ดัชนีคุณภาพอากาศ

หมอกควันในประเทศคาซัคสถาน ที่ส่งผลให้ค่าเอคิวไอสูง

ไฟป่าที่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ค่าเอคิวไอสูง
ดัชนีคุณภาพอากาศ (air quality index) หรือ AQI เป็นค่าที่หน่วยงานรัฐบาล[1] ใช้ในการสื่อสารกับประชาชนในส่วนของมลพิษทางอากาศ[2][3] ดัชนีของแต่ละประเทศจะมีค่ามาตรฐานที่แตกต่างกัน คุณภาพอากาศที่แย่ลงจะทำให้ดัชนีมีค่าสูงขึ้น
การใช้งาน[แก้]
การคำนวณค่าดัชนีคุณภาพอากาศได้รับค่ามาจากเครื่องวัดอากาศ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยค่าดัชนีจะมีการอ้างอิงตามผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสุขภาพ[4] ค่าที่เกิดขึ้นมักจะแสดงผลเป็นช่วงของค่า และมักแสดงผลตามรหัสสี
ดัชนีแบ่งตามประเทศ[แก้]
ยุโรป[แก้]
ทวีปยุโรปมีการใช้ ดัชนีคุณภาพอากาศทั่วไป (Common Air Quality Index) หรือ CAQI มาตั้งแต่ปีค.ศ. 2006 โดยจำแนกออกเป็นห้าระดับดังนี้:
ลักษณะเชิงคุณภาพ | ดัชนี | ความหนาแน่นมลภาวะรายชั่วโมง (ไมโครกรัม/ม3) | |||
---|---|---|---|---|---|
NO2 | PM10 | O3 | PM2.5 | ||
ต่ำมาก | 0–25 | 0–50 | 0–25 | 0–60 | 0–15 |
ต่ำ | 25–50 | 50–100 | 25–50 | 60–120 | 15–30 |
กลาง | 50–75 | 100–200 | 50–90 | 120–180 | 30–55 |
สูง | 75–100 | 200–400 | 90–180 | 180–240 | 55–110 |
สูงมาก | >100 | >400 | >180 | >240 | >110 |
ประเทศจีน[แก้]
การควบคุมคุณภาพอากาศภายในจีนแผ่นดินใหญ่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยจำแนกออกเป็นหกระดับดังนี้:
ค่า AQI | ระดับมลภาวะทางอากาศ | ประเภท | ผลต่อสุขภาพ | ข้อแนะนำ |
---|---|---|---|---|
0–50 | ระดับ 1 | ดีมาก | ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ | ทุกคนทำกิจกรรมนอกอาคารได้ตามปกติ |
51–100 | ระดับ 2 | ดี | มลภาวะบางประเภทอาจส่งผลเล็กน้อยกับคนจำนวนน้อยที่อ่อนไหวง่าย | เฉพาะคนจำนวนน้อยที่อ่อนไหวมากเท่านั้นที่ควรลดกิจกรรมนอกอาคาร |
101–150 | ระดับ 3 | มลภาวะเล็กน้อย | คนแข็งแรงอาจมีอาการระคายเคืองบ้างเล็กน้อย คนที่อ่อนไหวอาจได้รับผลกระทบเล็กน้อยหรือบางส่วน | เด็ก ผู้สูงวัย และบุคคลที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจและโรคหัวใจ ควรลดการออกกำลังกายหนักนอกอาคาร |
151–200 | ระดับ 4 | มลภาวะปานกลาง | คนอ่อนไหวอาจมีอาการแย่ขึ้น ระบบหายใจและหัวใจของคนแข็งแร็งอาจได้รับผลกระทบ | เด็ก ผู้สูงวัย และบุคคลที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจและโรคหัวใจ ควรงดการออกกำลังกายหนักนอกอาคาร ส่วนบุคคลทั่วไปควรลดกิจกรรมนอกอาคารลงพอประมาณ |
201–300 | ระดับ 5 | มลภาวะหนัก | คนแข็งแรงอาจแสดงอาการร่วม คนที่เป็นโรคระบบหายใจหรือโรคหัวใจจะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญ และต้องใช้ความอดกลั้นในการทำกิจกรรมต่างๆ | เด็ก ผู้สูงวัย และบุคคลที่เป็นโรคปอดและโรคหัวใจ ควรอยู่แต่ในอาคารและงดกิจกรรมนอกอาคาร ส่วนบุคคลทั่วไปควรลดกิจกรรมนอกอาคาร |
>300 | ระดับ 6 | เลวร้าย | คนแข็งแรงต้องใช้ความอดกลั้นในการทำกิจกรรมต่างๆและอาจแสดงอาการจนสังเกตได้ และอาจทำให้คนแข็งแรงเกิดความเจ็บป่วย | เด็ก ผู้สูงวัย และผู้ป่วควรอยู่แต่ในอาคารและงดการออกแรงมาก ส่วนบุคคลทั่วไปควรงดกิจกรรมนอกอาคาร |
รายการอ้างอิง[แก้]
- ↑ "International Air Quality". สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
- ↑ National Weather Service Corporate Image Web Team. "NOAA's National Weather Service/Environmental Protection Agency - United States Air Quality Forecast Guidance". สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-18. สืบค้นเมื่อ 2018-04-05.
- ↑ "Step 2 - Dose-Response Assessment". สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
![]() |
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |