พระมงคลรังษี (สุวัฒน์ จนฺทสุวณฺโณ)
![]() | บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
พระมงคลรังษี (สุวัฒน์ จนฺทสุวณฺโณ) | |
---|---|
![]() | |
ชื่ออื่น | หลวงปู่ธรรมรังษี |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 เมษายน พ.ศ. 2462 (87 ปี) |
มรณภาพ | 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | ป. 4, ครุศาสตร์บัณฑิต (กิตติมศักดิ์) โปรแกรมวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | พระพุทธบาทพนมดิน จังหวัดสุรินทร์ |
อุปสมบท | 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 |
พรรษา | 68 พรรษา |
ตำแหน่ง | อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทพนมดิน อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ |
พระมงคลรังษี นามเดิม สุวัฒน์ ฉิง ฉายา จนฺทสุวณฺโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทพนมดิน อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นพระเกจิมหาเถราจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณแห่งดินแดนอิสานใต้
ชาตภูมิ[แก้]
- พระมงคลรังษี นามเดิมชื่อ สุวัฒน์ ฉิง (ព្រះមង្គលរង្សី វិ.)
- เกิดเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒
- มาตุภูมิ ตำบลเกีย อำเภอโมงฤษี (อำเภอโมงรือแซ็ยในปัจจุบัน) จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา
บรรพชาและอุปสมบท[แก้]
- เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ๑ พรรษา แล้วลาสิกขาออกมาช่วยบิดา-มารดา ทำงานจนอายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์จึงได้อุปสมบท
- อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ณ พัทธสีมาวัดเวฬุวนาราม (វត្តវេឡុវនារាម) ตำบลเกีย (ឃុំកៀ) อำเภอโมงรือแซ็ย (ស្រុកមោងឬស្សី) จังหวัดพระตะบอง (ខេត្តបាត់ដំបង) ประเทศกัมพูชา โดยมีพระสุวัณณเถระ เป็นพระอุปัชฌาย์ ,พระสุวัณณปัญโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ,พระจันทัตตเถระ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับมีฉายาว่า “ จนฺทสุวณฺโณ ”
การศึกษา / วิทยฐานะ[แก้]
- เมื่อปฐมวัยได้ศึกษาจนจบการศึกษาภาคบังคับ (เทียบเท่าชั้น ป.๔ ของไทย)
งานปกครองคณะสงฆ์[แก้]
- ไดรับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภอโมงรือแซ็ย จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา
- พ.ศ. 2540 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทพนมดิน อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
การเข้าสู่ประเทศไทยเนื่องจากภัยสงครามกลางเมืองในประเทศกัมพูชา[แก้]
พระมงคลรังษี,วิ. (สุวัฒน์ จนฺทสุวณฺโณ) หรือหลวงปู่ธรรมรังษีเป็นพระที่มีใจใฝ่ปฏิบัติสมาธิภาวนา และกรรมฐาน ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานควบคู่กับการศึกษาพระเวทย์วิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์ หลายรูปในประเทศกัมพูชาตลอด ๓๕ พรรษา จนมีวิชาแก่กล้าแตกฉานและเชี่ยวชาญหลายแขนงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน และจังหวัดใกล้เคียงในประเทศกัมพูชาในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่หลวงปู่ธรรมรังษีท่านอายุ ๒๐ ปี ท่านเน้นศึกษาสายพระเวทย์ วิทยาคมจากครูบาอาจารย์หลากหลายสำนัก รวมทั้งศึกษากับพระสังฆราชชวน นาถ (พระสังฆราชองค์ก่อนในยุค ๒๔๙๐) ซึ่งพระสังฆราชชวน นาถ ท่านเป็นมหาปราชญ์แห่งประเทศกัมพูชา หลวงปู่ธรรมรังษีท่านเรียนพระเวทย์เขมรโบราณชั้นสูง ตลอดระยะเวลา ๓๕ ปี (ถึงอายุ ๕๕ ปี) ควบคู่กับการปฏิบัติกรรมฐาน ก่อนที่หลวงปู่ธรรมรังษีจะหันมามุ่งเน้นการปฏิบัติกรรมฐานอย่างจริงจังเพียงอย่างเดียวในครั้งเวลาต่อมาในขณะนั้นหลวงปู่ได้รับสมณศักดิ์ เป็น “ พระครูธรรมรังษี “ เป็นเจ้าคณะอำเภอโมงรือแซ็ย
