ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ละหมาด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 5683770 สร้างโดย 115.87.216.145 (พูดคุย)
Prayong.flower (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 46: บรรทัด 46:


การละหมาดที่มี 2 ร็อกอะหฺ เมื่อลุกขึ้นจากการกราบครั้งที่ 2 จะอ่านตะฮียะหฺ หรือเรียกว่า ตะชะหฺหุด ส่วนละหมาดที่มีมากกว่า 2 ร็อกอะหฺจะอ่านตะฮียะหฺอีกครั้งในร็อกอะหฺสุดท้าย เมื่อเสร็จสิ้นการกล่าวตะฮียะหฺจะเป็นการกล่าวสลาม คือกล่าวว่า "อัสลามุอะลัยกุม วะเราะฮฺมาตุลลอหฺ" พร้อมกับเหลียวไปทางขวาครั้งหนึ่ง กล่าวอีกพร้อมกับเหลียวไปทางซ้าย แล้วยกมือลูบหน้า เป็นอันเสร็จสิ้นการละหมาด
การละหมาดที่มี 2 ร็อกอะหฺ เมื่อลุกขึ้นจากการกราบครั้งที่ 2 จะอ่านตะฮียะหฺ หรือเรียกว่า ตะชะหฺหุด ส่วนละหมาดที่มีมากกว่า 2 ร็อกอะหฺจะอ่านตะฮียะหฺอีกครั้งในร็อกอะหฺสุดท้าย เมื่อเสร็จสิ้นการกล่าวตะฮียะหฺจะเป็นการกล่าวสลาม คือกล่าวว่า "อัสลามุอะลัยกุม วะเราะฮฺมาตุลลอหฺ" พร้อมกับเหลียวไปทางขวาครั้งหนึ่ง กล่าวอีกพร้อมกับเหลียวไปทางซ้าย แล้วยกมือลูบหน้า เป็นอันเสร็จสิ้นการละหมาด

'''ผู้หญิงละหมาด'''
เมื่อผู้หญิงละหมาดไม่ว่าจะเป็นละหมาดฟัรดูหรือละหมาดสุนัตก็ตาม ในกรณีที่ละหมาดร่วมกันญะมาอะห์ ไม่ตักบีรและไม่อ่านด้วยเสียงดัง ความดังนั้นเปรียบได้ว่าขนาดเท่าพูดเบาๆ และไม่ยืนเข้าแถวแบบผู้ชาย ที่อิหม่ามจะยืนเดี่ยงข้างหน้า สำหรับผู้หญิงในกรณีญะมาอะห์ให้ยืนเข้าแถวในระดับเดียวกัน ให้ผู้ที่จะนำตักบีรยืนอยู่ซ้าย มะอฺมูม(ผู้ตาม)ให้ยืนด้านขวา

=='''ละหมาดมัสบู๊ก'''== الصلاة المسبوك Prayer cast
คือการมาร่วมละหมาดญะมาอะห์ไม่ทันในรุกูอะของเราะกะอัตนั้นๆ เมื่ออิหม่ามละหมาดเสร็จให้สลาม เรายังไม่ต้องให้สลามตามอิหม่าม แต่ต้องลุกขึ้นละหมาดเราะกะอัตนั้นเสียก่อน จึงจะนั่งตะชะฮู้ดครั้งสุดท้ายได้ การมาทันเราะกะอัตนั้นหรือไม่นั้น เอาการก้มรุกูอะเป็นเกณฑ์ ถ้ามะอะมูมมาได้ทำรุกูอะ ก็ถือมาทันเราะกะอัตนั้น เราขาดไปกี่รุกูอะก็ทำให้ครบตามจำนวนในเวลานั้นๆ

