อูรายาซุ
อูรายาซุ 浦安市 | |
---|---|
![]() ศาลาว่าการเมืองอูรายาซุ | |
![]() ตำแหน่งของอูรายาซุในจังหวัดชิบะ | |
พิกัด: 35°39′N 139°54′E / 35.650°N 139.900°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คันโต |
จังหวัด | ชิบะ |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ฮิเดอากิ มัตสึซากิ (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2541) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 17.29 ตร.กม. (6.68 ตร.ไมล์) |
ประชากร (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564) | |
• ทั้งหมด | 170,091 คน |
• ความหนาแน่น | 9,800 คน/ตร.กม. (25,000 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
-Tree | แปะก๊วย |
- Flower | กุหลาบพันปี |
Phone number | 047-351-1111 |
Address | 1-1-1 เนโกซาเนะ เมืองอูรายาซุ จังหวัดชิบะ 279-8501 |
เว็บไซต์ | อูรายาซุ |
อูรายาซุ (ญี่ปุ่น: 浦安市; โรมาจิ: Urayasu-shi) เป็นนครในจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงโตเกียว มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 17.29 ตารางกิโลเมตร[1] ในปี พ.ศ. 2564 มีจำนวนประชากร 170,091 คน อูรายาซุเป็นเมืองที่ตั้งของโตเกียวดิสนีย์รีสอร์ตและสำนักงานใหญ่ของบริษัทโอเรียนทัลแลนด์คอมปานี[2]
ในอดีตพื้นที่บริเวณอูรายาซุในเป็นเขตเท็นเรียว ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะในสมัยเอโดะ และเคยเป็นหมู่บ้านชาวประมงที่มีความสำคัญในการจัดหาอาหารทะเลให้กับเมืองหลวงเอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน)
ก่อนที่เมืองจะเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม อูรายาซุเป็นศูนย์กลางสำคัญในการผลิตสาหร่ายโนริ หอยฮามางูริ และหอยอาซาริ ซึ่งทั้งสามชนิดนี้ล้วนเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม
ภูมิศาสตร์
[แก้]อูรายาซุตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดชิบะ ห่างจากตัวนครชิบะประมาณ 20 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากใจกลางกรุงโตเกียวประมาณ 10 ถึง 20 กิโลเมตร เมืองนี้ประกอบด้วยพื้นที่ริมน้ำที่เป็นคันดินธรรมชาติ พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ และพื้นที่ที่ถมทะเลขึ้นมาใหม่ ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของปากแม่น้ำเอโดะ แม่น้ำสายนี้ไหลผ่านด้านตะวันตกของเมือง และเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างอูรายาซุกับเขตเอโดงาวะของกรุงโตเกียว
อูรายาสุแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ หมู่บ้านชาวประมงดั้งเดิม ซึ่งตั้งอยู่บนคันดินธรรมชาติริมฝั่งแม่น้ำซาไก ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำเอโดะ และพื้นที่ถมทะเลที่พัฒนาใหม่ ซึ่งครอบคลุมประมาณสามในสี่ของพื้นที่เมือง ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1960
พื้นที่ถมทะเลใหม่นี้เรียกว่า “ชิน-อูรายาซุ” หรือ “อูรายาซุใหม่” ซึ่งมีการวางผังเมืองโดยได้รับแรงบันดาลใจจากแบบอเมริกัน มีลักษณะเป็นถนนกว้างแบบตาราง ทางเดินเท้าขนาดใหญ่ ปาล์ม และสวนสาธารณะ อาคารส่วนใหญ่เป็นอพาร์ตเมนต์สูงและทันสมัย บางแห่งสามารถมองเห็นวิวอ่าวโตเกียวได้ ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเขตเมืองหลวงสำหรับครอบครัวรุ่นใหม่ที่ต้องการอยู่อาศัย
ชุมชนใกล้เคียง
[แก้]ประชากรศาสตร์
[แก้]ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[3] ประชากรของเมืองอูรายาซุเพิ่มขึ้นมากกว่าสิบแปดเท่าในช่วงร้อยปีที่ผ่านมา และเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษในช่วงระหว่างปี 1970 ถึง 2010
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1920 | 9,146 | — |
1930 | 10,537 | +15.2% |
1940 | 12,116 | +15.0% |
1950 | 15,679 | +29.4% |
1960 | 16,847 | +7.4% |
1970 | 21,880 | +29.9% |
1980 | 64,673 | +195.6% |
1990 | 115,675 | +78.9% |
2000 | 132,894 | +14.9% |
2010 | 164,877 | +24.1% |
2020 | 171,362 | +3.9% |
การศึกษา
[แก้]มหาวิทยาลัย
[แก้]โรงเรียนมัธยม
[แก้]โรงเรียนรัฐบาล
โรงเรียนเอกชน:
การคมนาคม
[แก้]รถไฟ
[แก้] โตเกียวเมโทร - โตเกียวเมโทรสายโทไซ
สายไมฮามะรีสอร์ท - สายดิสนีย์รีสอร์ท
ทางหลวง
[แก้]ถนนเลียบชายหาด
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 357
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Urayasu city official statistics" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan.
- ↑ "ข้อมูลทั่วไป เก็บถาวร 2016-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." OLC Group. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552
- ↑ Urayasu population statistics
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ เก็บถาวร 2013-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สมาคมการท่องเที่ยวอูรายาซุ
- พิพิธภัณฑ์อูรายาซุ เก็บถาวร 2006-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน