ข้ามไปเนื้อหา

พระยาเทพอรชุน (เจ๊ก จารุจินดา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาเทพอรชุน
เกิด29 กรกฎาคม พ.ศ. 2395
เสียชีวิต5 สิงหาคม พ.ศ. 2456 (61 ปี)
ชั้นยศ พลโท
พลเรือตรี

พลโท พลเรือตรี พระยาเทพอรชุน (เจ๊ก จารุจินดา) (29 กรกฎาคม 2395-5 สิงหาคม 2456) อดีตองคมนตรี อดีตปลัดทูลฉลอง กระทรวงกลาโหม อดีตปลัดทูลฉลอง กระทรวงทหารเรือ อดีตข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลปราจีนบุรี อดีตข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลราชบุรี

ประวัติ

[แก้]

พระยาเทพอรชุนเกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2395 มีนามเดิมว่า เจ๊ก เป็นบุตรชายของ พระยาเพชรพิไชย (ทองจีน) กับ คุณหญิงเย็น (สกุลเดิม เกตุทัต) มีพี่น้องร่วมมารดาทั้งสิ้น 10 คนและพี่น้องต่างมารดาอีก 1 คนโดยท่านมีน้องชายร่วมมารดาเดียวกันที่สำคัญท่านหนึ่งคือ เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย (พร จารุจินดา)

ในปี พ.ศ. 2405 ขณะอายุได้ 10 ปีบิดาได้จ้างครูมาสอนภาษาไทยที่บ้าน พร้อมกับเล่าเรียนการช่างทองในสำนักของบิดา ต่อมาในปี พ.ศ. 2409 ขณะอายุได้ 14 ปีได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กวิเศษ

จากนั้นในปี พ.ศ. 2412 อันตรงกับรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ไปฝึกทวนหัวง้าวหลังม้าที่สำนักของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงค์ฤทธิ์ เป็นคู่ทวนคู่ง้าวคู่กับ หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร (ซึ่งต่อมาคือ เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร)) พระโอรสของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงค์ฤทธิ์ ฝึกหัดอยู่ 10 เดือนจึงได้ออกแสดงภายในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระเมรุ ท้องสนามหลวง โดยได้แสดงทุกวันตลอดงาน

จากนั้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2413 จึงได้เข้ารับราชการเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์และเจริญก้าวหน้าในราชการตามลำดับ

โดยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2416 ท่านได้กราบถวายบังคมลาเพื่อเข้าพิธีอุปสมบทที่ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร โดยมี สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ) เจ้าอาวาสรูปแรกของ วัดโสมนัสวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร ที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดราชบพิธเป็นพระกรรมาวาจาจารย์ และ พระสาสนโสภณ (สา) (ต่อมาคือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว)) เจ้าอาวาสรูปแรกของ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เป็นพระอนุศาสนาจารย์ บวชได้ 1 พรรษาก็ลาสิกขาบทเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ปีเดียวกันแล้วกลับเข้ารับราชการตามเดิม

ด้านชีวิตครอบครัวพระยาเทพอรชุนมีภรรยาทั้งสิ้น 4 คนคือ

  • คุณหญิงสาย มีบุตรธิดา 3 คน
  • คุณอบเชย ไม่มีบุตรธิดา
  • คุณชื่น ไม่มีบุตรธิดา
  • หม่อมหลวงจวง มีธิดา 1 คน

พระยาเทพอรชุนถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรควัณโรคเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2456 สิริอายุได้ 61 ปี

ยศทหารและบรรดาศักดิ์

[แก้]
  • สิบเอก
  • จมื่นวิชิตไชยศักดาวุธ
  • พ.ศ. 2428 พระวรเดชศักดาวุธ ถือศักดินา ๑๕๐๐[1]
  • 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2431 พันเอก[2]
  • 7 กันยายน พ.ศ. 2435 พลจัตวา[3]
  • 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 พระยาวรเดชศักดาวุธ ถือศักดินา ๓๐๐๐[4]
  • 21 กันยายน พ.ศ. 2441 พลตรี[5]
  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2444 พลโท[6]
  • 30 มกราคม พ.ศ. 2444 พระยาเทพอรชุน วิบูลย์เสนานุกูลกิจ วิสิฐภักดี พิริยพาหะ[7]
  • 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 พลเรือตรี[8]
  • 10 กุมภาพันธ์ 2456 – นายพลกรมทหารรักษาวัง[9]

ตำแหน่ง

[แก้]
  • พ.ศ. 2431 ผู้บังคับการกองทหารม้า[10]
  • 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 ยกกระบัตรทัพบกใหญ่[11]
  • 20 มีนาคม พ.ศ. 2435 องคมนตรี[12]
  • 24 มกราคม พ.ศ. 2437 รัฐมนตรี[13]
  • 23 มิถุนายน พ.ศ. 2439 กรรมการตรวจตัดสินที่นาในจังหวัดหมู่คลองบริษัท[14]
  • 1 มิถุนายน พ.ศ. 2440 ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการ มณฑลปราจีนบุรี[15]
  • 2 มิถุนายน พ.ศ. 2440 กราบถวายบังคมลาไปรับราชการตามตำแหน่ง[16]
  • 11 เมษายน พ.ศ. 2441 ราชองครักษ์พิเศษ[17]
  • 22 สิงหาคม พ.ศ. 2442 ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี[18]
  • 1 กันยายน พ.ศ. 2442 เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท[19]
  • 30 มกราคม พ.ศ. 2444 ปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม[20]
  • 23 ธันวาคม พ.ศ. 2453 ปลัดทูลฉลองกระทรวงทหารเรือ[21]
  • 8 เมษายน พ.ศ. 2454 - ออกจากราชการ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สัญญาบัตรปีระกาสัปตศก
  2. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  3. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  4. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  5. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  6. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
  7. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  8. พระราชทานสัญญาบัตรทหารเรือ
  9. แจ้งความกระทรวงวัง
  10. ประกาศกรมยุทธนาธิการ
  11. ประกาศกรมยุทธนาธิการ (หน้า ๑๖๙)
  12. ตั้งองคมนตรี
  13. พระราชดำรัสในการเปิดประชุมรัฐมนตรีสภา
  14. แจ้งความเปิดศาลกรรมการตรวจตัดสินที่นาในจังหวัดหมู่คลองบริษัท
  15. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  16. ข้าราชการกราบถวายบังคมลา
  17. รายนามผู้ที่เป็นราชองครักษ์
  18. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  19. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  20. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  21. แจ้งความกระทรวงทหารเรือ
  22. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๒๔๐๒)
  23. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-07. สืบค้นเมื่อ 2020-07-14.
  24. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๔๐๕)
  25. ถวายบังคมพระบรมรูป และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๓๐๖)
  26. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๓๕๓)
  27. พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา
  28. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 4 (หน้า ๕๖๘)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-07-14.
  29. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า (หน้า ๑๐๑๓)
  30. พระราชทานเหรียญราชินี