นาริตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นะริตะ)
นาริตะ

成田市
บน: วัดชินโชนาริตะซัง, กลางซ้าย: สายนาริตะสกายแอคเซส, กลางขวา: วัดโทโช, ล่างซ้าย: ท่าอากาศยานนาริตะ, ล่างขวา: เขตเมืองใหม่คาราเบะ
บน: วัดชินโชนาริตะซัง,
กลางซ้าย: สายนาริตะสกายแอคเซส,
กลางขวา: วัดโทโช,
ล่างซ้าย: ท่าอากาศยานนาริตะ,
ล่างขวา: เขตเมืองใหม่คาราเบะ
ธงของนาริตะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของนาริตะ
ตรา
แผนที่
ที่ตั้งของนาริตะในจังหวัดชิบะ
ที่ตั้งของนาริตะในจังหวัดชิบะ
นาริตะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
นาริตะ
นาริตะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 35°46′36″N 140°19′6″E / 35.77667°N 140.31833°E / 35.77667; 140.31833พิกัดภูมิศาสตร์: 35°46′36″N 140°19′6″E / 35.77667°N 140.31833°E / 35.77667; 140.31833
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัดชิบะ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีคาซูนาริ โคอิซูมิ (小泉一成)
พื้นที่
 • ทั้งหมด213.84 ตร.กม. (82.56 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (30 พฤศจิกายน 2020)
 • ทั้งหมด131,852 คน
 • ความหนาแน่น620 คน/ตร.กม. (1,600 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+09:00 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
สัญลักษณ์ 
- ต้นไม้บ๊วย (Rosaceae)
- ดอกไม้ไฮเดรนเจีย
โทรศัพท์0476-22-1111
ที่อยู่760 Hanasaki-cho, Narita-shi, Chiba-ken 286-8585
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

นครนาริตะ (ญี่ปุ่น: 成田市โรมาจิNarita-shi) เป็นนครในจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่ให้บริการสำหรับพื้นที่ของกรุงโตเกียวและเมืองโดยรอบ

ประวัติศาสตร์[แก้]

มีสมมติฐานมากมายเกี่ยวกับที่มาของชื่อเมืองนาริตะ บางคนกล่าวว่ามีที่มาจากตัวอักษรคำว่า "กลายเป็น" (นาริ) และ "นาข้าว" (ทะ) บางคนกล่าวว่าชื่อเมืองมีที่มาจากเสียงดังสนั่น (นาริ) ของฟ้าผ่าในบริเวณนี้ บางคนกล่าวว่า นาริ มีที่มาจากคำที่เลิกใช้ไปแล้วที่มีความหมายว่า "อุดมสมบูรณ์" หรือบางคนอาจกล่าวว่า นาริ มีที่มาจากคำว่า "วิถีการดำรงชีวิต" (นาริวาอิ)

เป็นที่ทราบว่า พื้นที่ของเมืองนาริตะมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบว่าเริ่มมีการเพาะปลูกข้าวมาตั้งแต่เมื่อ 100 ปีก่อนคริสตกาล เนื่องจากเมืองนี้ตั้งอยู่ห่างจากมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นระยะทางเกือบเท่ากับที่ห่างจากอ่าวโตเกียว และมีแม่น้ำสั้นๆอยู่บริเวณใกล้เคียงอีกจำนวนหนึ่ง ทำให้เมืองนี้เคยเป็นศูนย์กลางทางการปกครองและการค้าขายของภูมิภาค

ในช่วงยุคสมัยนาระ เริ่มมีการสร้างเมืองขึ้นในบริเวณนี้ และในปี พ.ศ. 1483 ได้มีการสร้างวัดนาริตาซังขึ้นมา จนในปี พ.ศ. 2432 เริ่มมีการรวมชุมชนต่างๆในบริเวณนี้เข้าด้วยกัน และก่อตั้งเป็นเมืองนาริตะขึ้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2497 เมืองนี้เริ่มมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อนายกรัฐมนตรีเอซากุ ซาโต เริ่มวางแผนการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะในปี พ.ศ. 2509 การสร้างท่าอากาศยานและการเชื่อมต่อเส้นทางเข้าสู่ใจกลางกรุงโตเกียว ทำให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านอาคารบ้านเรือน ธุรกิจ และอุตสาหกรรมภายในเมืองนาริตะอย่างรวดเร็ว

นาริตะเคยเป็นส่วนหนึ่งของอำเภออิมบะ จนเมื่อประกาศก่อตั้งเป็นนครจึงได้แยกตัวออกมา เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2549 นาริตะได้ผนวกเอาเมืองไทเอและเมืองชิโมฟูซะจากอำเภอคาโตริเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนครนาริตะ และปัจจุบันนี้นครนาริตะก็กำลังขยายตัวเข้าไปถึงพื้นที่ของอำเภอคาโตริ

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของเมืองนาริตะ (ค.ศ. 1981-2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 38.7
(101.7)
38.7
(101.7)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 9.2
(48.6)
9.7
(49.5)
12.7
(54.9)
18.0
(64.4)
21.8
(71.2)
24.2
(75.6)
28.1
(82.6)
30.0
(86)
26.2
(79.2)
21.1
(70)
16.4
(61.5)
11.8
(53.2)
19.1
(66.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -2.4
(27.7)
-1.5
(29.3)
2.0
(35.6)
7.2
(45)
12.1
(53.8)
16.3
(61.3)
20.3
(68.5)
21.8
(71.2)
18.7
(65.7)
12.3
(54.1)
5.7
(42.3)
0.0
(32)
9.4
(48.9)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -10.7
(12.7)
−10.7
(12.7)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 61.8
(2.433)
62.9
(2.476)
115.6
(4.551)
116.6
(4.591)
119.6
(4.709)
144.9
(5.705)
123.2
(4.85)
117.2
(4.614)
214.8
(8.457)
202.1
(7.957)
99.8
(3.929)
50.7
(1.996)
1,429.1
(56.264)
แหล่งที่มา: ศูนย์บริการสภาพอากาศการบินนาริตะ[1]