=='''ละหมาดย่อ'''== قصر الصلاة Shorten Prayer ผู้เดินทาง (صلاة المسافر)
สามารถละหมาดย่อได้ตราบใดที่ผู้นั้นยังเป็นผู้เดินทาง ถ้าหากเขาลงพักเพื่อทำธุระที่รอการเสร็จสิ้นธุระนั้น เขาก็สามารถละหมาดย่อได้เช่นกัน เพราะถือว่าเขาเป็นผู้เดินทาง ถึงแม้ว่าเขาจะลงพักเป็นเวลาหลายปีก็ตาม และอิบนุ อัลก็อยยิม (ร.ฮ.) เลือกความเห็นที่ว่า การลงพักไม่ทำให้ออกจากฮุก่มของการเดินทางไม่ว่าจะยาวหรือสั้นก็ตาม (หมายถึงการลงพัก) ตราบใดที่ผู้นั้นไม่ได้ลงหลักปักฐานในสถานที่ที่เขาลงพักอยู่นั้น และซัยยิด ซาบิก ก็มีความเห็นตามนี้ด้วย (ดู ฟิกฮุซซุนนะฮฺ เล่มที่ 1 หน้า 268,269) คุณ hasan ก็เอาทัศนะทั้งหมดมาชั่งดู เห็นกับทัศนะไหนก็ว่าไปตามนั้น เรื่องนี้เปิดกว้าง
ละหมาดที่ย่อได้ มี 3 ละหมาด คือละหมาดที่มี 4 เราะกะอัตเท่านั้นที่ย่อได้ให้เหลือ 2 เราะกะอัต
# ละหมาดดุฮรี่ الظهر
# ละหมาดอัสรี่ العصر
# ละหมาดอีชาอ์ العشاء

