พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นตรี
ประสูติ16 ธันวาคม พ.ศ. 2464
สิ้นพระชนม์2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 (76 ปี)
พระราชทานเพลิง31 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส
พระสวามีหม่อมเจ้าสุวินิต กิติยากร (2486–2523)
พระบุตรหม่อมราชวงศ์สุนิดา กิติยากร
หม่อมราชวงศ์เสาวนิต กิติยากร
ราชสกุลจุฑาธุช (โดยประสูติ)
กิติยากร (โดยเสกสมรส)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
พระมารดาหม่อมลออ จุฑาธุช ณ อยุธยา
ศาสนาพุทธ

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา (16 ธันวาคม พ.ศ. 2464 — 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย ประสูติแต่หม่อมลออ จุฑาธุช ณ อยุธยา

พระประวัติ[แก้]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา มีพระนามลำลองว่า พระองค์หญิงหญิง[1] เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย ประสูติแต่หม่อมลออ จุฑาธุช ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศิริสัมพันธ์) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2464 โดยหม่อมลออเป็นธิดาของพระนมอิน ศิริสัมพันธ์ ซึ่งเป็นพระนมของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย ตาของหม่อมลออคือ พระยาอาหารบริรักษ์ (ทิน ศิริสัมพันธ์) เป็นข้าราชการกรมนามาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[2] พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภามีพระอนุชาต่างพระมารดาพระองค์เดียวคือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช (ประสูติแต่หม่อมระวี) พระอิสริยยศเมื่อแรกประสูติทั้งสองพระองค์เป็นหม่อมเจ้า ต่อมาได้รับการเฉลิมพระยศเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470[3]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา เป็นเจ้านายรุ่นสุดท้ายที่ได้เข้าพิธีโสกันต์และเกศากันต์ พร้อมด้วยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา และหม่อมเจ้ากาญจนฉัตร ฉัตรชัย เมื่อวันที่ 28 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2475 ขณะมีพระชันษาได้ 10 ปี ก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 สามเดือน

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา เสกสมรสกับหม่อมเจ้าสุวินิต กิติยากร (4 มีนาคม พ.ศ. 2458 — 29 มีนาคม พ.ศ. 2523; พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ประสูติแต่หม่อมละเมียด) มีธิดา 2 คน ได้แก่

  1. หม่อมราชวงศ์สุนิดา กิติยากร (เกิด 10 มีนาคม พ.ศ. 2487)[4] อดีตบรรณาธิการข่าวสังคมของบางกอกโพสต์และบางกอกเวิลด์[5] สมรสและหย่ากับสีหชาติ บุณยรัตพันธุ์ มีธิดาคนเดียว คือ สุชาดา ภิรมย์ภักดี
  2. หม่อมราชวงศ์เสาวนิต กิติยากร[6] (22 มีนาคม พ.ศ. 2493 — 15 เมษายน พ.ศ. 2515) เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์[7]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา ทรงดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียนราชินี และองค์ประธานกรรมการมูลนิธิร่วมจิตน้อมเกล้าเพื่อเยาวชน จนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 สิริพระชันษา 76 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ ณ ศาลาบัณรสภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ในการนี้สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเสด็จด้วย โดยทรงรับพระศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วัน และพระราชทานพระเกียรติยศเป็นพิเศษ เลื่อนจากพระโกศราชวงศ์ เป็นพระโกศมณฑป ฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวด ประกอบพระเกียรติยศ และเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ไปพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2541

พระเกียรติยศ[แก้]

พระอิสริยยศ[แก้]

  • หม่อมเจ้าสุทธสิริโสภา (16 ธันวาคม พ.ศ. 2464 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470)
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 – 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ปริญญากิตติมศักดิ์[12][แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.จ.ไกรสิงห์ วุฒิชัย ณ เมรุวัดธาตุทอง วันพุธ ที่ 23 มิถุนายน 2519. [ม.ป.ท.]: มงคลการพิมพ์; 2519.
  2. "ซอกแซกย่านขุนนาง ที่ "คลองบางหลวง"". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 26 ตุลาคม 2547. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า เล่ม 44, 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470, หน้า 253-254
  4. ขรรค์ชัย บุนปาน. ประดับไว้ในโลกา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2544. 285 หน้า. ISBN 974-322-293-6
  5. "เดอะ เนชั่น "คือไทยมิใช่ทาส"". ผู้จัดการ. มีนาคม 2529. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-09. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  7. "ที่ระลึก ม.ร.ว. เสาวนิต กิติยากร". midsarnbook.tarad.com. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 (ตอน 22 ข): หน้า 1. 4 ธันวาคม 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ 2012-05-07.
  9. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2535" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 (ตอนที่ 154 ง): ฉบับพิเศษ หน้า 4. 4 ธันวาคม 2535. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2556. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2521" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 95 (ตอน 51 ง): ฉบับพิเศษ หน้า 10. 12 พฤษภาคม 2521. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 (เดวิด ร็อกกีเฟลเลอร์, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร, ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธาดา ชาคร)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 (1 ข): หน้า 31. 22 พฤศจิกายน 2538. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา ณ พระเมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม 2551. มูลนิธิร่วมจิตน้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดพิมพ์ถวาย.
  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ "วังหลวง". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549. 304 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-205-2