ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การคมนาคมในลอนดอน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.9
บรรทัด 104: บรรทัด 104:


=== รถรับจ้างส่วนบุคคล ===
=== รถรับจ้างส่วนบุคคล ===
ผมรักลุตู่มาก มาก เลยครับบบบบบบบบบบ
<!---
==== รถแท็กซี่และรถรับจ้าง ====
[[ไฟล์:Hackney carriage.jpg|thumb|right|The iconic [[Hackney carriage]] or black cab.]]
The iconic [[Hackney carriage|black cab]] remains a common sight. They are driven by the only taxicab drivers in the world who have spent at least three years learning the city inside out to gain '[[Taxicabs of the United Kingdom#The Knowledge|The Knowledge]]'. All London taxicabs are licensed by TfL's [[Taxicabs of the United Kingdom|Public Carriage Office]] (PCO), who also set taxicab fares along with strict maximum vehicle [[emission standards]]. Black cabs can be hailed on the street or hired from a taxicab rank (by all the mainline train stations and around the major business, shopping and tourist centres). Taxicab fares are set by TfL and are calculated using a Taximeter in the vehicle (hence the name 'Taxicab') and are calculated using a combination of distance travelled and time.

Private Hire Vehicles (PHVs or minicabs) are cars which are not licensed to pick people up on the street. They must always be booked in advance by phone or at the operators offices. Anyone asking you if you want a 'Taxi' who is stood next to a normal looking car is a tout who is not insured or licensed to carry passengers.

==== รถม้า ====
More than 70 years after horse drawn carriages were restricted from the West End, Westminster City Council has announced that it will consider supporting applications to reintroduce them for sightseeing tours across the city<ref>{{cite press release |url=http://www.westminster.gov.uk/councilgovernmentanddemocracy/councils/pressoffice/news/pr-3570.cfm |title=Horse-drawn carriages could make West End comeback |date=2007-01-22 |accessdate=2007-05-28 |publisher=City of Westminster Council|archiveurl=http://web.archive.org/20070926224440/www.westminster.gov.uk/councilgovernmentanddemocracy/councils/pressoffice/news/pr-3570.cfm|archivedate=2007-09-26}}</ref>. The first horse-drawn vehicles in London were licenced in 1662, as [[Hackney carriage]]s.

==== รถจักรยาน ====
Pedicabs are a fairly recent addition, being used almost solely for the tourist trade making short journeys in the [[Covent Garden]] area. Unlike the more stately and historically significant black cab, no knowledge is required to operate a pedicab or bicycle rickshaw. This leads to more amusing banter{{POV-statement|date=April 2008}} and less knowledge of the streets. As a pleasant way to see the city highlights in the summer there is little to beat their open topped ambiance but as a practical mode of transport there is little to recommend them.

===== ประวัติ =====
Cambridge Trishaws Ltd (founded by Simon Lane and Rufus Evison) moved from Cambridge to London in 1998 as the first such company to work within the city. There are now 5-10 such companies providing competing services. The Licensed Taxi Drivers Association (LTDA) went to the High Court to try to force them to become licensed, but lost their case in 2004 <ref>{{cite news |url=http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/3531724.stm |title=Taxi driver: London |date=2004-08-04 |publisher=BBC News |accessdate=2007-05-28}}</ref>.This led to the PCO overseeing nearly all, but not all, cabs in London. Some{{Who|date=April 2008}} view this as a loophole in the law and others{{Who|date=April 2008}} see as an opportunity for London to lead the way in eco-friendly transportation.