พื้นที่ของเมือง[แก้]

ใจกลางนาริตะ[แก้]

ถนนเข้าสู่วัดนาริตาซัง

พื้นที่ส่วนกลางของนาริตะเป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างสถานีรถไฟนาริตะ สถานีรถไฟเคเซนาริตะ และวัดนาริตาซัง ถนนสายหลักของพื้นที่นี้คือถนนโอโมเตซันโดซึ่งมีร้านค้าเล็ก ๆ ราว 150 ร้านอยู่สองฝั่งถนน และเพิ่งมีการปรับปรุงถนนทั้งสายเมื่อไม่นานมานี้ ถนนสายนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในถนนที่แสดงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นในดีที่สุดในญี่ปุ่น

เมืองใหม่นาริตะ[แก้]

ย่านเมืองใหม่เป็นย่านที่อยู่อาศัยที่สร้างขึ้นใหม่ทางตะวันตกของสถานีรถไฟนาริตะ ในย่านนี้มีบ้านพักอาศัยราว 16,000 หลัง และมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 60,000 คน การก่อสร้างย่านนี้เริ่มมีการวางแผนเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยอิงจากเมืองใหม่ที่อยู่รอบกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ปัจจุบันนี้เป็นย่านที่คนส่วนใหญ่ของเมืองอาศัยอยู่ แรกเริ่มนั้นผู้อาศัยส่วนใหญ่ในย่านเมืองใหม่จะต้องเดินทางเข้าไปในกรุงโตเกียวหรือตัวเมืองชิบะเพื่อทำงาน แต่ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเริ่มหันไปทำงานในเมืองต่างๆทางตะวันตกเฉียงเหนือของชิบะ ซึ่งอยู่ใกล้กับย่านเมืองใหม่มากกว่า และมีนักธุรกิจ ผู้ประกอบการ และพนักงานบริษัท ที่อยู่ในส่วนกลางของนาริตะเริ่มย้ายมาอาศัยอยู่ในย่านเมืองใหม่มากขึ้น

โคซูโนโมริ[แก้]

เทศกาลนาริตากิอง

โคซูโนโมริ (Kozunomori) เป็นพื้นที่ชานเมืองนาริตะ ตั้งอยู่ทางใต้ของย่านเมืองใหม่ ใช้เวลาเดินทางด้วยรถไฟจากสถานีรถไฟเคเซนาริตะ ประมาณ 4 นาที มีจำนวนประชากรประมาณ 12,000 คน สถานีรถไฟโคซูโนโมริอยู่ติดกับห้างสรรพสินค้าอิโตโยกาโดะซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่เป็นที่นิยมในบรรดานักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่พักอาศัยอยู่ในเมืองนาริตะและพื้นที่โดยรอบ

ท่าอากาศยานและพื้นที่เกษตรกรรม[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะตั้งอยู่ในส่วนตะวันออกของเมืองนาริตะ บนพื้นที่เกษตรกรรมเก่าแก่ที่มีชื่อว่าซันริซูกะ (Sanrizuka) การก่อสร้างและขยายท่าอากาศยานก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายต่อผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ซันริซูกะเป็นอย่างมาก และเนื่องจากมีการเวนคืนที่ดิน และรายได้จากการเกษตรกรรมลดลงอันเป็นผลมาจากการก่อสร้างท่าอากาศยาน ทำให้จำนวนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมลดลงเหลือเพียงหนึ่งในสามจากจำนวนก่อนมีการสร้างท่าอากาศยาน ปัจจุบันพื้นที่เกษตรกรรมที่ถูกทิ้งร้างบางพื้นที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นสนามกอล์ฟ ส่วนพื้นที่อื่นได้กลายเป็นที่ทิ้งขยะอย่างไม่เป็นทางการ

เมืองพี่น้อง[แก้]

นาริตะได้มีข้อตกลงเป็นเมืองพี่น้องกับเมืองดังต่อไปนี้:

  • จีน เสียนหยาง ประเทศจีน ตั้งแต่ 1988
  • เกาหลีใต้ อินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ ตั้งแต่ 1998
  • เกาหลีใต้ ช็องอึบ ประเทศเกาหลีใต้ ตั้งแต่ 2002
  • สหรัฐ ซานบรูโน รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา[2] ตั้งแต่ 1990
  • เดนมาร์ก เนสต์เวด ประเทศเดนมาร์ก ตั้งแต่ 2003
  • นิวซีแลนด์ ฟ็อกซ์ตัน ประเทศนิวซีแลนด์ ตั้งแต่ 1995

อ้างอิง[แก้]

  1. "成田空港 1981-2010年". 成田航空地方気象台. สืบค้นเมื่อ 2012-02-06.
  2. "Consolidation of Local Governments in Japan and Effects on Sister City Relationships" (Archive เก็บถาวร 2017-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน), Consulate General of Japan, San Francisco