ผู้ใช้:Politician Students for PEACE./ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ต่วนอิสกันดาร์ ดาโต๊ะมูลียอ เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2530 ที่จังหวัดยะลา เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและนักการเมือง รองโฆษกพรรคประชาชาติ นักวิชาการประจำตัวประธานสภาผู้แทนราษฏร (นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา) อดีตผู้ช่วยผู้ปฏิบัติงานประจำตัวสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดยะลา (นายต่วนอับดุลเล๊าะ ดาโอ๊ะมารียอ) อดีตผู้ช่วยผู้ปฏิบัติงานประจำตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดยะลา (นายซูการ์โน มะทา) อดีตเลขาธิการประจำคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา

ประวัติ[แก้]

ต่วนอิสกันดาร์ ดาโต๊ะมูลียอ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2530 ที่อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ในวัยเด็กเข้าเรียนระดับชั้นอนุบาลที่โรงเรียนสาธิต วิทยาลัยครูยะลา ต่อมาในช่วงวัยประถมศึกษาต่อที่โรงเรียนนิบงชนูปถัมภ์ จังหวัดยะลา โรงเรียนบุญยลาภนฤมิตร อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส และโรงเรียนอนุบาลยะลา ศึกษาต่อในวัยมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัตตัรกียะห์อิสลามียะห์นราธิวาส ก่อนจะได้รับทุนการศึกษาระดับมัธยมปลายจากรัฐบาลคูเวตใน ปี พ.ศ. 2545 จบปริญญาตรีในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จบปริญญาโท สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาเอก ปรัชญาการเมือง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงานด้านการเมือง[แก้]

ต่วนอิสกันดาร์ ดาโต๊ะมูลียอ ได้เข้าร่วมทำงานเป็นผู้ช่วยปฏิบัติงานประจำสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดยะลา (นายต่วนอับดุลเล๊าะ ดาโอ๊ะมารียอ) เมื่อ พ.ศ. 2550 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2552

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับวันมูหะมัดนอร์ มะทาในก่อตั้งพรรคประชาชาติเมื่อวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561 และนายสุรพล นาควานิชเป็นผู้ยื่นจดแจ้งจัดตั้งพรรค พร้อมสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาชาติในวันแรกของการจัดตั้งพรรค ได้รับการเลือกให้เป็นประธานกลุ่มคนรุ่นใหม่ประชาชาติคนแรก และได้รับเลือกให้เป็นรองเหรัญญิกพรรคอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

ต่วนอิสกันดาร์ ดาโต๊ะมูลียอลงรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบบัญชีรายชื่อในนามพรรคประชาชาติในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562

ผลการเลือกตั้งทั่วไป 24 มีนาคม พ.ศ.2562 พรรคประชาชาติได้รับเลือกตั้งในระบบแบ่งเขต 6 ที่นั่ง และบัญชีรายชื่อ 1 ที่นั่ง ซึ่งนายต่วนอิสกันดาร์ ดาโต๊ะมูลียอ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยปฏิบัติงานประจำตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดยะลา (นายซูการ์โน มะทา)

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ.2566 ต่วนอิสกันดาร์ ดาโต๊ะมูลียอลงรับสมัครเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาชาติ ออกรณรงค์หาเสียงร่วมกับทีมงานและผู้สมัครพรรค จนสามารถทำให้พรรคประชาชาติ ได้รับคะแนนเสียงทั้งหมดกว่า 311,057 เสียง ได้รับเลือกตั้ง 9 ที่นั่ง จากระบบแบ่งเขต 7 ที่นั่ง และระบบบัญชีรายชื่อ 2 ที่นั่ง โดยการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคก้าวไกลร่วมกับพรรคเพื่อไทยจัดทำข้อตกลงจัดตั้งรัฐบาล แต่ตกลงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฏรไม่ได้ ทั้งสองพรรคจึงเสนอชื่อคนกลางคือนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา สมาชิกสภาผู้แทราษฏรแบบบัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาชาติ ซึ่งมีประสบการณ์ในการเป็นประธานรัฐสภาเมื่อ พ.ศ.2539 และเป็นผู้มากประสบการณ์ทางการเมืองในขณะนั้น ให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฏรอีกครั้ง ทำให้นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เนื่องจากกฏหมายห้ามมิให้ประธานสภาผู้แทนราษฏรเป็นผู้บริหารพรรคการเมือง

ภายหลังจากการที่นายวันมูหะมัดนอร์ มะทาได้รับเลือกจากที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฏรเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ต่วนอิสกันดาร์ ดาโต๊ะมูลียอ ดำรงตำแหน่งนักวิชาการประจำตัวประธานสภาผู้แทนราษฏร เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2566

การเลือกหัวหน้าพรรคแทนที่วันมูหะมัดนอร์ มะทาที่ลาออกไปและผู้บริหารพรรคประชาชาติชุดใหม่ ได้เลือกให้พันตำรวจเอกทวี สอดส่องเป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งนายต่วนอิสกันดาร์ ดาโต๊ะมูลียอได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ของพรรคประชาชาติให้เป็นรองโฆษกพรรคประชาชาติเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2566

การทำงานด้านภาษาอาหรับ[แก้]

ต่วนอิสกันดาร์ ดาโต๊ะมูลียอ ได้ทำงานเป็นล่ามภาษาอาหรับที่ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ใน ปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2553 ก่อนลาออกไปศึกษาต่อวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้รับทาบทามให้ทำงานในตำแหน่งผู้ประสานงานการต่างประเทศ ดูแลกลุ่มประเทศอาหรับที่ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ ในปี พ.ศ. 2555 ก่อนลาออกเพื่อไปแข่งขันชิงตำแหน่ง The Best Job in Thailand ของโรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล เมื่อ พ.ศ.2560 โดยได้รับการโหวตทางออนไลน์เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย

นอกจากนี้ยังเคยทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลทีมชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในการแข่งขันฟุตบอลคิงส์ คัพ พ.ศ. 2559 และหัวหน้าผู้ประสานงานด้านภาษาอาหรับประจำคณะเจ้าชายมูฮัมหมัด บิน ซัลมาน แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC เมื่อวันที่ 14 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ที่กรุงเทพมหานครอีกด้วย

การทำงานด้านเศรษฐกิจ[แก้]

ต่วนอิสกันดาร์ ดาโต๊ะมูลียอ ได้ช่วยเหลือกลุ่มนักธุรกิจไทยในตลาดกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับ (GCC) ที่ตนเองถนัด และได้เป็นกรรมการสมาคมการค้านักธุรกิจไทยมุสลิม (TMTA) เพื่อช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่บรรดานักธุรกิจไทยและบริษัท ห้างร้าน ในข้อมูลตลาดมุสลิมอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 ถึงปัจจุบัน