พระเจ้าชางโจ้ว
โจ้วหวัง (มาตรฐาน) ติวอ๋อง (ฮกเกี้ยน) ติวอ๊วง (แต้จิ๋ว) | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์ชาง | |||||||||
ครองราชย์ | 1075–1046 ปีก่อนคริสตกาล (29 ปี) | ||||||||
ก่อนหน้า | ตี้อี่ (帝乙) | ||||||||
ประสูติ | 1105 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||
สวรรคต | 1046 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||
คู่อภิเษก | ต๋าจี่ (妲己) | ||||||||
พระราชบุตร | อู่เกิง (武庚) | ||||||||
| |||||||||
พระราชบิดา | ตี้อี่ |
โจ้วหวัง ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ ติวอ๋อง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (จีน: 紂王; พินอิน: Zhòu Wáng; "พระเจ้าโจ้ว/ติว") เป็นพระนามเชิงเหยียดหยามสำหรับใช้เรียก ตี้ซิน (帝辛) กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชาง (商朝) ของจีนโบราณ[4] คำว่า "โจ้ว/ติว" นี้หมายถึง เตี่ยวรั้งก้นม้า (horse crupper)[5] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอานม้าที่ม้ามักทำสกปรก พระนามนี้อาจสับสนกับชื่อราชวงศ์ถัดมาที่มีอักษรและการออกเสียงคนละแบบ (周; Zhōu)
ต้นรัชกาล
[แก้]เอกสาร ฉื่อจี้ (史記) ของซือหม่า เชียน (司馬遷) ว่า เมื่อแรกครองราชย์ โจ้วหวังมีความสามารถมากกว่าคนทั่วไป และไหวพริบปฏิภาณดี แต่ฉุนเฉียวง่าย ตำนานเล่าว่า โจ้วหวังมีสติปัญญามากถึงขนาดเอาชนะทุกคนที่มาถกปัญหาด้วยได้ ทั้งยังแข็งแรงถึงขนาดล่าสัตว์ป่าได้ด้วยมือเปล่า[6] พระองค์เป็นพระอนุชาในจื๋อฉี่ (子啓) และจื๋อหย่าน (子衍) (ภายหลังทั้งสองได้ครองรัฐซ่ง (宋国) ในฐานะประเทศราชของราชวงศ์โจว)[7] และเป็นพระราชบิดาของอู่เกิง โจ้วหวังเป็นบุตรของตี้อี่ กษัตริย์องค์รองสุดท้ายของราชวงศ์ชาง และมีพระเชษฐา/อนุชา 2 พระองค์ คือ จีจื่อ (箕子) และปี่ก้าน (比干) พระองค์ขยายดินแดนของราชวงศ์ชางด้วยการทำสงครามกับชนเผ่ารอบข้าง ซึ่งรวมถึงตงอี๋ทางตะวันออก
ปลายรัชกาล
[แก้]ปลายรัชกาล โจ้วหวังปล่อยตัวไปกับการร่ำสุรานารี ละเลยศีลธรรมจรรยา ละทิ้งราชกิจการเมือง ซือหม่า เชียน ว่า โจ้วหวังถึงขนาดจัดการร่วมเพศหมู่เป็นประจำเพื่อให้ผู้คนมามั่วสุมกระทำลามกต่าง ๆ ร่วมกัน ทั้งยังมักประพันธ์เพลงกลอนหยาบช้าอนาจาร ร่ำลือกันว่า โจ้วหวังหลงใหลสตรีนาม ต๋าจี่ (妲己; ฮกเกี้ยนว่า "ถันกี", เอกสารไทยโบราณเรียกเพี้ยนเป็น "ขันกี") และนางมักชวนโจ้วหวังประพฤติต่ำทรามต่าง ๆ มีการนำเรื่องนี้ไปเสริมแต่งหลายขนาน โดยเฉพาะในนวนิยายสมัยราชวงศ์หมิง (明朝) เรื่อง เฟิงเฉิน (封神; ฮกเกี้ยนว่า ห้องสิน, แปลว่า "สถาปนาเทวดา") ที่ระบุว่า ต๋าจี่กลายเป็นคนชั่วเพราะถูกปิศาจจิ้งจอก (狐狸精) สิงสู่
หนึ่งในสิ่งบันเทิงที่โจ้วหวังนิยมชมชอบมาก คือ จิ่วฉือรั่วหลิน (酒池肉林; "บ่อสุราป่าเนื้อ") เป็นบ่อขนาดใหญ่ที่เรือลงไปลอยลำได้หลายลำ ขุดขึ้นในเขตราชฐาน เอาหินรูปไข่จากชายหาดมาขัดเงาแล้วปูพื้นบ่อ แล้วเทสุราลงไปให้เต็มบ่อ ทั้งสร้างเกาะขนาดเล็กไว้กลางบ่อ ปลูกต้นไม้บนเกาะนั้น แล้วเอาเนื้อสัตว์แขวนไว้บนกิ่ง โจ้วหวังมักชวนญาติสนิทมิตรสหายพร้อมด้วยสนมชายาทั้งหลายมาล่องเรือในสระ ใครกระหายก็จ้วงเหล้าขึ้นมาดื่มได้ ใครหิวก็คว้าเนื้อมากินได้ ถือกันว่า นี่เป็นหนึ่งในตัวอย่างอันโด่งดังที่สุดแห่งความเสื่อมทรามและฉ้อฉลของผู้ปกครองแผ่นดินจีน[8][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
