พัลซาร์ปู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พัลซาร์ปู

เนบิวลาปู ซึ่งมีพัลซาร์ปูอยู่ตรงกลาง ภาพดังกล่าวเป็นการประกอบกันของภาพในแสงที่ตามองเห็นจากกล้องฮับเบิล (สีแดง) และภาพในรังสีเอกซ์จากกล้องจันทรา (สีน้ำเงิน) NASA/CXC/ASU/J. Hester et al.[1]
ข้อมูลสังเกตการณ์
ต้นยุคอ้างอิง J2000      วิษุวัต J2000
กลุ่มดาว วัว
ไรต์แอสเซนชัน 05h 34m 31.97s
เดคลิเนชัน +22° 00' 52.1"'
ความส่องสว่างปรากฏ (V) 16.5
คุณสมบัติ
ชนิดสเปกตรัมF
ดัชนีสี U-B-0.45
ดัชนีสี B-V+0.5
ชนิดดาวแปรแสงไม่
มาตรดาราศาสตร์
การเคลื่อนที่เฉพาะ (μ) RA: -14.7±0.8[2] mas/yr
Dec.: 2.0±0.8[2] mas/yr
ระยะทาง2000[2] pc
รายละเอียด
มวล? M
รัศมี? R
กำลังส่องสว่าง? L
อุณหภูมิ? K
การหมุนตัว29.6 วินาที-1[2]
อายุ956 (พ.ศ. 2553) ปี
ชื่ออื่น
SNR G184.6-05.8, 2C 481, 3C 144.0, SN 1054A, 4C 21.19, NGC 1952, PKS 0531+219, PSR B0531+21, PSR J0534+2200, CM Tau.
ฐานข้อมูลอ้างอิงอื่น
SIMBADpulsar data

พัลซาร์ปู (PSR B0531+21) เป็นดาวนิวตรอนอายุค่อนข้างน้อย และเป็นดาวศูนย์กลางในเนบิวลาปู ซากที่เหลืออยู่ของซูเปอร์โนวา SN 1054 ซึ่งได้รับการสังเกตการณ์อย่างกว้างขวางจากโลกในปี พ.ศ. 1597[3][4][5] พัลซาร์ปูได้รับการค้นพบใน พ.ศ. 2511 และเป็นพัลซาร์วัตถุแรกที่เชื่อมโยงกับซากซูเปอร์โนวา[6] ถือเป็นพัลซาร์ในคลื่นที่ตามองเห็น

พัลซาร์ปูมีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 25 กิโลเมตร และ "ลำแสง" พัลซาร์ได้หมุนทุก ๆ 33 มิลลิวินาที หรือประมาณ 30 ครั้งต่อวินาที ลมที่ไหลออกมาจากดาวนิวตรอนทำให้เกิดการแผ่รังสีซิงโครตรอน ซึ่งผลิตความจุของการปลดปล่อยจากเนบิวลา มองเห็นได้ในคลื่นวิทยุไปจนถึงรังสีแกมม่า คุณลักษณะเกี่ยวกับพลวัตสูงสุดในส่วนในของเนบิวลาปูคือจุดที่ซึ่งลมเส้นศูนย์สูตรของพัลซาร์กระทบกับเนบิวลาที่อยู่โดยรอบ ก่อให้เกิดกำแพงกระแทก รูปร่างและตำแหน่งของคุณลักษณะดังกล่าวเปลี่ยนแปลงบ่อยมาก เมื่อลมเส้นศูนย์สูตรปรากฏขึ้นเป็นคุณลักษณะที่สูงชันขึ้น สว่างขึ้นแล้วค่อยจางลงเมื่อลมพัดออกจากพัลซาร์ไปสู่บริเวณหลักของเนบิวลา ระยะเวลาของการหมุนของเนบิวลาช้าลง 38 นาโนวินาทีต่อวันเนื่องจากพลังงานปริมาณมหาศาลที่ถูกพัดพาไปกับลมพัลซาร์ด้วย[7]

เนบิวลาปูมักถูกใช้เป็นแหล่งเทียบมาตรฐานในดาราศาสตร์รังสีเอกซ์ มันมีความสว่างมากในรังสีเอกซ์และความหนาแน่นฟลักซ์และสเปกตรัมก็เป็นที่ทราบกันว่ามีค่าคงที่ โดยมีข้อยกเว้นเฉพาะพัลซาร์ปูเท่านั้น พัลซาร์ปูได้ปล่อยสัญญาณเข้มมาเป็นบางครั้งซึ่งถูกใช้เพื่อตรวจสอบการบันทึกเวลาของตัวตรวจจับรังสีเอกซ์ ในดาราศาสตร์รังสีเอกซ์ 'แครป' และ 'มิลลิแครป' บางครั้งถูกใช้เป็นหน่วยสำหรับวัดความหนาแน่นฟลักซ์ มิลลิแครปมีความสัมพันธ์กับราว 2.4 × 10-11 เออร์กต่อวินาที⋅ตารางเซนติเมตร (2.4 × 10-14 วัตต์ต่อตารางเมตร) ในย่านรังสีเอกซ์ 2-10 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ สำหรับสเปกตรัมรังสีเอกซ์ "คล้ายปู" มีแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์จำนวนน้อยเท่านั้นที่มีความสว่างเกินหนึ่งแครป

อ้างอิง[แก้]

  1. "Space Movie Reveals Shocking Secrets of the Crab Pulsar" (Press release). NASA. September 19, 2002.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 ATNF Pulsar Catalogue database entry. See Manchester, R. N.; และคณะ (2005), "The Australia Telescope National Facility Pulsar Catalogue", Astronomical Journal, 129 (4): 1993–2006, arXiv:astro-ph/0412641, Bibcode:2005AJ....129.1993M, doi:10.1086/428488, S2CID 121038776
  3. Supernova 1054 - Creation of the Crab Nebula
  4. Duyvendak, J. J. L. (1942), "Further Data Bearing on the Identification of the Crab Nebula with the Supernova of 1054 A.D. Part I. The Ancient Oriental Chronicles", Publications of the Astronomical Society of the Pacific, 54 (318): 91, Bibcode:1942PASP...54...91D, doi:10.1086/125409
    Mayall, N. U.; Oort, Jan Hendrik (1942), "Further Data Bearing on the Identification of the Crab Nebula with the Supernova of 1054 A.D. Part II. The Astronomical Aspects", Publications of the Astronomical Society of the Pacific, 54 (318): 95, Bibcode:1942PASP...54...95M, doi:10.1086/125410
  5. Brandt, K.; และคณะ (1983), "Ancient records and the Crab Nebula supernova", The Observatory, 103: 106, Bibcode:1983Obs...103..106B
  6. Zeilik, Michael; Gregory, Stephen A. (1998), Introductory Astronomy & Astrophysics (4th ed.), Saunders College Publishing, p. 369, ISBN 978-0-03-006228-5
  7. "Supernovae, Neutron Stars & Pulsars". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-09. สืบค้นเมื่อ 2010-11-24.