ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามยูโกสลาเวีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6710295 สร้างโดย 182.53.169.73 (พูดคุย)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25: บรรทัด 25:


| combatant2 = [[ไฟล์:Flag of Bosnia and Herzegovina (1992-1998).svg|22px]][[บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา]]
| combatant2 = [[ไฟล์:Flag of Bosnia and Herzegovina (1992-1998).svg|22px]][[บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา]]
-------------------------------------------------------------
<br />[[ไฟล์:UCK KLA.png|22px]] [[คอซอวอ|กองกำลังปลดแอกโคโซโว]]


| combatant3 = [[ไฟล์:Flag of Serbia and Montenegro.svg|22px]][[เซอร์เบียและมอนเตเนโกร]]<br />[[ไฟล์:Flag of Serbia 1991-2004.svg|22px]] [[สาธารณรัฐเซอร์เบียกราจีนา]]<br />[[ไฟล์:Flag of Serbia 1991-2004.svg|22px]] [[สาธารณรัฐเซิร์ปสกา]]
| combatant3 = [[ไฟล์:Flag of Serbia and Montenegro.svg|22px]][[เซอร์เบียและมอนเตเนโกร]]<br />[[ไฟล์:Flag of Serbia 1991-2004.svg|22px]] [[สาธารณรัฐเซอร์เบียกราจีนา]]<br />[[ไฟล์:Flag of Serbia 1991-2004.svg|22px]] [[สาธารณรัฐเซิร์ปสกา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:35, 9 ธันวาคม 2559

สงครามยูโกสลาเวีย
วันที่พ.ศ. 2534-2538
สถานที่
ผล โครเอเชีย สโลวีเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ประเทศมาซิโดเนีย ได้รับเอกราช ยูโกสลาเวียล่มสลาย
คู่สงคราม
โครเอเชีย
สโลวีเนีย
สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย

บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา



กองกำลังปลดแอกโคโซโว

เซอร์เบียและมอนเตเนโกร
สาธารณรัฐเซอร์เบียกราจีนา
สาธารณรัฐเซิร์ปสกา



a ระหว่าง พ.ศ. 2535-37 ในเวลานั้น สาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เป็นตัวแทนหลักของกลุ่มเชื้อชาติบอสนิค (มุสลิมบอสเนีย) ในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และระหว่าง พ.ศ. 2537-38 หลังจากความตกลงวอชิงตัน รัฐดังกล่าวยังได้เป็นตัวแทนของกลุ่มเชื้อชาติบอสเนียโครแอตด้วย ส่วน มาซิโดเนียทำประชามติแล้วแยกประเทศเลยไม่ต้องสู้รบ

สงครามยูโกสลาเวีย (อังกฤษ: Yugoslav Wars) หรืออาจเรียกว่า สงครามกลางเมืองยูโกสลาเวีย เป็นสงครามซึ่งสู้รบกันในดินแดนอดีตยูโกสลาเวียระหว่าง พ.ศ. 2534 และ 2538 สงครามมีความซับซ้อน โดยมีลักษณะของความขัดแย้งทางเชื้อชาติอันขมขื่นระหว่างเชื้อชาติในอดีตยูโกสลาเวีย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างชาวเซิร์บ (และในขอบเขตที่เล็กกว่า คือ ชาวมอนเตเนกริน) ฝ่ายหนึ่ง กับชาวโครแอตและบอสเนีย (และในขอบเขตที่เล็กกว่า คือ ชาวสโลวีน) อีกฝ่ายหนึ่ง หากทว่าสงครามยังมีความขัดแย้งระหว่างชาวบอสนิคกับโครแอตในบอสเนีย นอกเหนือไปจากความขัดแย้งแยกต่างหากซึ่งสู้รบกันระหว่างกลุ่มบอสนิคด้วยกันเองในบอสเนียอีกด้วย สงครามยุติลงด้วยผลที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วส่งผลให้นานาชาติรับรองรัฐอธิปไตยใหม่หลายรัฐอย่างสมบูรณ์ แต่ก็ด้วยการขัดขวางทางเศรษฐกิจขนานใหญ่ในประเทศเกิดใหม่เหล่านี้

สงครามครั้งนี้มักถูกเรียกว่าเป็นความขัดแย้งอันนองเลือดที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติ ความขัดแย้งดังกล่าวกลายเป็นสิ่งเลวทรามเนื่องจากมีอาชญากรรมสงครามเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมทั้งการกวาดล้างเชื้อชาติขนานใหญ่[1] สงครามยูโกสลาเวียเป็นความขัดแย้งครั้งแรงนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองที่ถูกตัดสินว่ามีลักษณะของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างเป็นทางการ และบุคคลสำคัญจำนวนมากที่เกี่ยวข้องถูกตั้งข้อหาอาชญากรรมสงครามในเวลาต่อมา[2] ศาลอาญาระหว่างประเทศในอดีตยูโกสลาเวียถูกจัดตั้งขึ้นโดยสหประชาชาติเพื่อพิจารณาอาชญากรรมเหล่านี้

ความตึงเครียดในยูโกสลาเวียได้เพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 ก่อนจะลงเอยในปี พ.ศ. 2533 ท่ามกลางความยากลำบากทางเศรษฐกิจ ยูโกสลาเวียก็ต้องเผชิญกับชาตินิยมที่ก่อตัวขึ้นท่ามกลางกลุ่มเชื้อชาติอันหลากหลาย ที่สภาสันนิบาติคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวียวิสามัญครั้งที่ 14 เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2533 สมัชชาซึ่งเซอร์เบียมีอำนาจมากที่สุดนั้น ตกลงที่จะยกเลิกระบบพรรคการเมืองเดียว อย่างไรก็ตาม สโลโบดัน มิโลเชวิช หัวหน้าสันนิบาติคอมมิวนิสต์แห่งเซอร์เบีย ได้ใช้อิทธิพลในการขัดวางและลงมติไม่ยอมรับข้อเสนออื่นจากผู้แทนพรรคโครเอเชียและสโลวีเนีย ซึ่งทำให้ผู้แทนโครเอเชียและสโลวีเนียเดินออกจากการประชุมและทำให้พรรคล่มสลาย[3]

ศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน รายงานว่าสงครามยูโกสลาเวียคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 140,000 ศพ[4] และศูนย์กฎหมายมนุษยธรรมรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 130,000 ศพ ในสงคราม[5]

อ้างอิง

  1. http://books.google.co.uk/books?id=wN4A0FMweQoC&dq=ethnic+cleansing+in+balkans&printsec=frontcover&source=bl&ots=Vcg3tV_rfD&sig=yHK-n4bUlPHB8NJ0VhveSE443dU&hl=en&ei=kHc1SoexLZyRjAe9yryWCg&sa=X&oi=book_result&ct=result&resnum=9#PPA4,M1
  2. http://www.unitedhumanrights.org/Genocide/bosnia_genocide.htm
  3. BBC News http://news.bbc.co.uk/hi/english/static/in_depth/europe/2000/milosevic_yugoslavia/communism.stm. {{cite news}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  4. . ICTJ. 2009-01-01 http://www.ictj.org/static/2009/english/factsheets/yugoslavia.html. สืบค้นเมื่อ 2009-09-08. {{cite news}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  5. "About us - Humanitarian Law Center". Humanitarian Law Center. สืบค้นเมื่อ 17 November 2010.