สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ)
สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (พิจิตร ิตวณฺโณ) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | ท่านเจ้าประคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2479 (88 ปี) |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 9 ประโยค M.A. (วรรณคดีสันสกฤต) |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดโสมนัสราชวรวิหาร แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2499 |
พรรษา | 68 |
ตำแหน่ง | ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 16-17-18 (ธรรมยุต) ที่ปรึกษามหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดโสมนัสราชวรวิหาร |
สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ นามเดิม พิจิตร ถาวรสุวรรณ ฉายา ฐิตวณฺโณ วิทยฐานะ ป.ธ.9, นธ.เอก. เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เจ้าอาวาสวัดโสมนัสราชวรวิหาร ที่ปรึกษามหาเถรสมาคม[1] ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 16-17-18 (ธรรมยุต)
ประวัติ
[แก้]ชาติภูมิ
[แก้]สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ นามเดิมว่า พิจิตร ถาวรสุวรรณ เป็นบุตรคนโต ในจำนวนบุตร 9 คน ของนายแก้ว และนางโผ้เลี่ยน ถาวรสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2479 ที่หมู่บ้านพังขาม อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เมื่ออายุได้ 5 - 7 ขวบ บิดามารดาได้ย้ายไปทำงานที่อื่น จึงได้อยู่ในความอุปการะของยายคือนางชุม แจ่มใส เมื่ออายุย่างเข้า 8 ขวบได้ย้ายตามบิดามารดา ไปอยู่ที่บ้านดอนคัน เพื่อเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา ที่ โรงเรียนลือสิทธิ์วิทยา วัดธรรมประดิษฐ์ จนจบการศึกษาและได้ช่วยบิดามารดาทำงานอยู่ที่บ้าน
อุปสมบท
[แก้]เมื่ออายุได้ 15 ปี จึงขออนุญาตบรรพชา แต่มารดาบิดาไม่อนุญาต จึงขอผลัดไว้อีก 3 ปี ในระหว่างที่รอ 3 ปี ก็ได้ช่วยบิดามารดาทำงานอย่างขยันขันแข็ง และเตรียมตัวในการบรรพชาอย่างจริงจัง เมื่อมีเวลาว่างก็ไปอยู่ที่วัดธรรมประดิษฐ์เพื่อเป็นการฝึกข้อวัตรปฏิบัติ จนปี พ.ศ. 2496 ขณะอายุได้ 17 ปี ก็ได้รับอนุญาตให้บรรพชาได้ โดยพระอุดมศีลคุณ (เริ่ม นนฺทิโย) วัดบุรณศิริมาตยาราม ผู้เป็นหลวงอา ในสมัยที่เป็นพระครูปลัดเถรธรรมวัฒน์ ได้นำไปฝากให้บวชที่วัดโสมนัสวิหาร โดยถวายตัวเป็นศิษย์ของพระวินัยวงศ์เวที (พวง ธมฺมธโร) ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 โดยสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺโม) ขณะยังเป็นพระอมรมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระวินัยวงศ์เวที (พวง ธมฺมธโร) เป็นพระศีลาจารย์ และได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค และนักธรรมชั้นเอกตั้งแต่เป็นสามเณร
เมื่ออายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท ณ วัดโสมนัสวิหาร เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2499 โดยมีสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺโม) ในสมัยที่ยังเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่พระอมรมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
การศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2499 - สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค และนักธรรมชั้นเอก
- พ.ศ. 2500 - สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค และทรงจำปาฏิโมกข์ได้
- พ.ศ. 2501 - สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค
- พ.ศ. 2503 - สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค
- พ.ศ. 2505 - สอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค
- พ.ศ. 2509 - สอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค และจบปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต (ศน.บ.) เกียรตินิยมอันดับ 2 จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2511 - ได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูง จากสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (พ.ธ.ต.)
- พ.ศ. 2512 - สอบชิงทุนการศึกษาของสภามหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อไปศึกษาระดับปริญญาโทในประเทศอินเดีย และได้ทุนศึกษาขั้นปริญญาโท สาขาวรรณคดีสันสกฤต แล้วได้เดินทางไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยพาราณสี (B.H.U.) เมืองพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เป็นเวลา 2 ปี และได้ศึกษาภาษาฮินดี จนสามารถพูดภาษาฮินดีได้
- พ.ศ. 2514 - สอบได้ปริญญาโท (M.A.) ทางวรรณคดีสันสกฤต และสอบได้อนุปริญญาทางภาษาฮินดี (Dip. in Hindi) จากมหาวิทยาลัยพาราณสี ประเทศอินเดีย
- พ.ศ. 2517 - สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค
สมณศักดิ์
[แก้]- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2519 - ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีวิสุทธิกวี[2]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2531 - ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวิสุทธิกวี ตรีปิฎกธรธรรมานุสิฏฐ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2536 - ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวิสุทธิกวี ศรีปริยัติดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2543 - ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวิสุทธิกวี ศรีพุทธศาสน์โกศล โสภณธรรมวรนายก ตรีปิฎกบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 - ได้รับพระบรมราชโองการสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏที่ พระสาสนโสภณ วิมลญาณอดุล สุนทรศาสนดิลก สาธกธรรมวิจิตร ตรีปิฎกบัณฑิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
- 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 - ได้รับพระบรมราชโองการสถาปนาสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ พิพัฒนพงศพิสุต พุทธสิริพจนพิจิตร ฐิตธรรมนิวิฐวิปัสสนานุศาสก สาสนดิลกโสภณจารี ตรีปิฎกบัณฑิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี[7]
ตำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์
[แก้]- พ.ศ. 2518 - 2539 เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสมนัสราชวรวิหาร
- พ.ศ. 2529 - 2540 เป็น รองเจ้าคณะภาค 16-17-18 (ธรรมยุต)
- พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน เป็น เจ้าอาวาสวัดโสมนัสราชวรวิหาร
- พ.ศ. 2540 - 2559 เป็น เจ้าคณะภาค 16-17-18 (ธรรมยุต)
- พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน เป็น ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 16-17-18 (ธรรมยุต)
- พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน เป็น ที่ปรึกษามหาเถรสมาคม
หน้าที่การงาน
[แก้]- เขียนหนังสือพระพุทธศาสนาออกมาแล้ว 63 เรื่อง และมอบให้มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยลัยพิมพ์ออกเผยแพร่แล้ว 20 เรื่อง
- เป็นอาจารย์สอนกัมมัฏฐานประจำวัดโสมนัสวิหาร และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เปิดสอนกรรมฐานให้แก่ภิกษุสามเณร และประชาชนทั่วไป ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีประสบการณ์การสอนกัมมัฏฐานเป็นเวลากว่า 20 ปี
- เป็นวิทยากรบรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนาตามสถาบันและสถานที่ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด
- มีประสบการณ์จากการเดินทางไปดูงานพระศาสนาในต่างประเทศมากกว่า 20 ประเทศ
- เป็นอาจารย์บรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนาใน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยทั้งระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ "แต่งตั้งที่ปรึกษามหาเถรสมาคม" (PDF). มหาเถรสมาคม. 30 ตุลาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 94, ตอนที่ 3, 6 มกราคม 2520, ฉบับพิเศษ หน้า 6.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 105, ตอนที่ 207, 9 ธันวาคม 2531, ฉบับพิเศษ หน้า 4.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 110, ตอนที่ 202, 6 ธันวาคม 2536, ฉบับพิเศษ หน้า 2.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 117, ตอนที่ 28 ข, 18 ธันวาคม 2543, หน้า 22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ เล่ม 127, ตอนที่ 7 ข, 9 กรกฎาคม 2553, หน้า 5-8
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (40 ข): 4. 28 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- บรรณานุกรม
- สนติ์ แสวงบุญ และ สมบูรณ์ บุญครอบ. ทำเนียบสมณศักดิ์. นครปฐม : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556. หน้า 122.
- พระธรรมคุณาภรณ์ (พิมพ์ ญาณวีโร). ทำเนียบพระราชาคณะ ฉบับสมบูรณ์ พุทธศักราช 2556. กาญจนบุรี : ธรรมเมธี - สหายพัฒนาการพิมพ์, 2556. หน้า 340. ISBN 978-616-348-356-0
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]
ก่อนหน้า | สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระสาสนโสภณ (อัมพร อมฺพโร) | พระสาสนโสภณ (5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562) |
พระสาสนโสภณ (โกศล สิรินฺธโร) |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2479
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- สมเด็จพระมหามุนีวงศ์
- พระสาสนโสภณ
- เจ้าอาวาสวัดโสมนัสราชวรวิหาร
- เจ้าคณะภาค 16-17-18 (ธรรมยุต)
- ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
- เปรียญธรรม 9 ประโยค
- ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลมหิดลวรานุสรณ์
- บุคคลจากอำเภอสทิงพระ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยพาราณสี
- ภิกษุจากจังหวัดสงขลา