บีตรูต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บีตรูต
บีตรูต (Beta vulgaris L.)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Core eudicots
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Amaranthaceae
วงศ์ย่อย: Betoideae
สกุล: Beta
สปีชีส์: B.  Vulgaris
ชื่อทวินาม
Beta vulgaris
(L.)

บีตรูต หรือชื่ออื่นเช่น ผักกาดฝรั่ง ผักกาดแดง เป็นหัวพืชหรือรากที่สะสมอาหารที่อยู่ใต้ดิน เป็นพืชเมืองหนาวและเป็นผักเพื่อสุขภาพ มีวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด[1]

ลักษณะทั่วไป[แก้]

หัวบีตรูต
ใบบีตรูต
สีแดงของเนื้อบีทรูท
  • ราก หรือเรียกว่า หัวใต้ดิน เป็นทรงกลมป้อม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 ซม. ใช้รากสะสมอาหาร และมีเนื้อด้านในอวบน้ำ สีแดงเลือดหมู สีม่วงแดง สีเหลือง
  • ใบ ใบเดี่ยวเรียงตัวสลับกัน รูป Cordate (cordata) (หัวใจรี) มีก้านยาว
  • ดอก ดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อสีเขียวอ่อน ขนาดเล็ก
  • ผล ผลขนาดเล็ก

ถิ่นกำเนิด[แก้]

ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน และแถบยุโรป ในประเทศไทย สามารถปลูกได้ทางภาคเหนือ [2]

การเพาะปลูก[แก้]

บีตรูตต้นอ่อนในไร่

สามารถปลูกได้ตลอดปีในพื้นที่สูงกว่า 1,000 เมตร ควรเป็นดินร่วนปนทราย มีความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 5.5-7.0 มีการระบายน้ำกับอากาศที่ดี โดยอุณหภูมิของดินต่อการงอกเมล็ดประมาณ 20 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตประมาณ 15-22 องศาเซลเซียส สามารถเก็บผลผลิตทั้งปีและมีมากในช่วงเดือนธันวาคม ถึง เดือนมีนาคม

คุณค่าทางโภชนาการ[แก้]

ในรากของบีตรูต มีวิตามินเอ วิตามินบีรวม ซึ่งอุดมไปด้วยโฟเลตเป็นสารประกอบจากกรดโฟลิก เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งทำงานร่วมกับวิตามินบี 12 มีโพแทสเซียม และวิตามินซีสูง ในยอดใบที่มีสีเขียวเข้ม มีสารบีตา-แคโรทีน ซึ่งมีแคลเซียม เหล็ก และโพแทสเซียมกับวิตามินเอสูง ในบีตรูตสุก 100 กรัม ให้พลังงาน 27 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย โซเดียม 241 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 5.5 กรัม เส้นใย 2.9 กรัม น้ำตาล 0.6 กรัม โปรตีน 2.6 กรัม และโพแทสเซียม 909 มิลลิกรัม [3]

ในหัวบีตรูต มีสารสีแดง เรียกว่า บีทานิน (betanin) เป็นพวกกรดอะมิโน ช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็ง ลดการเติบโตของเนื้องอก ทำให้เลือดลมและการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และสารสีม่วง เรียกว่า แอนโทไซยานิน (anthocyanin) ในสภาพเป็นกลาง มีสีม่วง pH 7-8 สภาพเป็นเบส มีสีแดง pH > 11 และสภาพเป็นกรด มีสีน้ำเงิน pH < 3 ซึ่งแอนโทไซยานิน เป็นรงควัตถุที่ให้สีแดง ม่วง และน้ำเงิน มีสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลบล้างสารที่ก่อมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและลดอาการอัมพาต [4]

งานวิจัย[แก้]

รายงานจากบีบีซีอ้างผลการศึกษาทีมนักวิจัย จากมหาวิทยาลัยเอกซิเทอร์ (Exeter U, UK) พบว่า การดื่มน้ำบีตรูตสร้างเสริมพละกำลังและอึดขึ้นจนอาจออกกำลังได้นานขึ้นถึง 16% การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า น้ำบีตรูต มีส่วนช่วยลดความดันเลือด ส่วนการกินผัก ผลไม้ นมไขมันต่ำ ถั่ว งา ก็ช่วยลดได้เช่นกัน ดังปรากฏในอาหารแบบแดช (DASH) หรืออาหารต้านความดันเลือดสูง การศึกษานี้มีจุดอ่อนที่ทำในกลุ่มตัวอย่างน้อยมาก คือ 8 คน อายุ 19-38 ราย ให้ดื่มน้ำบีตรูตวันละ 500 มล. = 0.5 ลิตร 6 วันติดต่อกันก่อนทดสอบด้วยจักรยานออกกำลังกาย หลังจากนั้นทดสอบซ้ำด้วยการให้ดื่มน้ำแบลคเคอเรนท์ แทน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทำเวลาได้เร็วขึ้นประมาณ 2%, ความดันเลือดลดลง, ออกกำลังได้นานขึ้นจนถึง 16% กลไกที่อาจเป็นไปได้คือไนไตรต์ (nitrite) ในผักอาจเป็นสารตั้งต้นของไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) ซึ่งมีฤทธิ์ขยายเส้นเลือดอย่างอ่อนๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น การที่บีตรูตมีสารไนไตรต์ค่อนข้างสูง อาจเป็นผลจากการเป็นพืชตระกูลหัวใต้ดิน ทำให้ดูดซับสารอาหารบางอย่างได้มาก พบว่าการดื่มน้ำบีตรูตเป็นประจำทุกวันจะเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับร่างกาย และลดอาการเหนื่อยเพลียจากการออกกำลังกายลง และมีผลช่วยให้นักกีฬาประเภทที่ต้องใช้ความอดทนและเวลานานในการเล่น เช่น วิ่งระยะไกล หรือปั่นจักรยาน มีความอึด อดทน และความแข็งแกร่งมากขึ้น ศ.แอนดี้ โจนส์ กล่าว [5]

สรรพคุณทางยา[แก้]

การคั้นน้ำบีตรูต ดื่มในช่วง 06.00-08.00 น. ก่อนรับประทานอาหารช่วยให้การไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายดี เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ และช่วยให้เจริญอาหาร ดื่มก่อนนอนในช่วง 21.00-22.00 น.ช่วยบำรุงไต ถุงน้ำดี ล้างสารพิษ แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ แก้ไอ ลดอาการบวมได้ดี [6]

ประโยชน์อื่นๆ[แก้]

น้ำบีตรูต

สามารถใช้เป็นสีธรรมชาติผสมอาหาร นำมาดองเป็นน้ำส้มสายชู งานแกะสลักตบแต่งอาหาร การปรุงอาหาร เช่น สาคูไส้บีตรูต สลัดน้ำบีตรูต พาสตา ทำขนมบีตรูต พุดดิงนมสดบีตรูต เยลลี่บีตรูต ทำเครื่องดื่มแบบสมูทที หรือปั่นรวมกับผลไม้ชนิดอื่น เช่น องุ่น แคร์รอต เสาวรส เมลอน แตงโม แอปเปิล อื่น ๆ[7]

การเลือกและเก็บรักษาบีตรูต[แก้]

ควรเลือกหัวบีตรูตขนาดเล็ก เพราะมีเนื้อละเอียดและให้รสหวานกว่าหัวบีตรูตขนาดใหญ่ แต่ถ้ามีใบติดอยู่ ให้เลือกหัวบีตรูตที่ใบยังสด แล้วตัดใบให้เหลือก้าน 2-3 ซม. จากนั้นก็นำไปล้างให้สะอาด เก็บในถุงตาข่ายวางไว้ในที่ร่ม หรือในช่องแช่ผักมีการเก็บไว้ได้นานกว่า 14 วัน [8]

บีทชูการ์[แก้]

Beta vulgaris L. นั้นมี 3 พันธุ์ได้แก่ red table beet นำมาทำอาหาร, fodder beet ไว้ทำอาหารสัตว์ และ sugar beet ซึ่งนำมาทำน้ำตาล

น้ำตาลที่ได้จากธรรมชาตินั้นมีลักษณะและรสชาติเฉพาะตัวทำให้ถูกนำไปใช้ได้หลากหลายในอาหารหารต่างๆ โดยน้ำตาลนั้นเป็น Carbohydrate ที่จำเป็นต่อสุขภาพร่างกายและการดำรงชีวิต แหล่งน้ำตาลที่นิยมใช้มักมาจากพืช 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่ บีทรูท และอ้อย โดยใน 123 ประเทศบนโลกมีการสร้างน้ำตาล 80% จาก sugar cane และอีก 20% จาก Sugar beet โดย sugar beet มักนิยมปลูกในประเทศที่พัฒนาแล้วเนื่องจากพบปริมาณน้ำตาล 16% ซึ่งมากกว่าอ้อย sugar beet นั้นชอบสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น ,มีความชื่น, แห้ง และมีแดด อีกทั้งนิยมปลูกที่ที่มีสภาพดินที่ดีและใส่ปุ๋ยเนื่องจากช่วงแรกๆ sugar beet จะมีความเปราะบาง

แหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์ของบีทชูการ์[แก้]

