พายุไต้ฝุ่นฮากีบิส (พ.ศ. 2562)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พายุไต้ฝุ่นฮากีบิส)
พายุไต้ฝุ่นฮากีบิส
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
พายุไต้ฝุ่นฮากิบิสขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562
พายุไต้ฝุ่นฮากิบิสขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562
พายุไต้ฝุ่นฮากิบิสขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ก่อตัว 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562
สลายตัว 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562

(กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนหลังจาก 13 ตุลาคม)

ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 10 นาที:
215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต เสียชีวิต 105 คน บาดเจ็บ 375 คน และสูญหาย 3 คน
ความเสียหาย 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2019)
(เป็นพายุไต้ฝุ่นที่สร้างความเสียหายมากที่สุด หากไม่คำนวณอัตราเงินเฟ้อ)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
หมู่เกาะมาเรียนา, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, รัสเซีย, อลาสกา
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562

พายุไต้ฝุ่นฮากิบิส หรือ ไต้ฝุ่นเรวะที่ 1 แห่งญี่ปุ่นตะวันออก (อังกฤษ: Typhoon Hagibis, ญี่ปุ่น: 令和元年東日本台風, โรมาจิ: Reiwa Gannen Higashi-Nihon Taifū) เป็นพายุหมุนเขตร้อนขนาดใหญ่และทรงพลังเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นพายุไต้ฝุ่นที่สร้างผลกระทบต่อภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่นอย่างหนักที่สุดนับตั้งแต่ไต้ฝุ่นไอดาในปี พ.ศ. 2501 เป็นพายุดีเปรสชันลูกที่ 38 พายุไต้ฝุ่นลูกที่ 9 และซูเปอร์ไต้ฝุ่นลูกที่ 3 ของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 พายุไต้ฝุ่นฮากีบิสสร้างความเสียหายเพิ่มต่อประเทศญี่ปุ่นหลังจากเมื่อหนึ่งเดือนก่อนพายุไต้ฝุ่นฟ้าใสเข้าโจมตีในภูมิภาคเดียวกัน พายุไต้ฝุ่นฮากีบิสก่อตัวในวันที่ 2 ตุลาคมจากคลื่นความร้อนที่ตั้งอยู่ประมาณ 300 กิโลเมตรทางตอนเหนือของหมู่เกาะมาร์แชลล์ ต่อมาไต้ฝุ่นถึงระดับพายุโซนร้อนเมื่อ 5 ตุลาคมขณะเคลื่อนที่ไปทางตะวันตก หลังจากนั้นไม่นานไต้ฝุ่นฮากีบิสเข้าช่วงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ในวันที่ 7 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นฮากีบิสมีความเร็วสูงสุดเท่าที่เคยบันทึกมา หลังจากรักษาระดับความเร็วไว้ได้ประมาณสามวัน พายุไต้ฝุ่นฮากีบิสเริ่มอ่อนกำลังลงเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย เมื่อวันที่ 12 ตุลาคมพายุไต้ฝุ่นฮากีบิสเคลื่อนตัวประชิดกับชายฝั่งทางใต้ของประเทศญี่ปุ่น มีรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตรวม 49 ราย

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา[แก้]

แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
■ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
▲ พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
  • วันที่ 2 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) เริ่มติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำที่ตั้งอยู่บริเวณด้านเหนือของหมู่เกาะมาเรียนา
  • วันที่ 3 ตุลาคม JTWC ได้สังเกตการณ์เรื่องการปรับสถานะของหย่อมความกดอากาศเป็น "ภายใน 24 ชั่วโมง หย่อมความกดอากาศมีโอกาสสูงที่จะพัฒนาขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน" นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า ตัวหย่อมนั้นมีโอกาสสูงที่จะเกิดการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • วันที่ 4 ตุลาคม JTWC ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ออกคำประกาศให้ พายุดีเปรสชันเขตร้อน 20W เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลำดับที่ 38 ของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562
  • วันที่ 5 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อจาก JMA ว่า ฮากีบิส (Hagibis) เนื่องจากอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลและปริมาณลมเฉือนในระดับที่ต่ำ ทำให้ตัวพายุนั้นทวีกำลังแรงขึ้นได้ต่อเนื่อง
  • วันที่ 6 ตุลาคม พายุฮากีบิสทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 7 ตุลาคม ขณะที่พายุฮากีบิสกำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกอยู่นั้น พายุฮากีบิสได้ทวีกำลังขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง ขณะที่ตัวพายุได้เคลื่อนประชิดใกล้พื้นที่ร้างของหมู่เกาะมาเรียนา การพาความร้อนที่รุนแรงอันเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยนั้น ทำให้พายุมีกำลังแรงเทียบเท่าระดับพายุระดับ 5 ตามมาตราลมเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน โดยมีความเร็วลมเฉลี่ยสูงสุดใน 1 นาทีที่ 285 กม./ชม. ขณะที่บริการสภาพอากาศแห่งชาติสหรัฐ ได้เริ่มออกคำแถลงการณ์กับพื้นที่ที่หน่วยงานรับผิดชอบ โดยมีการเตือนภัยพายุไต้ฝุ่นในการาปันและติเนียน และประกาศเตือนภัยพายุโซนร้อนในซินาปาโลและฮากัตญา[1] พายุฮากีบิสเคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะมาเรียนาในเวลา 15:30 UTC ด้วยความแรงสูงสุด มีความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาทีที่ 215 กม./ชม. และความกดอากาศที่ศูนย์กลาง 905 hPa
  • วันที่ 8 ตุลาคม หลังจากที่ตัวพายุเคลื่อนผ่านหมู่เกาะมาเรียนาไปแล้ว ฮากีบิสเริ่มเข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตา ซึ่งเป็นสาเหตุให้การทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นสิ้นสุดลง และเมื่อกำแพงตาหลักเริ่มอ่อนลง[2] JTWC จึงได้ปรับลดความรุนแรงของระบบพายุลงเล็กน้อยเป็นพายุระดับ 4 ในเวลา 00:00 UTC อีกหลายชั่วโมงต่อมา พายุฮากีบิสได้กลับทวีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งเป็นพายุระดับ 5 เมื่อวัฏจักรการแทนที่กำแพงตาสิ้นสุดลง
  • วันที่ 10 ตุลาคม หลังจากที่พายุรักษาความรุนแรงมาหลายวัน ฮากีบิสได้เริ่มอ่อนกำลังลงในเวลา 12:00 UTC ต่อมาในเวลา 13:30 UTC เริ่มมีการคาดการณ์ถึงผลกระทบกับส่วนของประเทศญี่ปุ่น เช่น ผู้จัดงานรักบี้ชิงแชมป์โลก 2019 ได้ตัดสินใจยกเลิกการแข่งขันอย่างน้อยสองแมตช์ซึ่งเดิมกำหนดไว้ว่าจะแข่งขันในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์[3] นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น, เจแปนแอร์ไลน์ และออล นิปปอน แอร์เวย์ที่ออกประกาศยุติการให้บริการทั้งหมด[4]
  • วันที่ 11 ตุลาคม ฟอร์มูลาวันประกาศยกเลิกรายการการแข่งขันทั้งหมดที่วางไว้ในวันเสาร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเจแปนนิสกรังด์ปรีซ์ 2019 ซึ่งประกอบด้วย รอบฝึกรอบที่สามและรอบคัดเลือก โดยมีกำหนดจัดใหม่ในช่วงเช้าวันอาทิตย์ ไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่การแข่งขันจะเริ่มขึ้น[5] ส่วนเอฟโฟร์เจแปนนิสแชมเปียนชิป ซึ่งได้ประกาศไปก่อนหน้าแล้วว่าจะยกเลิกการแข่งขันรอบสองที่จังหวัดชิซูโอกะ ซึ่งแต่เดิมถูกกำหนดไว้เป็นกิจกรรมสนับสนุนเจแปนนิสกรังด์ปรีซ์[6]
  • วันที่ 12 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นฮากีบิสเคลื่อนตัวประชิดกับชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ประกาศเตือนภัยฉุกเฉินทางสภาพอากาศ สำหรับฝนตกหนักที่มีโอกาสทำให้เกิดอุทกภัยและแผ่นดินถล่มได้ในหลายภูมิภาค ในจังหวัดชิซูโอกะ, จังหวัดยามานาชิ, จังหวัดนางาโนะ, จังหวัดคานางาวะ, จังหวัดไซตามะ, จังหวัดกุมมะ และโตเกียว[7] การออกเตือนภัยฉุกเฉินทางสภาพอากาศนั้นระบุว่า "มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดภัยพิบัติอย่างรุนแรง" และ "เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ปกติในระดับที่ชาวท้องถิ่นไม่เคยประสบพบเจอมาก่อน"[8] และในไม่กี่ชั่วโมงต่อมามีการออกคำเตือนเพิ่มเติมในจังหวัดนีงาตะ, จังหวัดโทจิงิ, จังหวัดอิบารากิ, จังหวัดฟูกูชิมะ, จังหวัดอิวาเตะ และจังหวัดมิยางิ[9] ต่อมาพายุไต้ฝุ่นฮากีบิสได้ขึ้นฝั่งที่คาบสมุทรอิซุทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะฮนชู ในเวลา 09:00 UTC โดยมีความเร็วลมเฉลี่ย 10 นาทีที่ 150 กม./ชม. และความเร็วลมเฉลี่ย 1 นาทีที่ 155 กม./ชม. เทียบเท่ากับพายุเฮอริเคนระดับ 2[10][11]มีรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตรวม 49 ราย
  • วันที่ 13 ตุลาคม ในขณะที่พายุไต้ฝุ่นฮากีบิสอยู่เหนือประเทศญี่ปุ่น พายุเริ่มอ่อนกำลังลงจากแรงเฉือนของลมแรงและในที่สุดก็กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน[12]
    พายุไต้ฝุ่นฮากิบิสขึ้นฝั่งที่ญี่ปุ่นครั้งแรกที่คาบสมุทรอิซุ จากนั้นเคลื่อนเข้าใกล้โยโกฮาม่า

