ข้ามไปเนื้อหา

พระแม่ปารณศวรีโพธิสัตว์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระแม่ปารณศวรีโพธิสัตว์
เทวรูปพระแม่ปารณศวรีโพธิสัตว์ ศิลปะแบบประเพณีจีนในปัจจุบัน ณ วัดเจดีย์ขาว(妙應寺) ปักกิ่ง ประเทศจีน
สันสกฤตपर्णशबरी
Parṇaśabarī
จีน叶衣菩萨
(Pinyin: Yè yī Púsà)
ไทยพระปารณศวรีโพธิสัตว์
ทิเบตརི་ཁྲོད་ལོ་མ་གྱོན་མ།
เวียดนามParṇaśabarī Bồ Tát
ข้อมูล
นับถือในมหายาน
วัชรยาน
ตันตระ
พระลักษณะทรงพัสตราภรณ์ด้วยใบไม้
ศักติพระไภษัชยคุรุ
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

ปารณศวรี (IAST: Parṇaśabarī, สันสกฤต: पर्णशबरी) หรืออาจสะกดตามรูปภาษาไทยได้ว่า บรรณศวรี (เทพีผู้นุ่งห่มใบไม้),[1][2]เป็นพระโพธิสัตว์เทพีในคติศาสนาพุทธแบบมหายานและวัชรยาน ได้รับการยกย่องว่าทรงคุ้มครองและอุปถัมป์การขจัดโรคระบาด และทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บ[3]

เทวรูปปฏิมากรของนางยังปรากฏในธากา ประเทศบังกลาเทศ ซึ่งหลงเหลือผ่านมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิปาละ ซึ่งที่มาเดิมอาจเป็นพระแม่ศีตลาและบริวารของนางคือชวาลาสูร[4] ซึ่งเป็นเทพเจ้าฮินดูที่เกี่ยวข้องและอุปถัมป์การขจัดโรคระบาด และทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บด้วยเช่นกัน[4] ในประวัติศาสตร์อินเดีย มีเทวรูปปฏิมาของนางอันมีชื่อเสียงขจรขจายจากชุดหมู่ปฏิมากรรมสัมฤทธิ์แห่งกุรกิหารซึ่งอยู่อายุราวพุทธศตวรรษที่สิบห้าถึงสิบแปด[5]

ในคติศาสนาพุทธแบบวัชรยานนับถือว่านางเป็นเทพีบริวารของเจ้าแม่ตาราโพธิสัตว์เทพี[1] นักวิชาการบางท่านกล่าวว่านางอาจมีที่มาจากเทพีพื้นเมืองท้องถิ่นของเทือกเขาวินธัย เนื่องจากนางมีลักษณะและความเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับชาวสาบาภาชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณนี้[1]

ที่มา

[แก้]

ในทางประวัติศาสตร์ นางนั้นอาจพัฒนามาจากเทวีท้องถิ่นของอินเดีย เนื่องจากมีการขนามนามของนางว่า “ปีศาจี” ในภาษาสันสกฤตซึ่งหมายถึงปิศาจ คำนี้ยังปรากฏในมนต์ของนางด้วย ปิศาจมีความหมายถึงพลังของธรรมชาติที่อาจให้คุณหรือโทษก็ได้ตามขนบการบูชาของชาวบ้าน เช่นเดียวกับคำว่าฑากินี ยักษิณี ฯลฯ ซึ่งถูกลดคุณค่าความสำคัญลงโดยวัฒนธรรมพราหมณ์ ฮินดูทางการ แต่พุทธศาสนาวัชรยานรับไปพัฒนาต่อ และประติมานวิทยาเทพปฏิมาของนาง สอดคล้องกับรูปลักษณ์ที่นุ่งใบไม้เหมือนชาวป่าที่แสดงถึงความเป็นพื้นเมืองอย่างชัดเจน ซึ่งแสดงร่องรอยว่านางอาจเป็นเทวีพื้นบ้านที่ถูกนำมารวมเข้าในพุทธศาสนาแล้วจัดให้อยู่ในกลุ่มพระแม่ตารา

เช่นเดียวกับที่ศาสนาฮินดูนำเอาเทวีแห่งโรคระบาดพื้นบ้านอย่างจ้าวแม่มาริอัมมาหรือเจ้าแม่ศีตลาเข้ามาเป็นหนึ่งในเทวดาในศาสนาฮินดูซึ่งทั้งพระปารณศวรีและเจ้าแม่ศีตลาของพราหมณ์ ฮินดูน่าจะมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน [6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Reflections on the Tantras. S̄udhakar Chattopadhyaya. 1978. p. 76. ISBN 9788120806917.
  2. The social function of art by Radhakamal Mukerjee. Philosophical Library. 1954. p. 151. ISBN 9780802211682.
  3. Bhattacharyya, Benoytosh (1958). The Indian Buddhist Iconography art. p. 520. ISBN 9788173053139.
  4. 4.0 4.1 Studies in Hindu and Buddhist art. By P. K. Mishra. 1999. p. 107. ISBN 9788170173687.
  5. History of the tantric religion: a historical, ritualistic, and philosophical study. Narendra Nath Bhattacharyya. 1982. p. 394. ISBN 9788173040252.
  6. https://www.matichonweekly.com/religion/article_424791

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]