อิสลามได้กำหนดรูปแบบของการละหมาดฟัรดู(ที่ไม่ได้อยู่ระหว่างการทำศึก) ไว้ 3 ประเภทด้วยกันคือ
# ละหมาดของคนปกติ
# ละหมาดของคนมีอุปสรรค์
# ละหมาดของคนเดินทาง
ดังมีรายละเอียดดังนี้
# การละหมาดของคนที่อยู่ปกติก็ละหมาดไปตามเวลาและข้อกำหนดของแต่ละช่วงเวลาของมัน และแบบอย่างท่านนบี
# สำหรับผู้ที่อยู่ในสภาพมีอุปสรรค์ เช่น เจ็บป่วย กำลังรอพาหนะเดินทาง การไปยังสถานที่อื่นไกลบ้านแล้วคาดว่าจะกลับมาไม่ทันเวลาละหมาดข้างหน้า เช่นต้องออกไปหาหมอตอนบ่าย 3 คาดว่าคงจะกลับมาไม่ทันเวลาอัสรี่แน่ๆ หรือมีเหตุอันอาจจะทำให้ไม่สามารถละหมาดได้ตรงตามเวลาที่ถูกกำหนดไว้ ก็สามารถที่จะรวมละหมาดได้ (جمع الصلاة) วิธีการก็คือ นำละหมาดดุฮ์รี่ กับอัศรี่มาขึ้นมารวมกันในเวลาของดุฮรี่ (جمع تقديم) หรือจะเอาละหมาดดุฮ์รี่ลงไปรวมในเวลาอัศริ (جمع تاخير ) แต่ไม่ต้องย่อ และเอามัฆริบกับอีชามารวมกัน โดยจะเอามัฆริบลงไปรวมในเวลาอีชาอฺ หรือเอาอีชาอฺขึ้นมารวมในเวลามักริบก็ได้เช่นเดียวกัน โดยไม่ต้องย่อ (قصر )
# อบูซุบัยร์ได้รายงานจากสะอี๊ด บินญุบัยร์ โดยฟังมาจากอิบนิอับาสว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ได้ละหมาดซุฮ์ริกับอัศริรวมกันที่มะดีนะห์ โดยที่ไม่ได้อยู่ในภาวะสงครามและไม่ได้เดินทาง อบูซุเบรกล่าวว่า ฉันถามสะอี๊ดว่า ทำใมจึงทำเช่นนั้น เขาตอบว่า ฉันก็เคยถามอิบนิอับบาสอย่างนี้เหมือนกัน เขาตอบว่า ท่านรอซูลไม่ต้องการให้เกิดความยากลำบากแก่ประชาชาติของท่าน (บันทึกโดย อิหม่ามมุสลิม ฮะดีษที่ 1147)
# ส่วนผู้ที่อยู่ในสภาพของผู้เดินทางนั้น สามารถที่จะรวมและย่อละหมาดได้ด้วย วิธีการก็คือ
- นำละหมาดซุฮ์ริ กับอัศริมารวมกัน โดยละหมาดย่ออย่างละ 2 ร็อกอัต (มีอิกอมะต์ 2 ครั้ง)
ถ้าเอาอัสรี่ขึ้นมาย่อรวมในเวลาของดุฮรี่ เรียกว่า “جمع تقديم “ ย่อรวมต้นของรอบบ่าย
ถ้าเอาเวลาของดุฮฺรี่ลงไปย่อรวมกับอัสรี่ เรียกว่า “جمع تاخير “ ย่อรวมหลังของช่วงบ่าย
- นำเอาอีชาขึ้นมารวมกับมัฆริบ (ละหมาดมักริบเต็ม 3 ร็อกอัต) เสร็จแล้วละหมาดอีชาอีก 2 ร็อกอัต (มีอิกอมะต์ 2 ครั้ง) “جمع تقديم “ ย่อรวมต้นของละหมาดรอบค่ำ
จะเอามัฆริบลงไปย่อรวมในเวลาอีชา (ละหมาดมักริบเต็ม 3 ร็อกอัต) เสร็จแล้วละหมาดอีชาอีก 2 ร็อกอัต (มีอิกอมะต์ 2 ครั้ง) “جمع تاخير” ย่อรวมหลังของช่วงค่ำ
แต่ถ้าการเดินทางสิ้นสุดลงแล้ว อาทิเช่น เดินทางไปทำอุมเราะห์และฮัจญ์ ระหว่างเดินทางอยู่บนเครื่องบินและสนามบิน คือช่วงเวลาเดินทาง ละหมาดย่อและรวมได้ แต่พอถึงที่พักในมักกะห์หรือมะดินะห์ก็ตาม ถือว่าพ้นจากภาวะเดินทางแล้ว เพราะมีที่พักพิงสะดวกสบายแล้ว ให้ละหมาดเต็มตามอิหม่ามในท้องที่นั้นๆ ครั้นเมื่อออกเดินทางไปถึงทุ่งมีนาในวันที่ 8 ซุลฮิจญะห์ ก็เริ่มย่อละหมาดได้ เพื่อจะไปรอวุกุฟในวันที่ 9 ซุลฮิจญะห์ (وقوف ) ในขณะอยู่ที่ทุ่งอารอฟาต เข้าเวลาดุฮรี่ก็ละหมาดโดยการนำเอาอัสรี่ขึ้นมาย่อและรวมกับดุฮฺรี่ ( جمع تقديم ) ถึงเวลามักริบยังไม่ละหมาดให้อพยบไปทุ่งมุซดาลิฟะห์เลย พอมาถึงทุ่งมุซดาลิฟะห์ ก็ให้เอาละหมาดมักริบ( ละหมาดเต็ม) มาละหมาดรวมย่อกับอิชาอฺ (جمع تاخير )
เมื่อกลับมาถึงที่พัก โรงแรม หรือ บ้าน ที่มีความสะดวกสบายแล้ว เป็นอันว่าสิ้นสุดของการเดินทางแล้ว ให้กลับมาละหมาดเต็ม กรณีนี้ไม่อนุญาตให้ละหมาดชดใช้ด้วยการย่อ และรวมได้ (ดูมัฏละอุ้ลบัดรอยน์ ; ชัยค์ ดาวูด อัลฟะฏอนี หน้า 44)

=='''การรวมละหมาด'''==
ผู้ที่อยู่ในสภาพมีอุปสรรค์ เช่น เจ็บป่วย กำลังรอพาหนะเดินทาง การไปยังสถานที่อื่นไกลบ้านแล้วคาดว่าจะกลับมาไม่ทันเวลาละหมาดข้างหน้า เช่นต้องออกไปหาหมอตอนบ่าย 3 คาดว่าคงจะกลับมาไม่ทันเวลาอัสรี่แน่ๆ หรือมีเหตุอันอาจจะทำให้ไม่สามารถละหมาดได้ตรงตามเวลาที่ถูกกำหนดไว้ ก็สามารถที่จะรวมละหมาดได้ (جمع الصلاة) วิธีการก็คือ นำละหมาดดุฮ์รี่ กับอัศรี่มาขึ้นมารวมกันในเวลาของดุฮรี่ (جمع تقديم) หรือจะเอาละหมาดดุฮ์รี่ลงไปรวมในเวลาอัศริ (جمع تاخير ) แต่ไม่ต้องย่อ และเอามัฆริบกับอีชามารวมกัน โดยจะเอามัฆริบลงไปรวมในเวลาอีชาอฺ หรือเอาอีชาอฺขึ้นมารวมในเวลามักริบก็ได้เช่นเดียวกัน โดยไม่ต้องย่อ (قصر )
ท่านอิบนุตัยมียะฮฺ (ร.ฮ.) ระบุว่า อิหม่ามอะฮฺมัดอนุญาตให้ละหมาดรวมได้ เมื่อไม่ว่าง (มีธุระยุ่ง) (ดูฟิกฮุซซุนนะฮฺ เล่มที่ 1/274)



== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
บรรทัด 53: บรรทัด 90:
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [ http://www.islaminthailand.org : เพื่อความเข้าใจอิสลาม และมุสลิม]
* [ http://www.islaminthailand.org : เพื่อความเข้าใจอิสลาม และมุสลิม]
* [ [http://ar.islamway.net/search?type%5B%5D=&query=%D9%83%D9%8A%D9%81%D9%8A%D8%A9+%D8%B5%D9%84%D8%A7%D8%A9+%D8%A7%D9%84%D8%A5%D8%B3%D9%84%D8%A7%D9%85%D9%8A%D8%A9 http://ar.islamway.net]]

[[หมวดหมู่:หลักธรรมของศาสนาอิสลาม]]
[[หมวดหมู่:หลักธรรมของศาสนาอิสลาม]]
[[หมวดหมู่:ศาสนาอิสลาม]]
[[หมวดหมู่:ศาสนาอิสลาม]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:36, 19 ธันวาคม 2557

ละหมาด (มาจากคำว่า นมาซ เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย) หมายถึง การประกอบกิจบูชาสักการะอัลลอหฺ ด้วยการอ่านบทสรรเสริญ และการวิงวอน ในอาการต่าง ๆ เช่น ยืน ก้ม กราบ และนั่ง ภาษาอาหรับเรียกว่า ศอลาต ภาษามลายูว่า "sembahyang" ที่เป็นคำที่ประกอบจากคำว่า sembah (บูชา) และ yang (พระเจ้า) ซึ่งเพี้ยนเป็นภาษามลายูปัตตานีว่า "ซือมาแย" และภาษาไทยถิ่นใต้ว่า "มาหยัง"

รากศัพท์

คำว่า"ละหมาด" ในภาษาอาหรับคือ ศอลาต (Salah, صلاة) มาจากรากศัพท์ที่ประกอบด้วย ศอด (ص) , ลาม (ل) , และวาว (و) ความหมายของรากศัพท์นี้ในภาษาอาหรับคลาสสิกคือ สวดมนต์ อ้อนวอน บูชา ร้องทุกข์ กล่าวสุนทรพจน์ ขอพร ตามไปอย่างใกล้ชิด หรือ ติดต่อ ความหมายที่เป็นรากฐานของคำนี้เกี่ยวข้องกับความหมายที่ใช้ในอัลกุรอานทั้งหมด

เงื่อนไขของการละหมาด

  • ผู้ละหมาดต้องเป็นมุสลิมเท่านั้น
  • มีเจตนาแน่วแน่ (นียะหฺ)
  • หันหน้าไปทางทิศกิบลัต (ทิศตะวันตกของประเทศไทย) คือที่ตั้งของเมกกะ
  • การประกาศบอกเวลาละหมาด (อะซาน)
  • การประกาศให้ยืนขึ้นเพื่อละหมาด (อิกอมะหฺ)
  • ความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า สถานที่