การเตรียมการ[แก้]

กวมและหมู่เกาะมาเรียนา[แก้]

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ได้มีคำสั่งให้อพยพผู้คนในเกาะกวมและหมู่เกาะมาเรียนา โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯอนุมัติการประกาศภาวะฉุกเฉิน ส่วนเกาะไซปัน, ทีเนียน, อลามาแกนและเพแกนได้ออกคำเตือนพายุไต้ฝุ่นด้วย[13]

ประเทศญี่ปุ่น[แก้]

พยากรณ์อากาศทางภาคตะวันออก, ตะวันตกและภาคเหนือของญี่ปุ่นได้ประกาศระวังภัยลมแรงและฝนกระหน่ำซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมและดินโคลนถล่ม กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น, เจแปนแอร์ไลน์ และ ออล นิปปอน แอร์เวย์ ระงับการให้บริการ นักพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยาสุชิ คาจิวาระ กล่าวว่า "นี่เป็นภัยพิบัติระดับ 5 ภัยพิบัติอาจเกิดขึ้นแล้ว ขอให้ประชาชนดำเนินการปกป้องชีวิตของตนเองทันที" มีการออกคำสั่งอพยพไปยังภูมิภาคต่างๆ มากกว่า 800,000 ครัวเรือนใน 11 จังหวัด ผู้คนกว่า 230,000 คนรับคำแนะนำให้มุ่งหน้าไปยังศูนย์พักพิงผู้อพยพ

พายุไต้ฝุ่นส่งผลกระทบต่อการแข่งขันกีฬาสำคัญหลายรายการที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น เช่น การแข่งขันรักบี้เวิลด์คัพ 2019 สามนัดถูกยกเลิกเนื่องจากพายุ รวมถึงการแข่งขันพูล B ระหว่างนิวซีแลนด์และอิตาลี แคนาดาและนามิเบียและการแข่งขันพูล C ระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส นี่เป็นครั้งแรกที่มีการยกเลิกการแข่งขันในประวัติศาสตร์ของการแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลก ผลการแข่งขันที่ถูกยกเลิกทั้งหมดให้ถือเป็นการเสมอกัน: ผลจากการยกเลิกได้ถือเป็นการกำจัดอิตาลีออกจากทัวร์นาเมนต์เนื่องจากพวกเขามีโอกาสที่จะผ่านเข้ารอบน็อกเอาต์ด้วยคะแนนที่ใกล้เคียงกับของกับนิวซีแลนด์

