พระแม่มริอัมมัน
![]() มริอัมมันศิลปะอินเดียใต้เลียนแบบรูปโบราณ | |
จำพวก | เทวีในศาสนาฮินดู |
---|---|
อาวุธ | ตรีศูล บัณเฑาะว์ มีดสั้น บ่วงบาศ ถ้วยผงสินธู |
สัตว์พาหนะ | สิงโต |
พระแม่มาริอัมมัน (ทมิฬ: மாரியம்மா; ฮินดี: मरि अम्मन) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู ปรากฏเฉพาะในอินเดียใต้เป็นส่วนใหญ่ และทรงเป็นที่รู้จักและนับถือภาคใต้ของอินเดียและในพื้นที่ชนบทของรัฐทมิฬนาฑู, รัฐกรณาฏกะ รัฐมหาราษฏระ และรัฐอานธรประเทศ ชาวฮินดูและคัมภีร์ในศาสนาฮินดูนั้นถือพระองค์เป็นภาคหนึ่งของพระแม่ปารวตีและพระแม่ทุรคา และทรงมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นเดียวกับเทวีของอินเดียภาคเหนือคือพระแม่ศีตลาเทวีและพระแม่กาลี

ในอินเดียใต้นั้น มีพิธีเฉลิมฉลองถวายแด่พระองค์ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูร้อนทั่วภูมิภาคของอินเดียใต้ ซึ่งเป็นงานเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ เรียกว่า " อทิตรีรูวิยา (Aadi Thiruvizha)" เป็นเทศกาลที่สำหรับ สักการบูชาประจำปีของพระนางเป็นส่วนใหญ่ มุ่งเน้นไปที่ การขอพรและการรักษาโรค เช่น โรค อหิวาตกโรค ฝีดาษ และ โรคต่างๆ ทรงเป็นที่เคารพบูชา ตามท้องถิ่นของอินเดียใต้เป็นส่วนใหญ่ โดยถือเป็นเทวีผู้ดูแลหมู่บ้านต่างๆ และมักจะมีเทวสถานเพื่อประดิษฐานเทวรูปประจำหมู่บ้าน และในเทวสถานนั้นมักขนาบข้างด้วยเทวรูปพระพิฆเนศและพระขันทกุมาร
ในความเชื่อของชาวฮินดูนั้น มีสัญญลักษณ์แทนพระองค์คือสะเดา ซึ่งถือว่ามีอำนาจและพลังของพระองค์สถิตอยู่พืชชนิดนี้และเครื่องเครื่องสักการบูชาหลักของพระองค์