There has been a move (led by Chris Smallwood, chairman of the London Pedicab Operators Association) to bring in more relevant legislation. Smallwood helped to draft an amendment to a bill to be put before the House of Lords that would introduce these "lighter" pedicab regulations. This was followed in 2005 by Transport Committee scrutiny to determine the future of the then nascent industry. This led in turn, to a 2006 TfL consultation "for the introduction of a licensing regime that is appropriate for pedicabs and their riders".<ref>{{cite press release |url=http://www.tfl.gov.uk/corporate/media/newscentre/3584.aspx |title=Public Carriage Office begins consultation on licensing pedicabs in London |date=2006-06-29 |publisher=Transport for London |accessdate=2007-05-28|archiveurl=http://web.archive.org/20070930182351/www.tfl.gov.uk/corporate/media/newscentre/3584.aspx|archivedate=2007-09-30}}</ref>
--->


== สนามบิน ==
== สนามบิน ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:59, 29 พฤศจิกายน 2565

สัญลักษณ์ของ องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน

การคมนาคมในลอนดอน อยู่ในรูปแบบของถนน ระบบรถไฟ และการคมนาคมทางอากาศในกรุงลอนดอน เมืองหลวงของอังกฤษและสหราชอาณาจักร เป็นระบบที่มีความสลับซับซ้อนและกว้างใหญ่ และเป็นระบบที่มีทั้งการบริหารโดยรัฐบาลท้องถิ่นและการบริหารโดยเอกชน ซึ่งเป็นรากฐานของระบบถนนและรถไฟของประเทศ นอกจากนี้ลอนดอนยังมีสนามบินอีกหลายสนามบิน เช่น ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ เป็นต้น และท่าเรือลอนดอน บนฝั่งแม่น้ำเทมส์ที่ใช้ในการคมนาคมกับทะเลเหนือ

การคมนาคมภายในลอนดอนเป็นหนึ่งในสี่ของนโยบายที่นายกเทศมนตรีลอนดอนจักต้องรับผิดชอบ และหน่วยงานที่บริหารระบบการคมนาคมมีชื่อว่า องค์การการคมนาคมสำหรับลอนดอน (อังกฤษ: Transport for London หรือย่อว่า TfL) TfL ควบคุมขนส่งมวลชนในพื้นที่ รวมทั้ง รถไฟใต้ดิน รถเมล์ท้องถิ่น แทรมลิงก์ และรถไฟเบาสายดอคแลนดส์ (อังกฤษ: Docklands Light Railway หรือย่อว่า DLR) แต่ขณะนี้ TfL ไม่มีอำนาจในการบริหารระบบรถไฟแห่งชาติที่ให้บริการภายในเขตนครลอนดอนและปริมณฑล ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม นอกจากนี้ TfL ยังมีหน้าที่ควบคุมถนนสายหลักแต่มิได้มีหน้าที่ในการคุมถนนสายย่อยซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารส่วนท้องถิ่น (ดูรายละเอียดด้านล่าง)

รถไฟใต้ดินและรางเบา

องค์การการคมนาคมสำหรับลอนดอนบริหารรถไฟสองระบบที่มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของระบบรถไฟแห่งชาติ ระบบแรกคือ รถไฟใต้ดินลอนดอน และระบบที่สองซึ่งเล็กกว่าคือ รถไฟเบาสายดอคแลนดส์ โดยบริการเหล่านี้อยู่ในเขตใจกลางลอนดอน ลอนดอนตะวันออก และลอนดอนตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้องค์การก็ยังบริหารระบบ แทรมลิงก์ (รถราง) ซึ่งอยู่ในบริเวณใจกลางแถบครอยดอน ด้วยสายต่าง ๆ ไปที่วิมเบิลดัน นิวแอดดิงตัน และเบ็คเคนแฮม ระบบรถไฟเหนือดินใต้ดินมีลักษณะเหมือนระบบถนน กล่าวคือเสมือนกับระบบแผ่รัศมีออกไปยังชานเมืองจากจุดศูนย์กลาง