ชนิดของการละหมาด

การละหมาดที่ไคโร, Jean-Léon Gérôme
  • ละหมาดภาคบังคับ (ฟัรฎ) วันละ 5 เวลา (การละเว้นละหมาดชนิดนี้เป็นบาป) ประกอบด้วย
    • ย่ำรุ่ง(ศุบฮิ) ประมาณ ตี 5 - 6 โมงเช้า
    • บ่าย (ซุหฺริ) ประมาณ เที่ยงครึ่ง - บ่ายโมงกว่าๆ
    • เย็น (อัศริ) ประมาณ บ่าย 3 ถึง 5 โมงเย็น
    • พลบค่ำ (มัฆริบ) ประมาณ 6 โมงครึ่ง ถึง ทุ่มกว่าๆ
    • กลางคืน (อิชาอ์) ก่อนนอน ประมาณ 2 ทุ่มเป็นต้นไป
  • ละหมาดวันศุกร์ (ญุมุอะหฺ) เป็นการละหมาดร่วมกันในเวลาบ่าย ก่อนละหมาดจะมีเทศนา (คุฏบะหฺ) เป็นข้อบังคับเฉพาะผู้ชาย
  • ละหมาดอื่น ๆ ได้แก่ละหมาดในวันอิดุลฟิฏริ และวันอีดุลอัฏฮา ละหมาดในเดือนรอมะฎอน (ในมัซฮับซุนนีย์เรียกว่า ตะรอวีฮฺ) ละหมาดเมื่อเกิดสุริยคราส (กุซูฟ) และจันทรคราส (คูซูฟ) ละหมาดขอฝน (อิสติกออ์) ละหมาดให้ผู้ตาย (ญะนาซะหฺ) และละหมาดขอพรในกรณีต่าง ๆ

ความสะอาดกับการละหมาด

ก่อนการละหมาด ผู้ละหมาดต้องอาบน้ำละหมาด (วุฎูอ์) ได้แก่การใช้น้ำชำระมือ ปาก จมูก ใบหน้า แขน ศีรษะ หู และเท้า พร้อมกับขอพร ถ้าไม่มีน้ำให้ชำระด้วยผงดิน (ตะยัมมุม) ในกรณีที่เพิ่งหมดประจำเดือน หลังคลอดบุตรหรือแท้งบุตร หรือผู้ที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หลั่งน้ำอสุจิ นอกจากอาบน้ำละหมาดแล้วต้องอาบน้ำทั่วร่างกาย (ญะนาบะหฺ) ด้วย

สิ่งที่ทำให้ความสะอาดเสียไป ซึ่งทำให้การละหมาดไม่มีผล ได้แก่ การผายลม การขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ มีเพศสัมพันธ์ หลั่งอสุจิ คลอดบุตร แท้งบุตร หลับ หรือเป็นลมหมดสติ

ขั้นตอนการละหมาด

ชาวมุสลิมกำลังละหมาด

การละหมาดประกอบด้วยหน่วยย่อยเรียกร็อกอะหฺ (หรือร่อกอัต ร็อกอะห์) การละหมาดในโอกาสต่าง ๆ มีจำนวนร็อกอะห์ต่างกันไปเช่นละหมาดวันศุกร์มี 2 ร็อกอะหฺ ละหมาดเวลากลางคืนมี 4 ร็อกอะหฺ ละหมาดตะรอวีฮฺ ในคืนของเดือนถือศีลอดมี 40 ร็อกอะหฺ เป็นต้น

ละหมาด 1 ร็อกอะหฺประกอบด้วย

  • มีเจตนาแน่วแน่
  • ยกมือระดับบ่า กล่าวตักบีร อัลลอฮูกักบัรซึ่งเป็นการสดุดีพระอัลลอหฺแล้วยกมือมากอดอก (ตามทัศนะซุนนีย์) หรือปล่อยมือลง (ตามทัศนะชีอะหฺ และซุนนีย์สำนักมาลิกีย์)
  • ยืนตรง อ่านอัลกุรอาน ซูเราะหฺอัลฟาติฮะหฺ และบางบทตามต้องการ
  • ก้มลง สองมือจับเข่า ศีรษะอยู่ในแนวตรงกับสันหลัง กล่าวว่า "ซุบฮานะ ร่อบบิยัลอะซีมิ วะบิฮัมดิหฺ" อย่างน้อย 3 ครั้ง
  • ยืนตรง กล่าว "สะมิอัลลอหุ ลิมัน ฮะมิดะหฺ"
  • ก้มกราบให้หน้าผากและจมูกจดพื้น มือวางบนพื้น ให้ปลายนิ้วสัมผัสพื้น หัวเข่าจดพื้น กล่าวว่า "ซุบฮานะ รอบบิยัล อะอฺลา วะบิฮัมดิฮฺ" อย่างน้อย 3 ครั้ง
  • อ่านบทขอพร
  • ก้มกราบครั้งที่ 2

