ข้ามไปเนื้อหา

ต๋าจี่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ต๋าจี่
妲己 (จีน)
ภาพสลักต๋าจี่ที่วัด Ping Sien Si ในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย
เกิดประมาณ 1076 ปีก่อน ค.ศ.
ตายหลัง 1046 ปีก่อน ค.ศ.
สวามีพระเจ้าชางโจ้ว
พระนามเต็ม

ต๋าจี่ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ ถันกี ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เอกสารไทยโบราณเรียกเพี้ยนเป็น ขันกี (จีน: 妲己; พินอิน: Dájǐ; เวด-ไจลส์: Ta2-chi3; ยฺหวิดเพ็ง: Taan2 Gei2) เป็นชายาคนโปรดของโจ้วหวัง (紂王; ฮกเกี้ยนว่า "ติวอ๋อง") กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ชาง (商朝) แห่งจีนโบราณ

อย่างน้อยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง (唐朝) เกิดร่ำลือกันว่า ต๋าจี่เป็นปิศาจจิ้งจอก (狐狸精)[2] ข่าวลือยิ่งโด่งดังเมื่อได้รับการใส่ไว้ในนวนิยายหลายเรื่องในสมัยราชวงศ์หมิง (明朝) เช่น อู่หวังฝาโจ้วผิงฮฺว่า (武王伐紂平話; "เล่าเรื่องอู่หวังปราบโจ้ว"), เฟิงเฉินหยั่นอี้ (封神演義; "วีรคติเรื่องสถาปนาเทวดา"), และ ตงโจวเลี่ยกั๋วจื้อ (東周列國志; "บันทึกเรื่องรัฐต่าง ๆ สมัยโจวตะวันออก")[3] ทำให้นางเป็นที่จดจำในวัฒนธรรมจีนในฐานะตัวอย่างของหญิงงามล่มเมือง

นอกจากนี้ ช่วงราชวงศ์ซ่ง (宋朝) ยังเกิดลัทธิบูชาปิศาจจิ้งจอกซึ่งหลายกลุ่มนับถือตาจี๋ ทางการกำหนดให้เป็นลัทธินอกกฎหมาย และใน ค.ศ. 1111 จักรพรรดิซ่งฮุ่ยจง (宋徽宗) ยังรับสั่งให้ทำลายศาลปิศาจจิ้งจอกหลายแห่งในนครหลวงเปี้ยนจิง (汴京) รวมถึงศาลของต๋าจี่[4] แต่ไม่เคยปราบปรามสำเร็จ[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Guoyu
  2. Huntington, Rania (2003). Alien kind : foxes and late imperial Chinese narrative. Cambridge: Harvard University Press. p. 195. ISBN 9780674010949.
  3. Epstein, Maram (2001). Competing discourses: Orthodoxy, authenticity, and endangered meanings in late Imperial Chinese fiction. Cambridge: Harvard University Asia Center. p. 136. ISBN 9780674005129.
  4. Lin, Fu-shih. ""Old Customs and New Fashions": An Examination of Features of Shamanism in Song China". Modern Chinese Religion I. Leiden: Brill. pp. 262–263. ISBN 9789004271647.
  5. Kang, Xiaofei (2006). The cult of the fox: Power, gender, and popular religion in late imperial and modern China. New York: Columbia University Press. pp. 37–39. ISBN 9780231133388.