รถไฟใต้ดินลอนดอน

สายจูบิลีที่สถานีกรีนพาร์ก

รถไฟใต้ดินลอนดอนรู้จักทั่วไปในนาม "The Tube" (เดอะทิวบ์ - ท่อ) ซึ่งเป็นระบบการคมนาคมขนส่ง (อังกฤษ: Rapid transit) ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เริ่มให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2406 วันหนึ่ง ๆ มีผู้โดยสารมากกว่า 3 ล้านคนใช้บริการรถไฟใต้ดิน รถไฟใต้ดินลอนดอนมีจำนวนผู้โดยสารถึง 1 ล้านล้านคนต่อปี เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549 [1] รถไฟใต้ดินลอนดอนมีด้วยกันทั้งหมด 11 สาย (สายอีสต์ลอนดอนถูกปิดลงเพื่อปรับปรุงและจะเปิดให้บริการอีกครั้งในปี พ.ศ. 2553 ในฐานะรถไฟเหนือดินลอนดอน) โดยส่วนใหญ่เชื่อมต่อเขตชานเมืองเข้ากับใจกลางลอนดอนและทำหน้าที่เป็นระบบขนส่งผู้โดยสารภายในตัวลอนดอนไปตามจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะจากสถานีรถไฟหลัก ๆ

รถไฟใต้ดินให้บริการลอนดอนทางเหนือแม่น้ำเทมส์มากกว่าทางใต้ สาเหตุเนื่องมาจากปัญหาทางธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์ ความเป็นคู่แข่งทางประวัติศาสตร์ระหว่างสองบริเวณนี้ ฯลฯ ซึ่งเป็นการทำให้รถไฟถูกสร้างในบริเวณเหนือแม่น้ำเทมส์เป็นส่วนใหญ่ การคมนาคมของลอนดอนทางใต้ส่วนใหญ่จึงเป็นรถไฟบนบก (แต่โดยทั่วไปแล้วระบบรถไฟใต้ดินลอนดอนก็วิ่งให้บริการบนบกมากกว่าในอุโมงค์ใต้ดิน)

รถไฟเบาสายดอคแลนดส์

รถไฟเบาสายดอคแลนดส์ที่สถานีทาวเวอร์เกตเวย์ หนึ่งในสถานีปลายทางของเขตนครหลวงลอนดอน

รถไฟเบาสายดอคแลนดส์ (อังกฤษ: Docklands Light Railway หรือ DLR) เป็นระบบรถไฟลอยฟ้ารางเบา ให้บริการบริเวณดอคแลนดส์ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของลอนดอน เป็นบริการเสริมระบบรถไฟใต้ดินลอนดอนโดยใช้ระบบการเก็บค่าโดยสารร่วมกัน และมีจุดการแลกเปลี่ยนเส้นทางซึ่งกันและกัน ปัจจุบันศูนย์กลางของการบริการของสายดอคแลนดส์อยู่ในเขตธุรกิจ คานารี วาร์ฟ (อังกฤษ: Canary Wharf) ถึงแม้ว่าจะมิใช่บริเวณที่เป็นจุดประสงค์ดั้งเดิมของการเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2530 ก็ตาม

ความสำเร็จของ คานารี วาร์ฟ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้รถไฟเบาสายดอคแลนดส์ขยายการบริการได้อย่างรวดเร็วหลายเท่าตัว โดยในขณะนี้มีเส้นทางทั้งหมด 5 เส้นเชื่อมต่อ ไอลส์ออฟดอกส์ กับ รอยัลดอคส์ และไปยัง นครหลวงลอนดอน สแตรทฟอร์ด และ หลุยสชัม ทางใต้ของแม่น้ำ นอกจากนั้นยังให้บริการสนามบินลอนดอนซิตี การขยายบริการอีกหลายส่วนยังคงอยู่ในระหว่างการวางแผนและการก่อสร้างรวมทั้งอีกสายหนึ่งที่เชื่อมสองฝั่งแม่น้ำเทมส์ที่วูลลิชด้วย และอีกสายหนึ่งทางเหนือเชื่อมต่อไปยังสถานีสแตรทฟอร์ด อินเตอร์แนเชอนัล ทางตะวันออกของลอนดอน ซึ่งเป็นจุดที่ผู้โดยสารเปลี่ยนไปใช้ระบบรถไฟความเร็วสูง “High Speed 1” ที่วิ่งระหว่างลอนดอนไปยังช่องแคบอังกฤษ

รถราง

แทรมลิงก์ที่สถานีชุมทางเบ็คเค็นแนม

ระบบรถรางในลอนดอนเป็นระบบรถรางเก่าแก่ที่สุดในโลกย้อนเวลากลับไปถึงยุควิกตอเรียตอนต้น และยังคงเป็นเครือข่ายรถรางที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ อย่างไรก็ตามระบบรถรางถูกยกเลิกไปตั้งแต่ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 25 (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20) แต่ระบบรถรางมาเปิดบริการอีกครั้งในปี พ.ศ. 2543 เพื่อที่จะให้บริการย่านครอยดอนซึ่งเป็นพื้นที่ทางใต้ของลอนดอน ระบบรถรางใหม่นี้ถูกตั้งชื่อว่า "แทรมลิงก์" (อังกฤษ: Tramlink) แทรมลิงก์เชื่อมต่อครอยดอนและระบบรถไฟบนบกเพื่อที่จะบริการได้รอบเขตชานเมือง และต่อไปยังที่วิมเบิลดันทางตะวันตกเฉียงเหนือ การขยายไปที่คริสตัลพาเลชกำลังอยู่ในระหว่างการวางแผน

รางหนัก

รถไฟเซาท์อีสเติร์นเทรนส์ ที่ สถานีกรีนนิช
รถไฟยูโรสตาร์ที่ วอเตอร์ลู อินเตอร์เนเชอนัล ถูกเปลี่ยนเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ไปที่ พานคราส์

ลอนดอนเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายระบบรถไฟในบริเตนใหญ่ที่ประกอบด้วยสถานีปลายทาง 14 สถานีที่แก่ผู้ทำงานในลอนดอน, บริการสลับเปลี่ยน ภายในเมือง, สนามบิน และ บริการที่เชื่อมต่อกับยุโรป บริเวณใดในลอนดอนที่ไม่มีบริการรถไฟใต้ดิน หรือ DLR ก็จะได้รับบริการรางหนักไปยังสถานีปลายทางดังกล่าว บริการในปริมลฑลที่ว่านี้มิได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์การการคมนาคมสำหรับลอนดอนแต่เป็นเจ้าของและบริหารโดยบริษัทเอกชนต่างๆ

สถานีปลายทางเหล่านี้ ได้แก่ แบล็คไฟรเออร์ส, แคนนอนสตรีท, ชาริงครอส, ยูสตัน, เฟ็นเชิร์ชสตรีท, คิงสครอส, ลิเวอร์พูลสตรีท, ลอนดอนบริดจ์, มอร์เกท, มาเรอเบิน, แพดดิงตัน, เซนต์แพนครัส, วิกตอเรีย และ วอเตอร์ลู

ระบบรถไฟสำหรับผู้ทำงานในลอนดอน

ลอนดอนเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายรถไฟไปกลับสำหรับผู้เดินทางเข้ามาทำงานในลอนดอนทุกวันที่มีขอบเขตกว้างและแผ่ออกจากศูนย์กลางเพื่อให้บริการแก่ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในนครลอนดอนและปริมณฑล สถานีปลายทางแต่ละสถานีก็จะเชื่อมโยงกับบริเวณเฉพาะของบริเวณนั้น ผู้โดยสารที่เดินทางไปทำงานในใจกลางลอนดอนส่วนใหญ่ (ประมาณ 80% ของผู้โดยสารทั้งหมด 1.1 ล้าน) เดินทางโดยรถไฟใต้ดินลอนดอน (วันละสี่แสนคน) หรือ โดยรถไฟบนดิน (วันละแปดแสนหกหมื่นคน)[2]