Sugar beet นั้นมีต้อนกำเนิดมาจาก Azores, west Europe to Mediterraean และอินเดีย โดยอินเดียเป็นประเทศแรกที่ค้นพบการสกัดน้ำตาลจากอ้อย ทำให้เมื่อสมัยก่อนน้ำตาลมักจะถูกทำมาจากอ้อยหรือที่เรียกว่า Sugar Cane ซึ่งเหมาะสมในพื้นที่เขตร้อนและนิยมปลูกเพื่อเป็นแหล่งความหวานมาเกือบ 3000 ปีจนกระถึงศตวรรษที่ 19 เริ่มใช้แหล่งความหวานจากบีตรูต หรือที่เรียกว่า Sugar Beet ซึ่งพบเริ่มต้นจากอินเดีย เมื่อคริสต์ศักราช 1880 ใน Europe ได้มีการใช้ sugar beet แทน sugar cane โดยพบว่า แหล่งน้ำตาลที่มาจาก Sugar Beet พบในประเทศที่พัฒนาแล้ว 20% เนื่องจาก Sugar beet ชอบในภูมิอากาศที่อบอุ่น (Temperate climates) ได้แก่ Europe, United States, China และ Japan เป็นต้น แต่ Sugar cane พบในประเทศที่กำลังพัฒนา 80% เนื่องจากภูมิอากาศร้อนในเขตร้อน (Topical) ได้แก่ Brazil, Cuba, Mexico, India และ Australia

ส่วนของบีทชูการ์ที่ใช้และสมบัติทางเคมี[แก้]

Beet หรือ Beta vulgaris L. นั้นมี 3 พันธุ์ได้แก่ red table beet นำมาทำอาหาร, fodder beet ไว้ทำอาหารสัตว์ และ sugar beet ซึ่งนำมาทำน้ำตาล Sugar beet จะใช้ส่วนของรากในการนำมาสกัดน้ำตาล โดยรากมีลักษณะเป็นทรงกระบอกและสีขาวซึ่งมีการสะสมน้ำตาลที่ผลิตมาจากกระบวนการสังเคราะห์แสงที่ใบ เนื่องจาก sugar beet เป็นพืชอายุสั้นหากไม่เก็บเกี่ยวน้ำตาลที่สะสมในรากจะถูกนำไปใช้ในการศืบพันธุ์เพื่อสร้างเมล็ดต่อไป แต่ในปกติดเก็บเกี่ยวในช่วงที่รากนั้นกักเก็บน้ำตาลอยู่ โดยในรากพบปริมาณน้ำตาลประมาณ 15%-21% จากน้ำหนักรวมของ sugar beet

น้ำตาล Sucrose สามารถพบปริมาณที่แตกต่างกันได้ใน sugar beet ซึ่งเกิดจากได้หลายสาเหตุเช่น วันที่เก็บเกี่ยว, ระยะเวลาในการขนส่งจากฟาร์มมาถึงโรงงาน, ความแตกต่างหรือความหลากหลายที่เกิดในสายพันธุ์, ระยะความห่างในการปลูก, จำนวนเมล็ดต่อหนึ่งแถว และสภาวะการสมสมน้ำตาล เป็นต้น

Sugar beet มีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 16% โดยมีอัตราการสกัดน้ำตาลจากหัวบีทได้ตั้งแต่ 40%-80% แต่ในอ้อยพบว่ามีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 12% โดยมีอัตรการสกัดน้ำตาลจากอ้อยได้ตั้งแต่ 30%-100%

ประวัติของบีทชูการ์และผลิตภัณฑ์[แก้]

หลังจากการสกัดน้ำตาลจาก Sugar Beet จะได้ส่วนประกอบสำหลับนำไปทำผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายโดย มี 3 อย่างหลักๆ ได้แก่ น้ำตาล (160 kg/ton) กากน้ำตาล(38 Kg/ton) และเยื่อกระดาษ (500Kg/ton) น้ำตาลซึ่งเป็น Sucrose จะถูกนำมาทำเป็นน้ำตาลทรายขาว, น้ำตาลทรายแดง, น้ำตาลก้อนและ น้ำตาลไอซิ่ง เป็นต้น กากน้ำตาล (Molasses) ซึ่งได้มาจากการตกผลึกของน้ำตาลส่วนน้ำเชื่อมข้นๆ ที่หลงเหลืออยู่จากการตกผลึกซึ่งถูกนำไปใช้ทำอาหารสัตว์ อีกทั้งนำไปใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรมแอลกอฮอล์ สารอินทรีย์ และเหล้ารัมเป็นต้น เยื่อกระดาษ (Plup) เป็นเยื่อที่ได้หลังจากผ่านกระบวนการผลิตน้ำตาลโดยนำมาตากแห้งเพื่อทำเป็นอาหารสัตว์

ประเทศที่ให้ผลผลิตบีทชูการ์อันดับต้นๆ[แก้]

ในปี 2022 พบว่ามีผู้ผลิตรายใหญ่ของ Sugar Beet ได้แก่ Russian, France, United states, Germany และ Turkey ตามลำดับ โดยที่รัสเซียถือเป็นผู้ผลิต Sugar beet รายใหญ่ของโลกซึ่งสามารถผลิต Sugar Beet ได้ถึง 48907752 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่นำมาผลิตน้ำตาล

