and Astrophysics. 372 (3): 935–944. arXiv:astro-ph/0104412. Bibcode:2001A&A...372..935P. doi:10.1051/0004-6361:20010597.
- ↑ 14.0 14.1 D. A. Fischer; Marcy, Geoffrey W.; และคณะ (2002). "A Second Planet Orbiting 47 Ursae Majoris". Astrophysical Journal. 564 (2): 1028–1034. Bibcode:2002ApJ...564.1028F. CiteSeerX 10.1.1.8.9343. doi:10.1086/324336.
- ↑ D. Naef; Mayor, M.; และคณะ (2004). "The ELODIE survey for northern extra-solar planets. III. Three planetary candidates detected with ELODIE". Astronomy and Astrophysics. 414: 351–359. arXiv:astro-ph/0310261. Bibcode:2004A&A...414..351N. doi:10.1051/0004-6361:20034091.
- ↑ R. A. Wittenmyer; M. Endl; และคณะ (2007). "Long-Period Objects in the Extrasolar Planetary Systems 47 Ursae Majoris and 14 Herculis". Astrophysical Journal. 654 (1): 625–632. arXiv:astro-ph/0609117. Bibcode:2007ApJ...654..625W. doi:10.1086/509110.
- ↑ "Extrasolar Planets Encyclopaedia: 47 Ursae Majoris". Jean Schneider, Paris Observatory, CNRS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-13.
- ↑ "Planets Table". Catalog of Nearby Exoplanets. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-10-04.
- ↑ B. Jones; Underwood, David R.; และคณะ (2005). "Prospects for Habitable "Earths" in Known Exoplanetary Systems". Astrophysical Journal. 622 (2): 1091–1101. arXiv:astro-ph/0503178. Bibcode:2005ApJ...622.1091J. doi:10.1086/428108.
- ↑ S. Raymond (2006). "The Search for other Earths: limits on the giant planet orbits that allow habitable terrestrial planets to form". Astrophysical Journal Letters. 643 (2): L131–134. arXiv:astro-ph/0605136. Bibcode:2006ApJ...643L.131R. doi:10.1086/505596.
- ↑ А. Л. Зайцев (7 June 2004). "Передача и поиски разумных сигналов во Вселенной". Пленарный доклад на Всероссийской астрономической конференции ВАК-2004 "Горизонты Вселенной", Москва, МГУ (ภาษารัสเซีย).
แหล่งข้อมูลอื่น
- "กว่าจะมาเป็นดาวชาละวัน"หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่ชื่อ "ชาละวัน" ได้ขึ้นไปประดับฟ้าสากล เผยเบื้องหน้าเบื้องหลัง และรายละเอียดเกี่ยวกับดาวชาละวัน โดย สมาคมดาราศาสตร์ไทย
- "47 Ursae Majoris". SolStation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-11. สืบค้นเมื่อ 2008-06-26.
- "47 Ursae Majoris". Exoplanet Data Explorer. สืบค้นเมื่อ 2013-10-05.