ระบบรถไฟระหว่างเมือง

บริการระหว่างเมืองไม่ได้ออกขบวนจากสถานีปลายทางทั้งหมด แต่แต่ละสถานีปลายทางจะให้บริการรถไฟไปถึงจุดหมายเฉพาะตามจุดต่างๆ ในประเทศ สถานีปลายทางสำหรับรถไฟระหว่างเมืองส่วนใหญ่คือ แพดดิงตัน (สำหรับการบริการทางด้านตะวันตกของ อังกฤษ และ เวลส์ตอนใต้), วอเตอร์ลู (สำหรับการบริการด้านตะวันออกเฉียงใต้/ตะวันตกเฉียงใต้ของ อังกฤษ และ; เซาท์แธมทัน, พอร์ทสมัธ, บอร์นมัธ และ เวย์มัธ), วิกตอเรีย (สำหรับการบริการด้านชายฝั่งด้านใต้และไบร์ทัน), ยูสตัน (สำหรับการบริการทางบริเวณเวสต์มิดแลนด์, เวลส์ตอนเหนือ, ตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ และกลาสโกว์), เซนต์แพนครัส (สำหรับการบริการทางอีสต์มิดแลนด์), คิงสครอส (สำหรับการบริการภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษและเอดินบะระ) และ ลิเวอร์พูลสตรีท (สำหรับ อีสต์แองเกลีย ภาคออกเฉียงเหนือของอังกฤษ)

บริการสนามบิน

สนามบินฮีทโธรว์, แกตวิค และ สแตนสเตด มีบริการรถไฟเฉพาะเข้าสู่ใจกลางเมือง นอกไปจากบริการปกติสำหรับแกตวิคและสแตนสเตด บริการฮีทโธรว์เอ็กซ์เพรสจากแพดดิงตัน ให้บริการโดยบริษัทผู้ควบคุมสนามบิน - บริษัทบีเอเอ ขณะที่แกตวิคเอ็กซ์เพรส จาก วิกตอเรีย และ สแตนสเตดเอ็กซ์เพรส จากลิเวอร์พูลสตรีท ให้บริการโดยบริษัทอื่นที่ให้บริการรถไฟ

รถไฟระหว่างประเทศ

บริการรถไฟระหว่างประเทศให้บริการโดยยูโรสตาร์จาก เซนต์แพนครัส ไปยัง ปารีส และ บรัสเซลส์ ผ่าน อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ โดยหยุดที่ สแตรทฟอร์ด ใน ลอนดอนตะวันออก ระบบใหม่นี้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ซึ่งตัดเวลาเดินทางไปราว 20 - 25 นาทีเมื่อเปรียบเทียบกับบริการก่อนหน้านั้นที่ผู้โดยสารต้องเดินทางไปที่ วอเตอร์ลูอินเตอร์แนเชอนัลก่อน ดังนั้นการเดินทางไปปารีสจึงเหลือเพียง 2 ชั่วโมง 15 นาที และบรัสเซลเพียง 1 ชั่วโมง 51 นาที[3]

รถโดยสารประจำทาง

รถโดยสารประจำทางสองชั้น ให้บริการในเส้นทาง 13

เครือข่ายรถโดยสารประจำทางในลอนดอนเป็นระบบที่กว้างใหญ่มากโดยมีตารางเวลาบริการมากกว่า 6,800 ตารางทุกวันสัปดาห์และบรรทุกผู้โดยสารประมาณราวหกล้านคนในกว่า 700 เส้นทางที่แตกต่างกัน [4] รถโดยสารประจำทางเน้นการให้บริการระดับท้องถิ่น และให้บริการผู้โดยสารจำนวนมากกว่ารถไฟใต้ดิน นอกจากจะให้บริการในเวลากลางวันแล้ว รถโดยสารประจำทาง 100 สายในลอนดอนยังให้บริการในตอนกลางคืนตลอด 24 ชั่วโมงด้วย

องค์การการคมนาคมสำหรับลอนดอนบริหารระบบรถโดยสารประจำทางโดยมีสัญญาจ้างให้บริษัทเอกชนต่าง ๆ ดูแลเส้นทางบางเส้น โดยองค์การเป็นผู้กำหนดเส้นทาง, ความถี่, ค่าโดยสาร และแม้แต่ชนิดของยานพาหนะที่จะใช้ บริษัทต่าง ๆ ประมูลราคาเพื่อที่จะบริการเหล่านี้ในราคาที่คงที่ต่อไปอีกหลาย ๆ ปี โดยมีสิ่งจูงใจและบทลงโทษเพื่อทำให้บริษัทเหล่านี้มีกำลังใจที่จะสร้างบริการที่ดี