การละหมาดที่มี 2 ร็อกอะหฺ เมื่อลุกขึ้นจากการกราบครั้งที่ 2 จะอ่านตะฮียะหฺ หรือเรียกว่า ตะชะหฺหุด ส่วนละหมาดที่มีมากกว่า 2 ร็อกอะหฺจะอ่านตะฮียะหฺอีกครั้งในร็อกอะหฺสุดท้าย เมื่อเสร็จสิ้นการกล่าวตะฮียะหฺจะเป็นการกล่าวสลาม คือกล่าวว่า "อัสลามุอะลัยกุม วะเราะฮฺมาตุลลอหฺ" พร้อมกับเหลียวไปทางขวาครั้งหนึ่ง กล่าวอีกพร้อมกับเหลียวไปทางซ้าย แล้วยกมือลูบหน้า เป็นอันเสร็จสิ้นการละหมาด

ผู้หญิงละหมาด เมื่อผู้หญิงละหมาดไม่ว่าจะเป็นละหมาดฟัรดูหรือละหมาดสุนัตก็ตาม ในกรณีที่ละหมาดร่วมกันญะมาอะห์ ไม่ตักบีรและไม่อ่านด้วยเสียงดัง ความดังนั้นเปรียบได้ว่าขนาดเท่าพูดเบาๆ และไม่ยืนเข้าแถวแบบผู้ชาย ที่อิหม่ามจะยืนเดี่ยงข้างหน้า สำหรับผู้หญิงในกรณีญะมาอะห์ให้ยืนเข้าแถวในระดับเดียวกัน ให้ผู้ที่จะนำตักบีรยืนอยู่ซ้าย มะอฺมูม(ผู้ตาม)ให้ยืนด้านขวา

==ละหมาดมัสบู๊ก== الصلاة المسبوك Prayer cast คือการมาร่วมละหมาดญะมาอะห์ไม่ทันในรุกูอะของเราะกะอัตนั้นๆ เมื่ออิหม่ามละหมาดเสร็จให้สลาม เรายังไม่ต้องให้สลามตามอิหม่าม แต่ต้องลุกขึ้นละหมาดเราะกะอัตนั้นเสียก่อน จึงจะนั่งตะชะฮู้ดครั้งสุดท้ายได้ การมาทันเราะกะอัตนั้นหรือไม่นั้น เอาการก้มรุกูอะเป็นเกณฑ์ ถ้ามะอะมูมมาได้ทำรุกูอะ ก็ถือมาทันเราะกะอัตนั้น เราขาดไปกี่รุกูอะก็ทำให้ครบตามจำนวนในเวลานั้นๆ

==ละหมาดย่อ== قصر الصلاة Shorten Prayer ผู้เดินทาง (صلاة المسافر) สามารถละหมาดย่อได้ตราบใดที่ผู้นั้นยังเป็นผู้เดินทาง ถ้าหากเขาลงพักเพื่อทำธุระที่รอการเสร็จสิ้นธุระนั้น เขาก็สามารถละหมาดย่อได้เช่นกัน เพราะถือว่าเขาเป็นผู้เดินทาง ถึงแม้ว่าเขาจะลงพักเป็นเวลาหลายปีก็ตาม และอิบนุ อัลก็อยยิม (ร.ฮ.) เลือกความเห็นที่ว่า การลงพักไม่ทำให้ออกจากฮุก่มของการเดินทางไม่ว่าจะยาวหรือสั้นก็ตาม (หมายถึงการลงพัก) ตราบใดที่ผู้นั้นไม่ได้ลงหลักปักฐานในสถานที่ที่เขาลงพักอยู่นั้น และซัยยิด ซาบิก ก็มีความเห็นตามนี้ด้วย (ดู ฟิกฮุซซุนนะฮฺ เล่มที่ 1 หน้า 268,269) คุณ hasan ก็เอาทัศนะทั้งหมดมาชั่งดู เห็นกับทัศนะไหนก็ว่าไปตามนั้น เรื่องนี้เปิดกว้าง ละหมาดที่ย่อได้ มี 3 ละหมาด คือละหมาดที่มี 4 เราะกะอัตเท่านั้นที่ย่อได้ให้เหลือ 2 เราะกะอัต