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคมมีการประกาศว่าการฝึกซ้อมในวันเสาร์สำหรับรายการ Japanese Grand Prix 2019 ที่สนามซุซุกะเซอร์กิต จะถูกยกเลิกและการแข่งขันรอบคัดเลือกในวันเสาร์จะเลื่อนออกไปเป็นเช้าวันอาทิตย์ก่อนการแข่งขัน[14] การแข่งขันชิงแชมป์ญี่ปุ่น F4 ยกเลิกรอบที่เซอร์กิตเช่นกัน แม้จะมีการเล่นเกมในร่มในสนามกีฬาทรงโดม แต่สมาคมเบสบอลอาชีพแห่งญี่ปุ่นก็เลื่อนทั้ง Game 4 Climax Series ออกไปในปี 2019 และ 2019 Central League Climax Series ทั้งสองเกมมีแผนที่จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม โดยหนึ่งจะจัดที่ในโทโคโระซาวะ ไซตามะและอีกเกมในบุงเกียวโตเกียว แต่ในวันที่ 13 ตุลาคมก็ได้กลับมาจักการแข่งขันอีกครั้งหนึ่ง

การถอนชื่อ[แก้]

เนื่องจากไต้ฝุ่นฮากิบิสสร้างความเสียหายอย่างหนักแก่ ประเทศญี่ปุ่น ชื่อ ฮากิบิส จึงถูกถอนชื่อออกโดยคณะกรรมการไต้ฝุ่น ESCAP/WMO ในการประชุมประจำปีครั้งที่ 52 จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 คณะกรรมการไต้ฝุ่น ESCAC/WMO ได้เลือกชื่อ รากาซา แทนชื่อ ฮากิบิส[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. US Department of Commerce, NOAA. "Tiyan, GU". www.weather.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  2. "Prognostic Reasoning 06Z (Hagibis)". Joint Typhoon Warning Center. Naval Meteorology and Oceanography Command. 8 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2019. สืบค้นเมื่อ 8 October 2019.
  3. Jones, Chris (10 October 2019). "Rugby World Cup: England-France match called off because of Typhoon Hagibis". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 10 October 2019.
  4. Zraick, Karen (9 October 2019). "Japan Prepares for Possible Hit by Super Typhoon Hagibis". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 9 October 2019.
  5. Benson, Andrew (11 October 2019). "Japanese GP typhoon: Qualifying postponed as Typhoon Hagibis nears". BBC News.
  6. "2019 FIA F1 World Championship Japan Grand Prix Support Race FIA-F4 Suzuka Round Special Game canceled due to approaching typhoon". F4 Japanese Championship. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-10. สืบค้นเมื่อ 10 October 2019.
  7. "Emergency Weather Warnings in effect". Japan Meteorological Agency. 12 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
  8. "Emergency Warning System". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
  9. "Emergency Weather Warnings in effect (1140Z)". Japan Meteorological Agency. 12 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
  10. "Hagibis (1919) Forecast (09Z)". Japan Meteorological Agency. 12 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
  11. "Hagibis Prognostic Reasoning (06Z)". Joint Typhoon Warning Center. Naval Meteorology and Oceanography Command. 12 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
  12. "Super Typhoon Hagibis Storm Activity: Oct 5, 2019 - Oct 12, 2019". wunderground.com. Weather Underground. สืบค้นเมื่อ 16 October 2019.
  13. "150 mph typhoon will hit Guam, the Northern Mariana Islands and possibly Japan". Newsweek (ภาษาอังกฤษ). 2019-10-07.
  14. "Qualifying postponed in Japan as typhoon nears". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "Replacement Names of FAXAI, HAGIBIS, KAMMURI, LEKIMA, PHANFONE, and YUTU in the Tropical Cyclone Name List" (PDF). Typhoon Committee. 8 February 2021. สืบค้นเมื่อ 27 February 2020.