โจ้วหวังยังสั่งให้สร้างเผาเล่า (炮烙; ฮกเกี้ยนว่า "เผาหลก", แปลว่า "เสานาบ") ขึ้นเพื่อเป็นความบันเทิงแก่ต๋าจี่ สิ่งนี้เป็นเสาทรงกลมสูงใหญ่ ทำจากสำริด ข้างในกลวง เอาถ่านร้อนใส่เข้าไป เมื่อเสาร้อนจนแดง ก็จับนักโทษมานาบให้ตายอย่างช้า ๆ และทรมาน ผู้เคราะห์ร้ายนั้นมีตั้งแต่สามัญชนไปจนถึงขุนนางผู้ใหญ่อย่างเหมย์ปั๋ว (梅伯)[9]
ชีวิตเสเพลของโจ้วหวังทำให้ค่าใช้จ่ายรายวันสูงลิ่ว โจ้วหวังแก้ปัญหาด้วยการเก็บภาษีอย่างหนัก ผู้คนได้รับทุกข์เข็ญและหมดหวังกับราชวงศ์ชาง ญาติพี่น้องที่มาตักเตือนก็ประสบชะตากรรมโหดร้าย เช่น ปี่ก้าน ที่ถูกโจ้วหวังสั่งแหวะอกเอาหัวใจออกมาถึงแก่ความตาย และจีจื่อที่ถูกจองจำ
ล่มสลาย
[แก้]ราชวงศ์โจวอาศัยพฤติการณ์ดังกล่าวมาเป็นโอกาสล้มล้างราชวงศ์ชาง ราชวงศ์โจวส่งเจียง จื่อหยา (姜子牙; ฮกเกี้ยนว่า "เกียงจูแหย") นำทัพมาปราบ และเมื่อได้รบกันในยุทธการมู่เหย่ (牧野之戰) เมื่อ 1046 ปีก่อนคริสตกาล ราชวงศ์ชางก็พ่ายแพ้ราบคาบ โจ้วหวังทราบข่าวแล้วก็ขังตัวเองอยู่ในวัง ก่อนจะเผาตัวตายไปพร้อมกับสมบัติพัสถานต่าง ๆ หลังสวรรคต จี ฟาจึงตัดพระเศียรของพระองค์ไว้จัดแสดงบนเสาธงขาว ต๋าจี่ถูกประหารชีวิต และพระมเหสีอีกสองพระองค์ทำการอัตวินิบาตกรรม และก็มีการทำเศียรของเหล่าพระนางไปจัดแสดงบนเสาธงขาวเล็กหรือเสาธงแดง[10][11][12][13][14]
พระนาม โจ้ว (紂; เตี่ยวรั้งก้น) พระนามหลังสิ้นพระชนม์ ปรากฏขึ้นหลังการสวรรคตของพระเจ้าชาวโจ้ว พระนามนี้มีจุดมุ่งหมายให้สื่อถึงการตัดสินคุณค่าเชิงลบ และการครองราชย์ของพระองค์ได้สะสมเรื่องราวเกี่ยวกับการทุจริตที่ร้ายแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ หลังการสวรรคตของพะรองค์ไปหลายศตวรรษ พระองค์ได้รับชื่อเสียงว่า เกือบจะเป็นผู้ปกครองที่ชั่วร้ายในอุดมคติ[15]
ในวรรณกรรมและตำนาน
[แก้]พระเจ้าชางโจ้วได้รับการกล่าวถึงในหลุน-ยฺหวี่ (19 "子張");[16] และคัมภีร์สามอักษร[17] พระเจ้าชางโจ้วเป็นหนึ่งในตัวละครใน ห้องสิน และในสื่อยอดนิยมต่าง ๆ ดังนั้น ตี้ซิน หรือที่รู้จักกันในพระนาม โจ้ว ทำหน้าที่เป็นแบบอย่าง (ในเชิงลบ) ตามหลักการขงจื๊อ (แสดงเป็นผู้ปกครองชั่วร้ายที่ให้เหตุผลในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองตามอาณัติแห่งสวรรค์) พร้อมทั้งกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งวัฒนธรรมสมัยนิยม สิ่งนี้ทำให้เป็นบุคคลที่น่าสนใจในเชิงชีวประวัติ แต่ก็ท้าทายความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างประวัติศาสตร์ ตำนาน และการสร้างประเด็นทางปรัชญา
นวนิยายเรื่อง เฟิงเฉิน ว่า เจียง จื่อหยา เห็นว่า โจ้วหวังที่ถึงแก่กรรมลงนั้นเดิมเป็นผู้มีความรู้ความสามารถมากคนหนึ่ง แต่หลงผิดคิดชั่วเพราะปิศาจ จึงสถาปนาโจ้วหวังเป็นเทวดา เรียกว่า เทียนสี่ซิง (天喜星; "ดาวฟ้าปลื้ม") ทำหน้าที่ส่งเสริมความรักและการครองคู่ของมนุษย์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Book of Documents, "Book of Zhou - Speech at Mu". quote: 「今商王受惟婦言是用。昏棄厥肆祀弗答,昏棄厥遺王父母弟不迪。乃惟四方之多罪逋逃,是崇是長,是信是使,是以為大夫卿士,俾暴虐于百姓,以奸宄于商邑。」