  1. ละหมาดดุฮรี่ الظهر
  2. ละหมาดอัสรี่ العصر
  3. ละหมาดอีชาอ์ العشاء

อิสลามได้กำหนดรูปแบบของการละหมาดฟัรดู(ที่ไม่ได้อยู่ระหว่างการทำศึก) ไว้ 3 ประเภทด้วยกันคือ

  1. ละหมาดของคนปกติ
  2. ละหมาดของคนมีอุปสรรค์
  3. ละหมาดของคนเดินทาง

ดังมีรายละเอียดดังนี้

  1. การละหมาดของคนที่อยู่ปกติก็ละหมาดไปตามเวลาและข้อกำหนดของแต่ละช่วงเวลาของมัน และแบบอย่างท่านนบี
  2. สำหรับผู้ที่อยู่ในสภาพมีอุปสรรค์ เช่น เจ็บป่วย กำลังรอพาหนะเดินทาง การไปยังสถานที่อื่นไกลบ้านแล้วคาดว่าจะกลับมาไม่ทันเวลาละหมาดข้างหน้า เช่นต้องออกไปหาหมอตอนบ่าย 3 คาดว่าคงจะกลับมาไม่ทันเวลาอัสรี่แน่ๆ หรือมีเหตุอันอาจจะทำให้ไม่สามารถละหมาดได้ตรงตามเวลาที่ถูกกำหนดไว้ ก็สามารถที่จะรวมละหมาดได้ (جمع الصلاة) วิธีการก็คือ นำละหมาดดุฮ์รี่ กับอัศรี่มาขึ้นมารวมกันในเวลาของดุฮรี่ (جمع تقديم) หรือจะเอาละหมาดดุฮ์รี่ลงไปรวมในเวลาอัศริ (جمع تاخير ) แต่ไม่ต้องย่อ และเอามัฆริบกับอีชามารวมกัน โดยจะเอามัฆริบลงไปรวมในเวลาอีชาอฺ หรือเอาอีชาอฺขึ้นมารวมในเวลามักริบก็ได้เช่นเดียวกัน โดยไม่ต้องย่อ (قصر )
  3. อบูซุบัยร์ได้รายงานจากสะอี๊ด บินญุบัยร์ โดยฟังมาจากอิบนิอับาสว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ได้ละหมาดซุฮ์ริกับอัศริรวมกันที่มะดีนะห์ โดยที่ไม่ได้อยู่ในภาวะสงครามและไม่ได้เดินทาง อบูซุเบรกล่าวว่า ฉันถามสะอี๊ดว่า ทำใมจึงทำเช่นนั้น เขาตอบว่า ฉันก็เคยถามอิบนิอับบาสอย่างนี้เหมือนกัน เขาตอบว่า ท่านรอซูลไม่ต้องการให้เกิดความยากลำบากแก่ประชาชาติของท่าน (บันทึกโดย อิหม่ามมุสลิม ฮะดีษที่ 1147)
  4. ส่วนผู้ที่อยู่ในสภาพของผู้เดินทางนั้น สามารถที่จะรวมและย่อละหมาดได้ด้วย วิธีการก็คือ

