ผู้ใช้:Thaipolice/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พลตำรวจโท ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา[แก้]

พลตำรวจโท ภัคพงษ์เภตรา
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2562
ก่อนหน้าพลตำรวจโท สุทธิพงศ์ วงปิ่น
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 (62 ปี)
จังหวัดสุราษฏร์ธานี ประเทศไทย
คู่สมรสพิมพ์กลม อุดมศิลป์
บุตร1
ศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 22
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 38
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ยศ พลตำรวจโท

พลตำรวจโท ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา (ชื่อเล่น: อูต, เกิด 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2504) เป็นนายตำรวจชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เคยตำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนคนที่  2 ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 9 และรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ก่อนที่จะขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาลคนที่ 50 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562[1]

ประวัติ[แก้]

ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี เกิดในครอบครัวพ่อแม่ทำธุรกิจสวนปาล์ม โรงโม่ และเหมืองแร่ เป็นลูกชายคนที่ 4 ของตระกูล ศึกษาชั้นประถมอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาก่อนที่จะเข้าสู่รั้วเตรียมทหารรุ่น 22 และก้าวเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่น 38[2]

หลักสูตรอื่นๆ[แก้]

จบหลักสูตรพิเศษ อาทิ หลักสูตรรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ กองบัญชาการศึกษา, หลักสูตร Tractical Operations Seminar จาก Virginia Public Safety Academy, Fairfax Virginia, หลักสูตรผู้กำกับการ รุ่นที่ 39, หลักสูตรการบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ 37, หลักสูตรนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย (นธป.) ของศาลรัฐธรรมนูญ รุ่นที่ 4 และ หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 59[1]

การรับราชการตำรวจ[แก้]

เริ่มต้นรับราชการที่บ้านเกิดในตำแหน่งรองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองสุราษฎร์ธานี ก่อนย้ายเป็นผู้ช่วยนายเวร พล.ต.อ.ชุมพล อรรถศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธร 3 คุมพื้นที่ภาคเหนือ ระหว่างดำรงตำแหน่งได้มีโอกาศเรียนรู้งานกิจการพิเศษในแผนกรกฏ จึงทำให้มีความเชี่ยวชาญและความรู้เรื่องยุทธวิธีการคุมชุมนุมประท้วงและแนวทางการปฏิบัติกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ ตั้งแต่ไฟไหม้ น้ำท่วม ไปจนถึงการจี้ตัวประกัน หรือเหตุวินาศกรรม

หลังจากที่ผู้เป็นนายเกษียณอายุ เขาย้ายลงเป็นรองผู้กำกับการ 5 กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 2 ขึ้นผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ 1 กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 6  เป็นผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ 1 กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 5 และผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ 1 กองบังคับการอำนวยตำรวจภูธรภาค 1 ล้วนรับผิดชอบงานด้านกำลังพลของหน่วยก่อนขึ้นรองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท

จากนั้นคืนถิ่นเกิดเป็นรองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมไขคดีสังหารโหดคนงานชาวพม่า 4 ศพ ในพื้นที่หมู่ 7 ตำบลปากหมาก อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี วันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2551 ใช้เวลาตามรอยอยู่ไม่นานสามารถจับกุมแก๊งคนร้ายเป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ทั้งหมด 6 คน พฤติกรรมโหดเหี้ยมจับคนงานพม่าทั้งชายและหญิงมัดมือไพล่หลังด้วยสายไฟลากขึ้นรถไปยิงทิ้งอย่างเลือดเย็น[3]

ต่อมาเขาก็ตำแหน่งรองผู้บังคับการหัวหน้าศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 8 คลายปมคดีสำคัญในพื้นที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะคดีมือปืนยิงนายปรีชา เพชรประเสริฐ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน บริเวณบนถนนพูลศิริ ในเขตเทศบาลเมืองนาสาร ตำบลนาสาร  อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี  เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2551 รวบตัวนายประสาท หรือสุรชัย หรือไข่  วิชัยดิษฐ์  คนลั่นไกนำไปสู่ตัวผู้บงการและทีมสังหารยกแก๊ง

ผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน[แก้]

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปี 2552 ได้รับคำสั่งจาก พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลในขณะนั้น ให้มาร่วมทำงานสังกัดทัพเมืองหลวงครั้งแรกในตำแหน่งผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนคนที่ 2 ของหน่วยต่อจาก พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง ท่ามกลางสถานการณ์ร้อนของผู้ชุมนุมทางการเมืองที่ระอุแตกกันเป็นสองฝ่าย แบ่งออกเป็นสองสี ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์จากรัฐบาลเข้าควบคุมสถานการณ์การชุมนุมที่ปิดถนนยาวนานต่อเนื่องหลายเดือน ก่อนจะมีประกาศพระราชบัญญัติความมั่นคง และพระราชบัญญัติฉุกเฉิน มีการตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หลังสถานการณ์บานปลายและรุนแรงขึ้น