Kern (2017)'s translation: "Now for Shou, the king of Shang, it is indeed the words of his wife that he follows. He blindly discards the sacrifices he should present and fails to respond [to the blessings he has received from the spirits]. He blindly discards his paternal and maternal uncles who are still alive and fails to employ them. Thus, indeed, the vagabonds of the four quarters, loaded with crimes—these he honors, these he exalts, these he trusts, these he enlists, these he takes as high officials and dignitaries, to let them oppress and tyrannize the people and bring villainy and treachery upon the City of Shang."
- ↑ Kern, Martin (2017) "Chapter 8: The "Harangues" (Shi 誓) in the Shangshu" เก็บถาวร 2022-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in Origins of Chinese Political Philosophy: Studies in the Composition and Thought of the Shangshu (Classic of Documents). Series: Studies in the History of Chinese Texts, Volume 8. Eds Ker, Martin & Dirk, Meyer. p. 298 of pp. 281-319
- ↑ Lü Buwei. "仲冬紀—當務" [Winter's Middle Month Almanac | On being appropriate to the circumstances]. Lüshi Chunqiu.
受德乃紂也
- ↑ Wu, 220.
- ↑ แม่แบบ:Unihan
- ↑ Wu, 220–221, referencing Sima Qian's Yin Benji chapter (史记 · 辛本纪).
- ↑ Lüshi Chunqiu (吕氏春秋·仲冬纪第十一)
- ↑ Sima, Qian. Records of the Grand Historian.
- ↑ See, for example, Qu Yuan, Tian Wen (天问). "梅伯受醢".
- ↑ Yi Zhou Shu "Shifu"
- ↑ Yegor Grebnev, (2018). "The Record of King Wu of Zhou's Royal Deeds in the Yi Zhou Shu in Light of Near Eastern Royal Inscriptions," Journal of the American Oriental Society 138.1, p. 73-104.
- ↑ Shiji "Annals of Yin"
- ↑ Shiji "Annals of Zhou"
- ↑ Liu Xiang, Biographies of Exemplary Women "Depraved Favorites - Da Ji (consort) of Zhou of Yin"
- ↑ Pines, Yuri (2008). "To Rebel is Justified? The Image of Zhouxin and the Legitimacy of Rebellion in the Chinese Political Tradition". Oriens Extremus. Harrassowitz Verlag. 47: 1–24. JSTOR 24048044.
- ↑ "The Analects : Zi Zhang - Chinese Text Project". ctext.org (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-22.
- ↑ "Three Character Classic - Chinese Text Project".
บรรณานุกรม
[แก้]- Wu, K. C. (1982). The Chinese Heritage. New York: Crown Publishers. ISBN 0-517-54475-X.
- Sima Qian; Sima Tan (1959) [90s BCE]. "3: 殷本紀". Shiji 史記 [Records of the Grand Historian]. Zhonghua Shuju.
- Sima Qian; Sima Tan (1959) [90s BCE]. "4: 周本紀". Shiji 史記 [Records of the Grand Historian]. Zhonghua Shuju.
- "Zhou | ruler of the Shang dynasty". Encyclopædia Britannica. Chicago: Encyclopædia Britannica, Inc. 31 March 2016. สืบค้นเมื่อ 21 October 2022.
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือตั้งแต่May 2023
- พระมหากษัตริย์ราชวงศ์ชาง
- พระมหากษัตริย์จีนในศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล
- บุคคลที่เกิด 1105 ปีก่อนคริสตกาล
- บุคคลที่เสียชีวิต 1046 ปีก่อนคริสตกาล
- ราชวงศ์จีนซึ่งฆ่าตัวตาย
- ผู้ฆ่าตัวตายด้วยการเผาตัวเอง
- ผู้ชายที่ฆ่าตัวตาย
- ลัทธิเต๋า
- เทวดาจีน
- ประมวลเรื่องปรัมปราจีน
- ตัวละครในห้องสิน