- นำละหมาดซุฮ์ริ กับอัศริมารวมกัน โดยละหมาดย่ออย่างละ 2 ร็อกอัต (มีอิกอมะต์ 2 ครั้ง) ถ้าเอาอัสรี่ขึ้นมาย่อรวมในเวลาของดุฮรี่ เรียกว่า “جمع تقديم “ ย่อรวมต้นของรอบบ่าย ถ้าเอาเวลาของดุฮฺรี่ลงไปย่อรวมกับอัสรี่ เรียกว่า “جمع تاخير “ ย่อรวมหลังของช่วงบ่าย - นำเอาอีชาขึ้นมารวมกับมัฆริบ (ละหมาดมักริบเต็ม 3 ร็อกอัต) เสร็จแล้วละหมาดอีชาอีก 2 ร็อกอัต (มีอิกอมะต์ 2 ครั้ง) “جمع تقديم “ ย่อรวมต้นของละหมาดรอบค่ำ จะเอามัฆริบลงไปย่อรวมในเวลาอีชา (ละหมาดมักริบเต็ม 3 ร็อกอัต) เสร็จแล้วละหมาดอีชาอีก 2 ร็อกอัต (มีอิกอมะต์ 2 ครั้ง) “جمع تاخير” ย่อรวมหลังของช่วงค่ำ แต่ถ้าการเดินทางสิ้นสุดลงแล้ว อาทิเช่น เดินทางไปทำอุมเราะห์และฮัจญ์ ระหว่างเดินทางอยู่บนเครื่องบินและสนามบิน คือช่วงเวลาเดินทาง ละหมาดย่อและรวมได้ แต่พอถึงที่พักในมักกะห์หรือมะดินะห์ก็ตาม ถือว่าพ้นจากภาวะเดินทางแล้ว เพราะมีที่พักพิงสะดวกสบายแล้ว ให้ละหมาดเต็มตามอิหม่ามในท้องที่นั้นๆ ครั้นเมื่อออกเดินทางไปถึงทุ่งมีนาในวันที่ 8 ซุลฮิจญะห์ ก็เริ่มย่อละหมาดได้ เพื่อจะไปรอวุกุฟในวันที่ 9 ซุลฮิจญะห์ (وقوف ) ในขณะอยู่ที่ทุ่งอารอฟาต เข้าเวลาดุฮรี่ก็ละหมาดโดยการนำเอาอัสรี่ขึ้นมาย่อและรวมกับดุฮฺรี่ ( جمع تقديم ) ถึงเวลามักริบยังไม่ละหมาดให้อพยบไปทุ่งมุซดาลิฟะห์เลย พอมาถึงทุ่งมุซดาลิฟะห์ ก็ให้เอาละหมาดมักริบ( ละหมาดเต็ม) มาละหมาดรวมย่อกับอิชาอฺ (جمع تاخير ) เมื่อกลับมาถึงที่พัก โรงแรม หรือ บ้าน ที่มีความสะดวกสบายแล้ว เป็นอันว่าสิ้นสุดของการเดินทางแล้ว ให้กลับมาละหมาดเต็ม กรณีนี้ไม่อนุญาตให้ละหมาดชดใช้ด้วยการย่อ และรวมได้ (ดูมัฏละอุ้ลบัดรอยน์ ; ชัยค์ ดาวูด อัลฟะฏอนี หน้า 44)

การรวมละหมาด

ผู้ที่อยู่ในสภาพมีอุปสรรค์ เช่น เจ็บป่วย กำลังรอพาหนะเดินทาง การไปยังสถานที่อื่นไกลบ้านแล้วคาดว่าจะกลับมาไม่ทันเวลาละหมาดข้างหน้า เช่นต้องออกไปหาหมอตอนบ่าย 3 คาดว่าคงจะกลับมาไม่ทันเวลาอัสรี่แน่ๆ หรือมีเหตุอันอาจจะทำให้ไม่สามารถละหมาดได้ตรงตามเวลาที่ถูกกำหนดไว้ ก็สามารถที่จะรวมละหมาดได้ (جمع الصلاة) วิธีการก็คือ นำละหมาดดุฮ์รี่ กับอัศรี่มาขึ้นมารวมกันในเวลาของดุฮรี่ (جمع تقديم) หรือจะเอาละหมาดดุฮ์รี่ลงไปรวมในเวลาอัศริ (جمع تاخير ) แต่ไม่ต้องย่อ และเอามัฆริบกับอีชามารวมกัน โดยจะเอามัฆริบลงไปรวมในเวลาอีชาอฺ หรือเอาอีชาอฺขึ้นมารวมในเวลามักริบก็ได้เช่นเดียวกัน โดยไม่ต้องย่อ (قصر ) ท่านอิบนุตัยมียะฮฺ (ร.ฮ.) ระบุว่า อิหม่ามอะฮฺมัดอนุญาตให้ละหมาดรวมได้ เมื่อไม่ว่าง (มีธุระยุ่ง) (ดูฟิกฮุซซุนนะฮฺ เล่มที่ 1/274)


อ้างอิง

  • บุญมี แท่นแก้ว. ประวัติศาสนาต่าง ๆ และปรัชญาธรรม. โอเดียนสโตร์. 2546
  • พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. 2548

แหล่งข้อมูลอื่น