ไฟล์:DFQROr7oWzulq5FZUICEpDwQ4p5pgVaOz26Lun7RXezvfHZfkRRw0matKZlDB6FSBqb.webp
ผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัย

ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 9[แก้]

หลังจากสถานการณ์สงบลง พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ย้ายมาเป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาลและได้มีคำสั่งให้ พล.ต.ต.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา (ยศขณะนั้น) ไปนั่งเป็นผู้บังคับการตำรวจนครบาล 9 ซึ่งเป็นจังหวะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่พอดี เขาได้คุมพื้นที่ของดินแดนชายขอบฝั่งธนบุรีและต้องใช้แผนกรกฎมาใช้ในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังมานาน 2 เดือน ก่อนที่จะถูกเปลี่ยนแปลงเก้าอี้อีกครั้งเมื่ออำนาจรัฐบาลสลับขั้ว เขาถูกย้ายเป็นผู้บังคับการประจำกองบัญชาการตำรวจนครบาล แล้วโยกพ้นหน่วยเป็นผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 1[4]

รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[แก้]

หลังจากที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลในช่วงปี 1 ต.ค. 57 – 29 ต.ค. 58 และรองผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดีในปี 30 ต .ค. 58- 30 ก.ย. 59 เขาก็ได้ถูกย้ายกลับมาขึ้นเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในยุคของพล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุลเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2559[5] ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์งานคดีความมั่นคงเพิ่มมากขึ้น อยู่ในคณะทำงานสืบสวนสอบสอบสวนคดีระเบิดศาลพระพรหม แยกราชประสงค์ และอีกหลายเรื่องในภารกิจพิเศษ เช่น ได้รับมอบหมายให้เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก ( โดรน ) กองบัญชาการตำรวจนครบาล

"ผมมีวันนี้ได้ ก็เพราะผู้ใต้บังคับบัญชา ถึงผมรับผิดชอบด้านความมั่นคง ถ้าผมไปสั่งเขาแล้วเขาไม่ทำ ผมจะสำเร็จไหม สิ่งที่ผมได้มาก็จากผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งนั้น ผมถึงต้องรักพวกเขา"[3]
—พล.ต.ท. ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา

ทั้งนี้ ความภาคภูมิใจที่สุดคือการที่ได้รับมอบหมายในภารกิจสำคัญสุดเหนือชีวิต คือการที่ได้เป็นรองผู้อำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อย พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นคณะทำงานด้านการถวายความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกด้านการจราจร บุคคลสำคัญจากต่างประเทศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และได้รับมอบหมายให้เป็นคณะทำงานหัวหน้าจุดคัดกรองในงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานอุ่นไอรักคลายความหนาว งานสวดมนต์ในพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล และเป็นรองผู้บัญชาการโซนช่วยเหลือกำกับการดูแลการปฏิบัติในพื้นที่รับผิดชอบในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย เฉลิมพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรีอย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี[3]

ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[แก้]

ไฟล์:Phukphong Running with Queen of Thailand.jpg
ผบช.น. วิ่งตามขบวนเสด็จฯ ทำหน้าที่อารักขาเข้มแข็ง

เขาได้รับแต่งตั้งให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 แทน พล.ต.ท สุทธิพงศ์ วงปิ่น และได้เป็น ผบช.น. คนที่ 50[6]

การรับราชการ[แก้]

  • 1 ต.ค. 52 - ผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน
  • 23 ก.พ. 55 - ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 9
  • 1 ต.ค. 57 - ผู้บังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 1
  • 1 ต.ค. 57 - รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
  • 30 ต.ค. 58 - รองผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี
  • 1 ต.ค 62 - ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ส่องเกียรติประวัติ "ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา" น.1 ชาวใต้ตรงๆ ไม่อ้อมค้อม-ใจนักเลง". mgronline.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "บุคคลสำคัญ". thonburi-home.com.
  3. 3.0 3.1 3.2 กองบรรณาธิการ (2020-11-10). ""ผมมีวันนี้ได้ ก็เพราะผู้ใต้บังคับบัญชา"". COP'S Magazine.
  4. "ฝุ่นตลบ!ปรับโผตร. 'อภิชาติ' เสียบ 'ผบช.น.' โยก 'ภัคพงศ์' ไปภาค 6". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
  5. "วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ". www.dsdw2016.dsdw.go.th.
  6. "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ". www.royalthaipolice.go.th.
  7. ราชกิจจานุเบกษา,[1]