บริการหลายบริการใช้รถสองชั้นสีแดงซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็นพาหนะ ซึ่งเป็นจุดเด่นของรถโดยสารประจำทางลอนดอนมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่แล้ว ปัจจุบันมีการปรับสีใหม่ต่าง ๆ ทำให้รถโดยสารประจำทางหลาย ๆ คันมิได้เป็นรถสองชั้นสีแดงเพียงเท่านั้น หากแต่เป็นรถสีอื่น ๆ และบางคันก็มีเพียงชั้นเดียวด้วย

ถนน

ลอนดอนมีการจัดถนนเป็นระบบตามลำดับขั้นเรียงลำดับตามความสำคัญแผ่ออกจากศูนย์กลางและไล่วนเส้นทางลงไปยังถนนสายรองหรือ "เส้นทางขนาดเล็ก" และในตำแหน่งที่ดีที่สุดของถนนจะมีทางด่วน, ทางยกระดับ และ ทางคู่ขนาน ซึ่งแบ่งออกได้อีก คือ ถนนที่ไม่ใช่ทางยกระดับ ถนนคู่ขนานในเขตเมืองไล่ลงมาถึง ถนนเล็ก ๆ ในท้องถิ่น.

เส้นทางหลัก

เส้นทางขนาดเล็ก

ค่าเข้าเมือง

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอนออกกฎข้อบังคับใหม่โดยการเก็บค่าเข้าเมือง (Congestion charge) วันละ £5 สำหรับผู้ขับยานพาหนะจากภายนอกบริเวณเข้าไปในบริเวณที่กำหนดไว้ในลอนดอนระหว่างชั่วโมงทำงาน (peak hours) [5] นักการเมืองที่อยู่เบื้องหลังการเก็บค่าเข้าเมืองอ้างว่าหลังจากการเริ่มเก็บค่าเข้าเมืองการจราจรในลอนดอนก็เบาบางลงอย่างเห็นได้ชัดอันเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพในการบริการรถประจำทางและรถแท็กซี่เพิ่มมากขึ้น[6] แต่ข้ออ้างนี้ก็มีผู้ไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง ค่าเข้าเมืองเพื่มเป็น £8 ต่อวันในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548[7] ในปี พ.ศ. 2550 เขตการเก็บค่าเข้าเมืองก็ขยายออกไปรวมบริเวณลอนดอนตะวันตก[8]

รถรับจ้างส่วนบุคคล

ผมรักลุตู่มาก มาก เลยครับบบบบบบบบบบ

สนามบิน

สนามบินฮีทโธรว์ มีผู้คนเข้าออกมากที่สุดในโลก
ภาพถ่ายทางอากาศของ สนามบินลอนดอนซิตี

ลอนดอนเป็นเมืองที่มีการบริการสนามบินที่ดีที่สุดในโลก โดยมีผู้โดยสารเกือบ 150 ล้านคนใช้สนามบินทั้ง 6 แห่งในปี พ.ศ. 2548 ตามลำดับขนาด สนามบินแหล่านี้คือฮีทโธรว์, แกตวิค, สแตนสเตด, ลูตอน และ ลอนดอนซิตี; สนามบินที่เล็กที่สุด บิกกินฮิลล์ ซึ่งเป็นสนามบินเดียวที่ไม่มีแผนการบิน

สนามบินฮีทโธรว์และแกตวิคบริการการบินระหว่างประเทศ ระหว่างประเทศในทวีปยุโรป และภายในประเทศ; ส่วนสนามบินสแตนสเตดและลูตอนเน้นการบริการราคาต่ำสำหรับการบินระหว่างประเทศในทวีปยุโรปและภายในประเทศ ในขณะที่สนามบินลอนดอนซิตีให้บริการสำหรับผู้โดยสารที่ทำธุรกิจในจุดหมายระยะสั้นและภายในประเทศ

โดยส่วนมากแล้วเที่ยวบินส่วนใหญ่ที่เดินทางจากประเทศไทยไปสหราชอาณาจักรโดยลงที่ลอนดอน จะลงที่สนามบินฮีทโธรว์และแกตวิค ซึ่งเป็นสนามบินหลักของลอนดอน ซึ่งมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ลงที่สนามบินอื่น

สนามบินที่ใกล้ที่สุดในการไปถึงใจกลางกรุงลอนดอน คือ สนามบินลอนดอนซิตี ซึ่งห่างออกไปทางทิศตะวันออกจากเขตดอคแลนดส์ ประมาณ 10 กิโลเมตร สายต่าง ๆ ของ รถไฟเบาสายดอคแลนดส์ เชื่อมต่อสนามบินกับเมืองภายใน 25 นาที[9]

สนามบินอีกสองแห่งที่อยู่ชานเมืองภายในเขตนครลอนดอนและปริมณฑลคือ สนามบินบิกกินฮิลล์ ซึ่งห่างออกไปจากใจกลางลอนดอนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 23 กิโลเมตร และสนามบินหลักของลอนดอน ฮีทโธรว์ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 20-25 กิโลเมตรจากใจกลางลอนดอน

สนามบินฮีทโธรว์บริการผู้โดยสารกว่า 70 ล้านคนต่อปี ซึ่งทำให้เป็นสนามบินที่ยุ่งที่สุดของทวีปยุโรป ฮีทโธรว์มีรันเวย์สองทางและอาคารผู้โดยสาร (terminal) 5 อาคาร อาคารผู้โดยสารที่ 5 เปิดในปี พ.ศ. 2551 บริการรถไฟ ฮีทโธรว์เอ็กซ์เพรส, บริการรถไฟท้องถิ่นฮีทโธรว์คอนเน็กต์ และ สายพิคคาดิลลี่ ของ รถไฟใต้ดินลอนดอน เชื่อมต่อสนามบินไปที่ใจกลางลอนดอน ส่วนทางหลวงพิเศษที่เชื่อมต่อก็มี ทางหลวงพิเศษ M4 และ M25

สนามบินแกตวิคในซัสเซกซ์อยู่ทางใต้ของใจกลางลอนดอนไปเกือบ 40 กิโลเมตรซึ่งระยะทางที่ใกลจากลอนดอนไปพอประมาณ สนามบินแกตวิคมีรันเวย์เพียงทางเดียวและมีอาคารผู้โดยสารสองอาคาร แกตวิคบริการผู้โดยสารกว่า 30 ล้านคนต่อปีทั้งจากเที่ยวบินภายในประเทศ เที่ยวบินระยะสั้น และ เที่ยวบินระยะยาว สนามบินแกตวิคเชื่อมกับลอนดอนโดยบริการแกตวิคเอกซ์เพรส, เทมส์ลิงก์, บริการรถไฟเซาท์เทิร์น และ ทางหลวงพิเศษ M23

สนามบินสแตนสเตดเป็นสนามบินที่อยู่ห่างจากลอนดอนมากที่สุด ซึ่งระยะทางอยู่ทางเหนือจากใจกลางลอนดอนประมาณ 50 กิโลเมตร ใน เอสเซกซ์ โดยสนามบินมีรันเวย์ทางเดียวและอาคารผู้โดยสารหนึ่งแห่ง ซึ่งมีผู้โดยสารกว่า 20 ล้านคนมาที่นี่ต่อปี โดยส่วนมากแล้วมาจากเที่ยวบินต้นทุนต่ำ เที่ยวบินระยะสั้น และ เที่ยวบินในประเทศ บริการ สแตนสเตดเอกซ์เพรส และ ทางหลวงพิเศษ M11 เชื่อมต่อสนามบินเข้าสู่ลอนดอน

สนามบินลูตอนอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของลอนดอน ห่างออกไปประมาณ 45 กิโลเมตร โดยมีบริการรถไฟ เฟิร์สแคปปิตอลคอนเน็กต์ และ ทางหลวงพิเศษ M1 เชื่อมต่อสนามบินไปยังลอนดอน สนามบินลูตอนมีอาคารผู้โดยสารเพียงแห่งเดียวและรันเวย์สั้น ส่วนการรองรับผู้โดยสาร สนามบินมีจุดประสงค์เดียวกับสนามบินสแตนสเตด ที่จะรองรับผู้โดยสารที่เดินทางโดย เที่ยวบินระยะสั้นต้นทุนต่า