วิธีการเก็บเกี่ยวบีทชูการ์[แก้]

ในประเทศที่มีการพัฒนาแล้วจะใช้เครื่องจักรสำหรับเก็บเกี่ยว Sugar Beet โดยเครื่องจักรจะตัดใบออกแล้วแยก bulbous root ขึ้นมาจากดิน หลังจากนั้นจะถ่ายโอน Sugar beet ไปยังรถบรรทุกซึ่งมีการกำจัดดินส่วนเกินออกด้วย โดยการข่นส่ง Sugar beet ไปยังโรงงานแปรรูปต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากหลังจากมีการดึง Sugar beet ออกจากดินจะส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลใน Sugar beet ลดลงอย่างรวดเร็ว ทำใหเโรงงานแปรรูป Sugar beet หลายๆที่จะอยู่บริเวณใกล้กันกับพื้นที่เพาะปลูกเพื่อให้ Sugar beet ยังคงปริมาณน้ำตาลไว้ได้มากที่สุด

วิธีแปรรูปบีทชูการ์[แก้]

การสร้างน้ำตาลทรายขาวจาก Sugar beet มี 10 ขั้นตอน

  • Delivery

เป็นการขนส่ง Sugar beet จากบริเวณเก็บเกี่ยวส่งมาถึงโรงงานผ่านรถบรรทุกซึ่งต้องใช้เวลาในการขนส่งโดยเร็วที่สุดเนื่องจากปริมาณของน้ำตาลจะลดลงหลังจากนำรากสะสมอาหารออกจากดินอย่างรวดเร็ว

  • Washing

เป็นการล้างดินออกจาก Sugar beet

  • Slicing

ตัด Sugar beet ด้วยเครื่องบางเป็นแท่งๆ เส้นๆ เล็กๆ เรียกว่า Strips

  • Extraction

น้ำตาลจะถูกสกัดผ่านการแพร่ (Diffusion) โดยน้ำร้อนโดยจะเคลื่อนที่ผ่าน Strips ทำให้น้ำตาลที่อยู่ใน Strips จะเคลื่อนที่ออกไปตามน้ำได้ Raw juice ออกมา

  • Purification

Raw juice ประกอบไปด้วนน้ำตาลและสิ่งเจอปน (แร่ธาตุ) ซึ่งจะแยกน้ำตาลออกให้กลายเป็น Thin Juice โดยใช้ Calcium Hydroxide หรือเรียกว่า lime milk โดยขณะเดียวกันเศษ Strips จะถูกแยกออกมาเป็น Plup สำหรับนำไปทำอาหารสัตว์

  • Evaporation

Thin juice ที่ผ่านกรองแล้วนั้นจะประกอบด้วยน้ำตาล 13% และน้ำ 87% ซึ่งจะให้ความร้อนถึง Boiling point การเป็นน้ำตาลเชื่อม (Syrup)

  • Crystallization

มีการเติมผลึกน้ำตาลเพื่อให้มีเริ่มการสร้างผลึกน้ำตาล

  • Centrifugal Treatment

ทำการปั่นเหวี่ยงเพื่อให้น้ำตาลแยกออกจากน้ำเชื่อม โดยน้ำตาลจะเกาะอยู่ด้านข้างของเครื่องปั่นเหวี่ยงซึ่งจะถูกล้างด้วยน้ำร้อนที่สะอาดเพื่อสร้างผลึกน้ำตาล โดยน้ำเชื่อมที่ไม่การเป็นผลึกจะเรียกว่ากากน้ำตาล (Molasses)

  • Drying

ผลึกน้ำตาลยังคงมีความร้อนชื้นจึกถูกเป่าด้วยลมร้อนแล้วให้ความเย็นทำให้พร้อมต่อการบริโภค

  • Packing

คัดกรอง คัดแยก และแพ็คผลิตภัณฑ์สำหรับส่งออกขายไปสู่ผู้บริโภคโดยอาจจะทำเป็นน้ำตาลทรายขาว, น้ำตาลก้อนและ น้ำตาลไอซิ่ง เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. [1].โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
  2. [2][ลิงก์เสีย].บริษัท เกียรติเฟื่องกิจ เกษตรล้านนาจำกัด
  3. [3].ข่าวสดออนไลน์
  4. [4] น้ำสมุนไพร
  5. [5].บีตรูตช่วยอึด
  6. [6] เก็บถาวร 2012-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.บีตรูต..น้ำผักรักษามะเร็ง
  7. [7].บ้านสวนพอเพียง
  8. [8] เก็บถาวร 2013-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ว้าว!!!!!มารู้จัก..บีทรูท..กันเถอะ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]