ข้ามไปเนื้อหา

นันทริกา ชันซื่อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.นันทริกา ชันซื่อ (ชื่อเล่น: หนิ่ง; นามสกุลเดิม: โพธิปักษ์) เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ[1]จากการแต่งตั้งโดยคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 90/2557 ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เป็นบุตรสาวของ รศ.นสพ.ดร.รท.ประสิทธิ์ โพธิปักษ์ อดีตคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ ท.พญ.มนูญ (กปิตถัย) โพธิปักษ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีระดับเกียรตินิยมจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อจบแล้วได้เข้าไปทำงานเป็นเลขานุการส่วนตัวของ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) จากการที่ได้ใกล้ชิดกับนักธุรกิจ จึงได้ทำให้ไปศึกษาปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งทางกลุ่มบริษัทซีพีมีแนวความคิดที่จะทำธุรกิจด้านสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก จึงได้ทำให้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกด้านสัตว์น้ำโดยเฉพาะที่ The College of William & Mary รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา

รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา เชี่ยวชาญเรื่องโรคสัตว์น้ำ และมีงานวิจัยต่าง ๆ มากมาย อาทิ ค่ามาตรฐานเลือดปลาไทย, การแยกเพศในปลามังกร (Scleropages formosus), ค่ามาตรฐานเลือดตะพาบม่านลาย (Chitra chitra) เป็นต้น[2] และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในแวดวงของกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์เลี้ยงหรือปลาสวยงาม เป็นคอลัมนิสต์ที่มีผลงานประจำตอบปัญหาหรือเขียนบทความลงในนิตยสารสัตว์เลี้ยงและปลาสวยงามหลายเล่ม ในชื่อของ "หมอหนิ่ง"

นอกจากนี้แล้ว ยังได้ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำหลายโครงการ เช่น การจัดตั้งชมรมอนุรักษ์เต่าร่วมกับทางกลุ่มบริษัทซีพี รณรงค์และให้ความรู้เรื่องการปล่อยเต่าคืนสู่ธรรมชาติอย่างถูกต้องตามหลักสายพันธุ์[3], การเก็บตัวอย่างพิษของปลากระเบนราหูเจ้าพระยา (Himantura chaophraya) เพื่อการศึกษา เป็นต้น[4]

ชีวิตส่วนตัว นอกจากงานด้านศึกษาวิจัยและสัตวแพทย์สัตว์น้ำแล้ว ยังมีกิจกรรมที่ชื่นชอบคือกีฬายิงปืน โดยเฉพาะการยิงปืนรณยุทธ[5] เป็นตัวแทนทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันยิงปืนในระดับนานาชาติมาแล้วในหลายประเทศ ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นพ.เอกวรรณ ชันซื่อ บุตรชายคนโตของ นายวรรณ ชันซื่อ อดีตประธานรัฐสภา มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 4 คน เป็นหญิง 3 ชาย 1

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/204/5.PDF
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-22. สืบค้นเมื่อ 2011-01-08.
  3. ติดตามความคืบหน้าชมรมรักษ์เต่ากับคุณขจร เจียรวนนท์ และ รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ[ลิงก์เสีย]
  4. จับปลากระเบนราหูได้หน้าวัดใหญ่ ต.แม่กลองหนัก 230 กก.
  5. คุณหมอปืนดุ[ลิงก์เสีย]
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๖๐, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]