การคมนาคมทางน้ำ

ท่าเรือเฟสติวัล ใน แม่น้ำเทมส์

ในอดีต แม่น้ำเทมส์เป็นหัวใจสำคัญของการเดินทางหลักในลอนดอน

นอกจากนี้ สินค้าของกอง (สินค้าที่กองรวมกัน - ภาษาศุลกากร) จะถูกขนส่งทางเรือ และ นายกเทศมนตรีลอนดอนมีความประสงค์จะให้เพิ่มการใช้การคมนาคมทางน้ำนี้

ลอนดอนยังมีคลองหลายสาย รวมทั้ง คลองรีเจนทส์ ที่เชื่อมต่อแม่น้ำเทมส์กับ คลองแกรนด์ยูเนียน และดังนั้น to the waterway network across much of England. คลองเหล่านี้ไม่ได้ถูกใช้ในการขนส่งสินค้าอีกแล้ว แต่โด่งดังด้วยเรือสำราญ


จักรยาน

การปั่นจักรยานในลอนดอนได้เข้าสู่ยุคทองโดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงยุคมิลเลนเนียม (ค.ศ. 2000) นักปั่นจักรยานพบว่าพวกเขาชอบการปั่นจักรยานมากขึ้น เพราะราคาถูกกว่าและบางครั้งรวดเร็วกว่าการคมนาคมโดยขนส่งมวลชนหรือรถยนต์

ผู้คนที่อาศัยอยู่ในลอนดอนมากกว่าหนึ่งล้านคน แต่ในปี พ.ศ. 2551 การเดินทางทั้งหมดในลอนดอน มีเพียงแค่ 2% เท่านั้นที่เดินทางโดยจักรยาน : เปรียบเทียบกับเมืองใหญ่อื่น ๆ ในยุโรปเบอร์ลิน (5%), มิวนิก (12%), โคเปนเฮเกน (20%) และ อัมสเตอร์ดัม (28%).[10] อย่างไรก็ดี นี่เป็นการเพิ่มขึ้นมาถึง 83% ในปี พ.ศ. 2543 [11] ขณะนี้ มีการประมาณการว่า มีการเดินทางด้วยจักรยานทั้งหมด 480,000 ครั้งในแต่ละวันในลอนดอน

อ้างอิง

  1. รถไฟใต้ดินขนส่งผู้โดยสารจำนวนหนึ่งล้านล้านคนครั้งแรก | องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน (อังกฤษ)
  2. "กลยุทธ์ทางการเดินทางของนายกเทศมนตรี". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-06-28. สืบค้นเมื่อ 2003-06-28.
  3. BBC NEWS | ประเทศอังกฤษ | ลอนดอน | ยูโรสตาร์ไปถึงปารีสทันเวลา
  4. London Buses (รถบัสในลอนดอน เก็บถาวร 2008-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Transport for London. เข้าไปในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 (อังกฤษ)
  5. "ปราศจากปัญหาเริ่มเก็บค่าเข้าเมือง". BBC News. 2003-02-18. สืบค้นเมื่อ 2007-05-26.
  6. "Impacts monitoring - Fourth Annual Report Overview" (PDF). Transport for London. June 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-25. สืบค้นเมื่อ 2007-05-26.
  7. "ค่าเข้าเมืองเพื่มเป็น £8". BBC News. 2005-04-01. สืบค้นเมื่อ 2006-04-08.
  8. Woodman, Peter (2007-02-19). "ขยายบริเวณเก็บค่าเข้าเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-03. สืบค้นเมื่อ 2007-05-26.
  9. ตารางเวลารถไฟของสนามบินลอนดอนซิตี, www.tfl.gov.uk. เรียกข้อมูลวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2548
  10. "นายกเทศมนตรีลอนดอน - ยุทธวิธีทางการคมนาคม - การปั่นจักรยาน". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-06-04. สืบค้นเมื่อ 2004-06-04.
  11. "สำนักงานเขตนครลอนดอนและปริมณฑล - Press Release". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-16. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น