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ ขณะที่สงครามกลางเมืองในประเทศกัมพูชาร้อนระอุถึงขั้นวิกฤตนั้นหลวงปู่ธรรมรังษีในฐานะทายาทผู้สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาตกอยู่ในฝ่ายตรงข้ามเขมรแดง เนื่องจากวัดวาอารามในจังหวัดใกล้เคียงจังหวัดพระตะบอง ถูกทำลายเสียหายและถูกยึดเป็นค่ายทหาร พระสงฆ์องค์ใดไม่อ่อนน้อมยอมลาสิกขาเข้าเป็นพวกจะถูกทรมานถึงชีวิต ที่หนีรอดก็กระจัดกระจายไม่ทราบชะตากรรม
คืนวันหนึ่ง ในขณะที่หลวงปู่ท่านนั่งเจริญสมาธิภาวนาในกลางดึกสงัด เกิดนิมิตทางหู ได้ยินเสียงประกาศกึกก้องมาแต่ไกล และใกล้เข้ามา ใกล้เข้ามา ท่านยังคงนั่งนิ่งดำรงสติมั่น และเกิดภาพนิมิตเบื้องหน้าปรากฏชัดเจน คือองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของชาวไทย เสด็จยืนอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ มีข้าราชบริพารนั่งคุกเข่าเฝ้าถวายความเคารพอยู่เนืองแน่น หลวงปู่ท่านเพ่งมองภาพนั้นอยู่นานจนกระทั่งเลือนหายไป ภาพดังกล่าวยังคงติดตาหลวงปู่ธรรมรังษีมาโดยตลอด วันรุ่งขึ้นหลวงปู่ท่านได้เล่ามงคลนิมิตให้บรรดาญาติโยมและพระลูกวัดฟัง และเอ่ยบอกว่าประเทศไทยนี้ปลอดภัยที่สุด เพราะอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารพระบารมีองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะพาญาติโยมและพระลูกวัดทั้งหลายอพยพหนีร้อนมาพึ่งเย็น ข่าวนี้แพร่กระจายไปทั่วจากนั้นหลวงปู่จึงพาคณะและพระ ๔ รูป เดินทางเช้าตรู่ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๘ คล้อยหลังเพียงหนึ่งวันอำเภอโมงรือแซ็ย ได้ถูกเขมรแดงยึดไว้ได้ใน วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๘
เกียรติคุณที่ได้รับ[แก้]
- วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏสุรินทร์ มีมติถวายปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต (กิตติมศักดิ์) โปรแกรมวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว ถวายแด่ พระครูมงคลธรรมวุฒิ (สุวัฒน์ จนฺทสุวณฺโณ) ในปีการศึกษา 2546
สมณศักดิ์[แก้]
- สมณศักดิ์กัมพูชา
- ได้รับสมณศักดิ์ เป็น "พระครูธรรมรังษี" (ព្រះគ្រួធម្មរង្សី) เป็นเจ้าคณะอำเภอโมงรือแซ็ย จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา
- วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2545 เข้าเฝ้าสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี สมเด็จพระสังฆราชแห่งประเทศกัมพูชา ได้รับพระกรุณาธิคุณประทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ "พระธรรมวิริยาจารย์" (ព្រះធម្មវិរិយាចារ្យ)
- สมณศักดิ์ไทย
- ได้รับแต่งตั้งจากพระเทพปัญญาเมธี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ให้ดำรงตำแหน่งฐานานุกรมที่ "พระครูสังฆรักษ์"
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เนื่องในวโรกาสอันเป็นวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “ พระครูมงคลธรรมวุฒิ”
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญยก วิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่ “ พระมงคลรังษี, วิ.”
ถึงแก่มรณภาพ[แก้]
วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เวลา 22.48 น. พระมงคลรังษี, วิ.(สุวัฒน์ จนฺทสุวณฺโณ) ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชรา ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพมหานคร ขณะเข้ามารักษาอาการอาพาธ สิริอายุ สิริอายุ 87 ปี 68 พรรษา http://www.web-pra.com/Article/Show/1148